การออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนการสอนจากความรู้นิทานพื้นบ้านสำหรับเยาวชน : กรณีศึกษา เรื่องเล่า “คัทธนกุมารชาดก” (Design of teaching and learning activities based on folktale knowledge for youth: A case study of the “Khat Tha Na Khu Marn Allegory”)

Main Article Content

โสมฉาย บุญญานันต์ (Soamshine Boonyananta)
สุชาติ อิ่มสำราญ (Suchart Imsamraan)

Abstract

การเรียนการสอนและการเล่าเรื่องนิทานพื้นบ้านในรูปแบบดั้งเดิมได้ลดความนิยมลงและไม่เป็นที่น่าสนใจ ทั้งที่นิทานพื้นบ้านนั้นมีคุณค่าและประโยชน์ต่อเยาวชน การศึกษาวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนการสอนจากความรู้นิทานพื้นบ้านสำหรับเยาวชน 2) เพื่อศึกษาวิธีการวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านสำหรับนำมาออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนการสอน และ 3) เพื่อพัฒนาต้นแบบชุดกิจกรรมการเรียนการสอนจากความรู้นิทานพื้นบ้าน “คัทธนกุมารชาดก” สำหรับเยาวชน ขั้นตอนในการวิจัย ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาค้นคว้านิทานพื้นบ้าน และระยะที่ 2 พัฒนาต้นแบบชุดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนและแบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหานิทานพื้นบ้าน ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนการสอนจากความรู้นิทานพื้นบ้าน มีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่ Content Research, Analysis, Theme, Design Activity, Prototype, Test and Feedback, Develop and Revise และ Classroom ซึ่งจะสกัดเอาคุณค่า อนุภาคนิทาน และกฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านที่ปรากฏในเนื้อเรื่องมาออกแบบชุดกิจกรรมต้นแบบ ทดลองใช้ พัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะสมกับผู้ร่วมกิจกรรมก่อนการนำไปใช้จริง 2) นิทานพื้นบ้าน เรื่อง “คัทธนกุมารชาดก” ที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน เป็นนิทานศาสนาเล่าสืบต่อกันมา มีกฎเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านของ เอกเซล โอลริค เช่น กฎของการเริ่มเรื่องและการจบเรื่อง กฎของโครงเรื่องเชิงเดี่ยว กฎแห่งการซ้ำ กฎของฝาแฝด เป็นต้น มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์การให้ความรู้ และด้านวัฒนธรรมการขัดเกลาสังคม 3) ชุดกิจกรรมต้นแบบ “เล่าขานตำนาน คัทธนกุมารชาดก” ประกอบด้วย แนวคิดจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และกระบวนการจัดกิจกรรมผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทั้งขั้นเรียนรู้ และขั้นปฏิบัติกิจกรรม ผลที่ได้จากการศึกษาจะสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตระหนักถึงคุณค่าและเห็นความสำคัญของนิทานพื้นบ้าน อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์นิทานพื้นบ้าน เรื่อง “คัทธนกุมารชาดก” ต่อไป


Despite their values and benefits to young people, traditional teaching and telling of folktales have declined in popularity. This research aims to 1) investigate the model of instructional activities based on folk tales for youth, 2) study methods of analyzing folktales in order to design teaching and learning activities, and 3) develop a prototype of teaching and learning activities based on “Khat Tha Na Khu Marn Allegory” for youth. The research was divided into two phases: a study of folktales and the development of an activity prototype. The research tools were an interview form for experts in designing teaching and learning activities and a folktale content analysis form. The findings were as follows: 1) there were 8 guidelines for designing instructional activities based on folktales which are Content Research, Analysis, Theme, Design Activity, Prototype, Test and Feedback, Develop and Revise, and Classroom. The folktale values, content, and rules were analyzed to design a prototype activity, which was then tried out, developed, and improved before actual implementation; 2) the folktale about the “Khat Tha Na Khu Marn Allegory”, which appeared in the murals of Wat Phumin in Nan Province, was a religious tale. There were Axel Olrik’s epic laws of folk narrative such as the laws of opening and closing, single strand, repetition, and twins which had historical and cultural values for society; 3) the prototype activity set of “Telling the Khat Tha Na Khu Marn Allegory” consists of concepts, learning objectives, content, learning materials, measurement and evaluation, as well as the process of designing activities that incorporate a variety of learning styles. The results of the study make participants aware of the value and importance of folktales which lead to the preservation of “Khat Tha Na Khu Marn Allegory”.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Arvorn, Chankhanit. (2020). Lanna Painting, Buddha History, Thotsachat, and Allegory (จิตรกรรมล้านนาพุทธประวัติ ทศชาติ ชาดกนอกนิบาต). Nonthaburi: Museum Press.

