การพัฒนาแบบฝึกการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย (The development of creative Thai prose writing exercises for second-year students at Sukhothai College of Dramatic Arts)

Main Article Content

กิตติคุณ รัตนเดชกำจาย (Kittikun Rattanadethkamchai)

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาและคณาจารย์ในการสร้างแบบฝึกการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ 3) เปรียบเทียบทักษะการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ โดยมีประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 51 คน และคณาจารย์ จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ห้อง 2 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาและคณาจารย์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึก แบบวัดทักษะการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบฝึกการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว การหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การวิเคราะห์เนื้อหาและค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความคิดเห็นว่า การพิมพ์ชัดเจน อ่านง่าย และการนำเนื้อหา ภาพ หรือข้อความจากอินเทอร์เน็ตมาสร้างแบบฝึกการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์จะช่วยเพิ่มความสนใจได้มากที่สุด 2) คณาจารย์มีความคิดเห็นว่า แบบฝึกจะต้องมีลักษณะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านการเขียน และสื่อการเรียนรู้ต้องสามารถส่งเสริมการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ในหลาย ๆ ด้าน 3) แบบฝึกมีค่าประสิทธิภาพ 81.69/80.84 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 4) ค่าเฉลี่ยของทักษะการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์หลังเรียน (X̅ = 147.12, S.D. = 11.59) สูงกว่าก่อนเรียน (X̅ = 104.35, S.D. = 5.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 5) นักศึกษามีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียน ดังนั้น จึงสามารถนำแบบฝึกดังกล่าวไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านความคิดสร้างสรรค์และการสื่อสารด้านการเขียนของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้นได้


The purposes of this research are to 1) study the opinions of students and teachers in constructing creative Thai prose writing exercises; 2) create and search for the efficiency of prose writing exercises; 3) compare the creative Thai prose writing skills before and after implemented the Creative Thai Prose Writing drills exercises; 4) study the opinions of students with learning by the Creative Thai Prose Writing drills exercises. The population of the research were used 51 second year students Sukhothai College of Dramatic Arts of academic year 2021 and 12 faculty of teachers. The research samples were used 26 second year students in the second class selected by cluster random sampling. The employed instruments were, the questionnaires on students and faculty of teachers’s opinions to be used as a guideline for constructing drills exercises, pretest and posttest of creative Thai prose writing skills, Creative Thai Prose Writing drills exercises, lesson plan, and a questionnaire on students’s opinions with learning by the drills exercises. Analyze the data using mean (X̅), standard deviation (S.D.), t-test for dependent samples, the E1/E2 efficiency index, content analysis, and frequency. The results of the research were as follows : 1) The opinions of students were clear typing, easy to read, and utilizing content, images, or text from the Internet to construct creative prose exercises help increase maximize interesting 2) The opinions of faculty of teachers were the exercises must be designed to promote creative thinking, writing and learning materials must be able to promote creative Thai prose writing in many ways. 3) The efficiency of drills exercises were according to the set criterion score 80/80, the efficiency percentage was 81.69/80.84 4) Creative Thai prose writing skills means of students after learning (X̅ = 147.12, S.D. = 11.59) was higher than before (X̅ = 104.35, S.D. = 5.87) statistically significant at the 0.01 level. 5) The opinions of students were positive. Therefore, as above exercises could be used to develop students’ creative competency and writing communication.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Chutavichit, Kesinee. (2009). Creative Writing for Print Media : Good Ideas Never Run Out (การเขียนสร้างสรรค์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ : Idea ดี ๆ ไม่มีวันหมด). Nakhon Pathom: Phetkasem Printing Group Co., Ltd.

Kruchiangrai. (2019). Meaning of Drill Exercises (ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ).[Online]. Retrieved July 21, 2021 from https://www.kruchiangrai.net/2019/11/17/แบบฝึกเสริมทักษะ/

Mersamarn, Jeeradach. (2008). The Development of Thai Critical Thinkig Skill Packages through Printing Matirials for Mathayomsuksa iii Students, Thongpleng School, Klongsan Bangkok (การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์จากสื่อสิ่งพิมพ์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทองเพลง สํานักงานเขตคลองสานกรุงเทพมหานคร). Master’s dissertation, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.

Niamsuk, Wanphen (1995). A Study of Achievement and Attitudes Toward Writing of Students in Prathomsuksa 4 by Using Creative Writing Exercises and Teacher Prescribed Writing Exercises (การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์และแบบฝึกการเขียนที่ครูเป็นผู้กำหนดเนื้อเรื่อง). Master’s dissertation, Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi, Thailand.

Polayoot, Kanika. (1998). A Study of Creative Writing Skills through the Usage of Creative Writing Drills for Prathomsuksa five Students of Watladpakaw School in Bangkok Metropolis (การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดลาดปลาเค้ากรุงเทพมหานคร). Master’s dissertation, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.

Poolsuk, Aornkanya, Sisan, Boonchan, & Kiddee, Krissana. (2015). The development of creative writing skill using workbooks for grade 11 students. (การพัฒนาความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5). Journal of Industrial Education, 14(3): 70-76.

Rattanadethkamchai, Arunwan. (2004). The Development of Creative Thai Prose Writing Drills Exercises for Tenth Grade Students (การพัฒนาแบบฝึกการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4). Master’s dissertation, Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.

Sripunya, Naree. (2013). The Development of Reading and Writing Skills in Thai Learning Area for Prathomsuksa 3 Students by Cooperative Learning STAD Technique (การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD). Master’s dissertation, Buriram Rajabhat University, Buriram, Thailand.

Sukhothai College of Dramatic Arts. (2019). Bachelor of Education Program in Drama Education (4 years) (Course Revised 2019) (หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)). Bangkok: Bunditpatanasilpa Institute.

Tassawin, Chalobol. (1999). The Effectiveness of Using Thai Creative Writing Workbooks for Prathomsuksa Four Student (ผลการใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ทางภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4). Master’s dissertation, Burapha University, Chonburi, Thailand.

Thunapan, Pannapong. (2017). Development of Reading and Creative Writing Drills of Thai Literature and ASEAN Literary Works Using STAD Cooperative Learning Process for Promotion of Critical Reading Skill for Grade 12 Students (การพัฒนาแบบฝึกการอ่านและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยวรรณคดีไทยและวรรณกรรมอาเซียน โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6). In S. Teemueangsai, The 2nd RMU Graduate Research Conference, (pp. 772-787). Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University.

Totong, Luxkana. (2018). The Development of Reading Main Idea Skill in Learning Area of Thai Language for Junior Secondary Education Grade 1 by Using Exercises with Mind Mapping Technique (การพัฒนา ความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคแผนผังความคิดประกอบแบบฝึกทักษะ). Master’s dissertation, Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham, Thailand.

Wajanasatian, Chongkon. (2016). The Development of Creative Writing Ability for Grade 3 Student Taught by Using Synectics Model (การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์). Master’s dissertation, Silpakorn University, Nakhon Pathom, Thailand.

Wisessing, Janpen, & Nillapun, Maream. (2016). The development of creative writing skill exercise by using local information for the fourth grade students (การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4). Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 9(3): 392-407.