ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัย ตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Needs assesment of early childhood school academic management based on the concept of executive functions)

Main Article Content

ระวีวรรณ ทิพยานนท์ (Raweewan Thiphayanon)
รับขวัญ ภูษาแก้ว (Rabkwan Poosakaew)
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (Pruet Siribunpitak)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีการจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปี ในปีการศึกษา 2563  จำนวน 395 โรงเรียน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละหน่วยตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนชั้นปฐมวัย รวมทั้งสิ้น 1,185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยได้รับแบบสอบถามคืนมาคิดเป็นร้อยละ 70.13 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการวิจัยพบว่า โดยภาพรวม ลำดับความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินพัฒนาการ การนิเทศการศึกษา และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามลำดับ ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ เมื่อพิจารณา ตามองค์ประกอบด้านทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จรายด้าน พบว่า ทักษะสมองด้านการยั้งคิดไตร่ตรอง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการเป็นลำดับแรกตรงกัน 2 ด้าน คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการวัดและประเมินพัฒนาการ จากข้อค้นพบนี้สถานศึกษาจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและการพัฒนาทักษะสมองด้านการยั้งคิดไตร่ตรองในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย


This research aimed to study the needs assessment of early childhood school academic administration based on the concept of executive functions The sample group in this research was 395 schools under the supervision of the Office of the Basic Education Commission that provided education to preschool children aged 3-6 years in the academic year 2020 by multistage random sampling. The informants in each sample unit were the school directors, deputy school directors or heads of academic affairs and kindergarten teachers in a total of 1,185. The research tools were questionnaires on current and desirable conditions of early childhood school academic administration based on the concept of executive functions through Likert rating scales analysis. 70.13% of the questionnaires were returned and the data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, and standard deviations. The findings indicated that the highest priority needs of early childhood school academic management based on the concept of executive functions were teaching materials development, curriculum development, evaluating and assessing development, educational supervision and organizing learning experiences respectively. The results of the assessment of each executive function in terms of brain skill components for a success showed that inhibitory control was among the first priority a first order identical value for 2 of academic management, which are organizing learning experiences and development measurement and assessment. From the findings, schools should focus on teaching materials development and developing inhibitory control for early childhood organizing learning experiences.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Amatmontri, Seksan. (2018). Innovation Development Media and Technology for Early Childhood Development (การพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย). Bangkok: Office of Educational Technology Sukhothai Thammathirat Open University.

Chaiaree, Supansa, Chairuang, Nopparat, & Prommas, Burinpat. (2018). Early Childhood Academic Administration in Schools under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 4 (การบริหารวิชาการระดับปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4). Narkbhutparitat Journal, 10(2): 93-102.

Chutapakdikul, Nualchan, Tanasetakorn, Panadda, & Lertarwasadatrakul, Orapin. (2017). Development and Benchmarking of Brain Skills Assessment Tools for Successful Life in Early Childhood (การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จในเด็กปฐมวัย). Bangkok: Neuroscience Research Center Institute of Molecular Biosciences Mahidol University and the National Institute for Child and Family Development.

Diamond, A. (2013). Executive Functions. Annual Review of Psychology, 64: 135-168.

Intachai, Rattana, & Yafoo, Saitid. (2016). Guidelines for Academic Administration in Early Childhood Education of Smaller Schools Under the Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 3 (แนวทางการบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3). Paper presented at 1st Academic Conferences and Seminars Nakhon Sawan Rajabhat Research. Nakhon Sawan: August 11.

Isquith, P. K., Gioia, G. A., & PAR Staff. (2008). Behavior Rating Inventory of Executive Function® (BRIEF®): Interpretive Report. Florida: PAR Psychological Assessment Resources, Inc.

Khamanee, Tissana. (2013). Pedagogical Science (ศาสตร์การสอน). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Maccasamun, Wattana. (2018). Using Innovation Material and Technology for Develop Early Childhood in Cognitive (การใช้นวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านสติปัญญา). Bangkok: Faculty of Education, Sukhothai Thammathirat Open University.

Nawakijpaitoon, Nilrat. (2017). A Development learner competencies by research : “Classroom action research” (การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัย : “การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน”). Narkbhutparitat Journal, 9(1): 151-163.

Pornprasert, Bunpot. (2007). Experiences Organizing Model for Early Childhood in Early Childhood School Under the Yala Provincial Educational Service Area Office (รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดยะลา). Docteral Dissertation, Yala Rajabhat University, Yala, Thailand.

Sakulnui, Walainuch. (2012). Factors Affecting the Use of Teaching Media According to the Opinions of the Center Teachers Nonthaburi School Education (ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการสอนตามความคิดเห็นของครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี). Nonthaburi: Rajapruk University.

Ibuka, M. (2011). Kindergarten is Too Late! (รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว). Translated by Niyomka, Phornanong. Bangkok: Preawpuendek.

Tanasetakorn, Panadda. (2018). EF is Love, but it is not love that has to be exchanged for studying, studying and studying (EF คือความรัก แต่ไม่ใช่รักที่ต้องแลกจากการเรียน เรียน และเรียน). [Online]. Retrieved May 1, 2018 from https://thepotential.org/knowledge/panatda-ef/

Wongwanich, Suwimol. (2015). Need-Based Assessment Research is Needed (การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.