Bratitsis, T., & Ziannas, P. (2015). From early childhood to special education: Interactive digital storytelling as a coaching approach for fostering social empathy. Procedia Computer Science, 67: 231-240.

Chettasantikun, Chet. (2017). Digital Storytelling (การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล). SAMSUNG Smart Learning Center. [Online]. Retrieved February 23, 2022 from https://www.samsungslc.org/article/digital-storytelling/

Chunsaard, Chonticha, & Jiraro, Pongthep. (2021). The development of reading comprehension skills for Ggrade-5 students using moral book stories (การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการสอนด้วยหนังสือนิทานคุณธรรม). RTNA Journal of Social Sciences, Humanities and Education, 8(1): 95-102.

Dejwongya, Jirasak. (2003). Mural paintings of Wat Phumin in Nan: A recent study (จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน: การศึกษาครั้งล่าสุด). Muang Boran Journal, 29(4): 10-25.

Department of Cultural Promotion. (2016). Folk Literature : National Intangible Cultural Heritage (วรรณกรรมพื้นบ้าน: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ). Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand Printing.

Imsamraan, Suchart, & Boonyananta, Soamshine. (2020). A study of “Khat-ta-na-ku-marn”: The narrative in the murals of Phumin temple, Nan province (การศึกษาเรื่องเล่า “คัทธนกุมารชาดก” ในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน). Silpa Bhirasri Journal of Fine Arts, 8(1-2): 224-243.

Imsamraan, Suchart, & Boonyananta, Soamshine. (2021). Inspiration from murals at “Wat Phu Min” temple to innovations for educate and promote tourism in Nan (แรงบันดาลใจจากจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน สู่นวัตกรรมเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยว). Journal of Social Communication Innovation, 9(2): 132-141.

Izzati, T., & Syarif, M. I. (2020). Using Indonesia folklore to improve good attitudes in elementary school students. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 12(10): 574-591.

Jeennoon, Phatchalin. (2018). Research directions on the south regional literature in 2 decades (2540-2560) (ทิศทางการทำวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ ในรอบ สองทศวรรษ (พ.ศ. 2540-2560)). Inthaninthaksin Journal, 13(3): 83-111.

Jitpongsai, Phrapaladpatchaya, & Puekbuakhaw, Wipawanee. (2021). The guidelines for the development of learning skills in the 21st century of Mathayom Suksa 1 students with the Dhamma stories in Kongkaram school, Muang district, Phetchaburi province (แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยนิทานธรรมบท ในโรงเรียนคงคาราม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี). Journal of Humanities and Social Sciences Review, 23(1): 150-162.

Ketprathum, Wichian. (2000). Folk Tales Latest Update (นิทานพื้นบ้าน ฉบับปรับปรุงล่าสุด). Bangkok: Pattana Suksa Publishing.

Kongwijit, Pinpon, Koolsriroj, Udomluk, & Sumalee, Sitthikorn. (2019). Development of ASEAN’s folktale book to promote the multi – cultural attitudes of secondary school students (การพัฒนาหนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียนเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อพหุวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา). Journal of Yala Rajabhat University, 14(1): 62-72.

