การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึกด้วยศิลปะทวารวดี (The development of community souvenir products by using Dvaravati Art)
Main Article Content
Abstract
จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครปฐม เป็น 2 จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของกลุ่มศิลปะสมัยทวารวดี และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นที่นิยม จึงมีการจัดจำหน่ายของที่ระลึกตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ แต่จากการสำรวจ ผู้วิจัยพบว่า สินค้าของที่ระลึกยังขาดเอกลักษณ์ที่น่าสนใจและการสอดแทรกข้อมูลศิลปะประวัติศาสตร์สมัยทวารวดีลงไป ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึก ที่สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวหรือข้อมูลทางประวัติศาสตร์สมัยทวารวดี พร้อมทั้งเป็นสินค้าที่เกิดจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าให้กับชุมชน โดยดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนการสรุปข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ และเอกลักษณ์ศิลปะสมัยทวารวดี 2) ศึกษาข้อมูลธุรกิจชุมชนประเภทของที่ระลึก 3) คัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสม และ 4) พัฒนาสินค้าของที่ระลึกตามแนวคิดของการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ผลงานที่ได้คือ ชุดนาฬิกาทวารวดีจากกลุ่มทอผ้ากี่กระตุกบ้านยางลาว และผลงานชุดพวงกุญแจทวารวดีจากวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมพื้นบ้านจังหวัดนครปฐม ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่าของที่ระลึกทั้ง 2 กลุ่ม มีความน่าสนใจ และมีแนวโน้มในการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เพราะผลงานมีความร่วมสมัย รูปทรงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์สื่อถึงทวารวดีและสามารถนำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้ดี วัสดุมีความเหมาะสม และใช้งานง่าย สามารถสร้างมูลค่าให้กับชุมชนได้ จุดแข็งของสินค้าคือ มีความแตกต่าง แปลกใหม่ สร้างสรรค์และใช้วัตถุดิบที่มาจากชุมชนอย่างแท้จริง
Both Suphanburi and Nakhon Pathom are major cities in which the Dvaravati art is located, and are also popular tourist attractions with sales of various souvenirs. However, according to the survey, the researcher found that local souvenirs still lacked uniqueness and insertion of the historical information about the Dvaravati art. In this regard, the objective of this research was to design prototypes of products that could reflect the Dvaravati art and were also produced by the community enterprise groups in order to create values for the community. The implementation of the conceptual framework was divided into four steps as follows: 1) summarise historical information and identity of the Dvaravati art; 2) study information about community business in relation to souvenirs; 3) select the appropriate community enterprise groups; and 4) develop souvenirs according to the concept of the product designs. The chosen products were the Dvaravati clock sets from the Ban Yang Lao weaving community enterprise, and the Dvaravati keychain sets from the local handicraft community enterprise in Nakhon Pathom. The research results showed that both two groups of souvenirs were interesting and likely to generate income to the communities because their works were contemporary, stylistic, and unique, and could also exhibit the Dvaravati historical information. The materials used were appropriate, easy to use, and could create values for the communities. The product's strengths included its distinction, originality, creativity, and genuine local resources.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Carr, Pornwilai. (2015). Thai Souvenirs: Decode Souvenir Charms for Tourism (ฝากไทย: ถอดรหัสเสน่ห์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว). Bangkok: Ministry of Culture.
Dvaravati Group, Lower Central Region 1. (2015). Provincial Group Development 4-year Plan (Review) 2015 - 2018, Office of Strategic Administration of Lower Central Provinces 1 (แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 4 ปี (ทบทวน) พ.ศ. 2558 - 2561 สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1). [Online]. Retrieved October 11, 2020 from http://www.suphanburi.go.th/suphan/fileuploaddownload/dl77.pdf
Inkong, Panchat. (2017). Cultural Product Design: Concept, Model and Analysis (การออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม: แนวคิด รูปแบบ และการวิเคราะห์). Bangkok: Unlimit Printing Co., Ltd.
Jarungjitsunthorn, Watcharin. (2005). Theory & Concept of Design (หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์). Bangkok: Appa Printing Group Co., Ltd.
Keeley, L., Walters, H., Pikkel, R., & Quinn, B. (2015). Ten Types of Innovation: The Discipline of Building Breakthroughs (สิบรูปแบบการสร้างนวัตกรรมหลักการสร้างพัฒนาการที่ยิ่งใหญ่). Translated by Phusumas, Jutipong, & Saeung, Suvisa. Nonthaburi: IDC Premier.
Manuratsada, Panadda, Phoncharoen, Rattai, & Boonthamchuay, Pakpoom. (2012). Design of Souvenir Merchandize for Museum Siam (การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อจำหน่ายในร้านค้าพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (มิวเซียมสยาม). Art and Architecture Journal Naresuan University, 3(2): 55-68.
Nachaisin, Duangjan. (2015). Introduction for Packaging Design (ความรู้พื้นฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์). Khon Kaen: Khon Kaen University.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). National Economic and Social Development Plan Vol. 12 (2017-2021) (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)). [Online]. Retrieved October 17, 2020 from https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue
Somdee, Anchalee. (2009). Souvenir Design (การออกแบบของที่ระลึก). Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University.
Srisuthep, Thawatchai. (2006). Creative Color Schemes (ชุดสีโดนใจ). Nonthaburi: Mar My Web.
Xin, S. Y. (2016). The Design of Souvenir Product that Reflects Unique Identity based on the Concept of Laoshan Taoist Art (การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสะท้อนเอกลักษณ์พื้นถิ่น ชุด ศิลปะเต๋าแห่งเขาเหลาซาน). Burapha Arts Journal, 19(1): 133-148.
Wongruchirawanich, Suwit. (2011). Sustainable Design (ดีไซน์ เปลี่ยนโลก). Bangkok: Bangkok Business.