การศึกษาสังเคราะห์ความรู้และสถานภาพการวิจัยทางดนตรีชาติพันธุ์วิทยาในเขตจังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทย (A synthesis of ethnomusicological knowledge and the exploratory research on ethnomusicology in western provinces of Thailand)

Main Article Content

ฟรานซีส นันตะสุคนธ์ (Francis Nuntasukon)

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอผลการศึกษา 5 ด้าน ดังนี้ 1) สถานภาพงานวิจัยบริเวณที่มีการระบุลักษณะทางดนตรีชาติพันธุ์วิทยาในเขตจังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทย 8 จังหวัดได้แก่ กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีงานศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 จนถึง 2562 รวมทั้งสิ้น 36 เรื่อง 2) ปรากฏแนวคิดพื้นฐานจากงานวิจัยที่สำคัญทั้งสิ้น 5 ด้าน ได้แก่ ค่าความจำเพาะจากตัวแปรหุ่นของพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวนเพลงที่บันทึกคำร้อง จำนวนเพลงที่บันทึกโน้ตดนตรี จำนวนเอกสารอ้างอิงทั้งหมด และ จำนวนภาพประกอบ ทั้งหมดแสดงสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางบวกต่อปริมาณเนื้อหางานวิจัย 3) มีการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูล แผนที่และการระบุลักษณะทางมานุษยดนตรีวิทยา จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น 281 ตำบล พบกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสิ้น 99 กลุ่ม ได้แก่ ไทยโซ่ง 31 กลุ่ม กะเหรี่ยง 25 กลุ่ม มอญ 17 กลุ่ม ลาวเวียง 10 กลุ่ม ลาวครั่ง 7 กลุ่มไทยยวน 7 กลุ่ม ไทยพวน 1 กลุ่ม และละว้า 1 กลุ่ม ในแต่ละจังหวัด 4) การรวบรวมองค์ความรู้ร่วมในศิลปะการแสดงของชาติพันธุ์ต่าง ๆ พบว่าชุมชนมีการใช้ดนตรีสะท้อนอัตลักษณ์ชุมชนตนเองผ่านเนื้อหาเกี่ยวกับการพลัดถิ่น (Diaspora) เป็นมโนทัศน์หลัก และ 5) สำหรับประเด็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอนาคต เพื่อกระตุ้นความสนใจ เผยแพร่ ถ่ายทอดและฟื้นฟูดนตรีชาติพันธุ์ยังมีประเด็นที่ควรดำเนินการต่อใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) การสำรวจเชิงลึกในพื้นที่ที่ยังไม่เคยมีข้อมูลรายงานอีก 67 พื้นที่ (2) การวิจัยศึกษาสถานภาพความรู้ปัจจุบันของกลุ่มไทยพวน ลาวครั่ง ลาวใต้ และ (3) รายงานการศึกษาดนตรีชาติพันธุ์วิทยาในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม


The purposes of this research paper are to present five aspects of the research results. First, after Kanchanaburi, Phetchaburi, Ratchaburi, Nakhon Pathom, Samut Sakhon, Samut Songkhram, Suphanburi and Prachuap Khiri Khan were selected due to their ethnographic music, the exploratory research were conducted and found that, from 1998 to 2019, the number of studies on related issues is 36. Second, there are five aspects of variables in all explored research studies and they showed a significant positive correlation in the amount of research content. The five important variables for the basic characteristics in the research areas are (1) the dummy variable of Kanchanaburi Province, (2) the number of variable of recorded songs, (3) the number of variable of musicnotation, (4) the total number of variable of research citations, and (5) the number of illustrations. Third, based upon the characterization of anthropological music, the database and the location mapping were created from preliminary survey of 281 sub-districts in the 8 provinces. This database composed of 99 ethnic groups, 31 Tai-Song groups, 25 Karen groups, 17 Mon groups, 10 Lao-Wiang groups, 7 Lao-Khrang groups, 7 Tai-Yuan groups, 1 Tai-Phuan group, and 1 Lawa group. Fourth, to comprehend the knowledge of performing arts collected from various ethnic groups, the results showed that each community used music to reflect their ethnic identity. The lyrics of the music of these peoples concern their history about “diaspora”. Finally, the current research suggests that three areas of research which need to be further conducted are (1) an in-depth survey study of the remaining 67 provinces, (2) the status of current ethnomusicology concerning Tai-Phuan, Lao-Khrang, Southern-Lao ethnic people, and (3) the study of ethnic music in Samut Songkhram Province. These potential relevant research issues will help stimulate the public’s interest, disseminate, transmit and restore ethnic music.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Binson, Bussakorn, Rodchangphuen, Pakorn, Puchadapirom, Patarawdee, Pornprasit, Kumkom, & Paosavadi, Pornprapit. (1990). Thai Culture in Thai Music: The Western Region of Thailand (วัฒนธรรมไทยในดนตรีไทย : ภาคตะวันตก). Bangkok: Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Burusphat, Somsonge, Deepadung, Suharitlak, Suraratdecha, Sumittra, Patpong, Pattama, Ardsmiti, Narong, & Setapong, Pichet. (2011). Ethnolinguistic maps of the western region of Thailand (แผนที่กลุ่มชาติพันธุ์และภาษาในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย). The Journal of Language and Culture, 30(2): 83-114.

Boonyam, Treetip. (2017). Synthesis of Research Theses in Music in Thailand During 2005-2014. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 17(3): 211-232.

Chiengchana, Natee. (2007). Synthesis of research in music education: a meta-analysis and content analysis (การสังเคราะห์งานวิจัยทางดนตรีศึกษา : การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา). Master’s dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Chimpiboon, Puchong. (2015). Music Therapy for People with Cerebral Palsy: A Systematic Review. Research and Development of Persons with Disabilities, 12(15): 88-120.

Euaprasert, Kanya. (1987). Information Resources Related to Local Studies in Western Thailand (ทรัพยากรสารนิเทศที่เกี่ยวกับการศึกษาท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย). Master’s dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Gainey, J. W., & Thongkum, Theraphan, L. (1977). Language map of Thailand handbook (คู่มือแผนที่ภาษาในประเทศไทย). Bangkok: Central Institute of the Language, University Affairs.

Poonsuwan, Siriyupa. (2012). Meta-analysis: Conducting Research about Research (การวิเคราะห์อภิมาน : การวิเคราะห์ที่เหนือกว่าการวิเคราะห์ทั่วไป). Journal of Research and Curriculum Development, 2(2): 44-51.

Premsrirat, Suwilai. (2004). Ethnolinguistic maps of Thailand (แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย). Bangkok: Office of the National Cultural Commission Ministry of Culture.

Suwannaphachana, Phodchara. (2008). Knowledge Codification and Development of Ethnomusicology (การประมวลความรู้และพัฒนาการของการศึกษาวัฒนธรรมการดนตรี). Journal of Language and Culture, 27: 75-98.

Trakulhun, Wiboon. (2009). Music of Ugong, a Hill Tribe, in Suphanburi and Uthaithani Province, Thailand (ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์อุก๋อง : กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัด อุทัยธานี). Master’s dissertation, Mahidol University, Nakorn Pathom, Thailand.