Kottong, Kamonwan, & Chattiwat, Wisa. (2015). The development of English reading exercises based on Asian folktales through the storyline method for Prathomsuksa six students of Banpao (Samranchaiwittaya) school, Chaiyaphumi province (การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สำราญไชยวิทยา) จังหวัดชัยภูมิ). Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 8(2): 2255-2270.

Longtunman. (2018). Longtunman 8.0 (ลงทุนแมน 8.0). Bangkok: LTMan.

Mallikamas, Kularb. (1975). Folklore (คติชาวบ้าน). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Nimmanhaemin, Prakong. (2008). Folk Tales Study (นิทานพื้นบ้านศึกษา) (3rd ed.). Bangkok: Academic Publishing Project, Faculty of Arts, Chulalongkorn University.

Ongwuthivage, Thawatchai, & Yangrot, Wilairat. (2012). Paintings Telling Stories, Immortal Literature (จิตรกรรมเล่าเรื่อง วรรณคดีอมตะ). Nonthaburi: Museum Press.

Patrachai, Sukanya. (2000). Local Literature (วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ) (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Ploysawas, Bongkot, Chanruang, Pramote, & Khamkhong, Tippawan. (2016). A comparison of learning management on fables of Thai language learning for Prathomsuksa 4 between CIPPA model and cooperative teaching model (การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้เรื่องนิทานคติธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนตามรูปแบบซิปปากับการสอนแบบร่วมมือ). Sikkha Journal of Education, 3(2): 68-79.

Pojanapakorn, Kanokwalee. (1999). Looking at the past of Nan Passing the murals of Wat Phumin and Wat Nong Bua (มองอดีตเมืองน่าน ผ่านจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์และวัดหนองบัว). Skulthai, 45: 40-59.

Prabripu, Vinai. (2009). The influence of the form of faith following the artist Nan Bua Phan from Wat Phumin to Wat Pho (อิทธิพลรูปแบบความศรัทธาตามรอยศิลปินหนานบัวผัน จากวัดภูมินทร์ถวิลถึงวัดโพธิ์). In C. Saksingha et al. (Eds.), Art and Culture Magazine, Vol. 30 No. 9 (ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 9), (pp. 54-65). Bangkok: Matichon Book.

Praiwan, Rayrai. (2010). Folklore and Thai Wisdom (คติชนและภูมิปัญญาไทย). Bangkok: Dhonburi Rajabhat University.

Starfish Labz. (2020). How important are educational games to children? (เกมการศึกษาสำคัญอย่างไรกับเด็ก). [Online]. Retrieved February 23, 2022 from https://www.starfishlabz.com/คอร์ส/44-เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

Suanpradit, Anon, Wongthongcharoen, Banphot, & Taweepoon, Wiangping. (2021). The effect of using blended teaching method of story-telling with the multimedia to study learning interest behavior levels of Prathomsuksa 3, demonstration school, Buriram Rajabhat university (ผลของการใช้ วิธีการสอนแบบผสมผสานการเล่านิทานร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความสนใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์). Journal of Arts and Science Rajabhat Chaiyaphum University, 8(1): 120-134.

Thammachot, Sunanta. (2018). Development of a PBBL-based learning model for mathematical talents to promote basic mathematical skills for children in kindergarten year 3 (การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ PBBL ประกอบนิทานเชิงคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลปีที่ 3). Journal of Education Thaksin University, 18(2): 40-50.

Tiger. (2021). What is Design Thinking? Design Thinking in 5 Steps (Design Thinking คืออะไร? การคิดเชิงออกแบบใน 5 ขั้นตอน). ThaiWinner. [Online]. Retrieved February 23, 2022 from https://thaiwinner.com/design-thinking/

Tzima, S., Styliaras, G., Bassounas, A., & Tzima, M. (2020). Harnessing the potential of storytelling and mobile technology in intangible cultural heritage: A case study in early childhood education in sustainability. Sustainability, 12(22): 9416.