วิเคราะห์งานศิลปกรรมที่สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 1 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (The analysis of King Rama I’s artistic works inside Wat Phra Chetuphon)
Main Article Content
Abstract
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งในปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า วัดโพธิ์ เป็นวัดโบราณที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงมีพระราชศรัทธาในการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ภายหลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการรื้ออาคารเดิมและสร้างอาคารใหม่หลายส่วน จากการวิเคราะห์หลักฐานประวัติการสร้างและลักษณะงานศิลปกรรม พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงงานศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 อยู่หลายสิ่ง เช่น งานศิลปกรรมประเภทอาคารหลังคาคลุม ที่สำคัญ ได้แก่ พระอุโบสถหลังเก่า สันนิษฐานจากภาพลายเส้นของนายจอห์น ครอว์เฟิร์ด (John Crawfurd) ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นงานศิลปกรรมแบบไทยประเพณี และพระวิหารทิศทั้ง 4 กับพระวิหารคด ที่แสดงให้เห็นเค้าโครงของงานศิลปกรรมอย่างไทยประเพณีอยู่ เช่น การใช้เสาย่อมุมไม้สิบสอง มีบัวหัวเสา มีคันทวยรับน้ำหนักชายคา หน้าบันที่ยังเป็นงานไม้แกะสลักลงรักปิดทอง ซุ้มประตู หน้าต่าง เป็นทรงปราสาทยอดและบรรพแถลง ซึ่งต่างจากงานช่างสมัยรัชกาลที่ 3 ที่สร้างขึ้นในภายหลัง เช่น พระอุโบสถหลังปัจจุบัน พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ที่เป็นศิลปกรรมแบบผสมระหว่างไทยประเพณีกับแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนงานศิลปกรรมประเภทเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 1 ที่ยังปรากฏหลักฐานชัดเจน คือ พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ ที่มีรูปแบบเป็นเจดีย์ทรงเครื่อง ถือเป็นตัวแทนของงานสร้างสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ดีที่สุด และเป็นต้นแบบให้กับเจดีย์ทรงเครื่องในสมัยรัชกาลที่ 3 และถือเป็นเจดีย์ที่มีความงามอย่างมากในศิลปะรัตนโกสินทร์
Wat Phra Chetuphon Wimon Mangkhalaram, commonly known today as Wat Pho, is an ancient temple dating back to the Ayutthaya period. King Rama I undertook significant renovations after establishing the new capital of Rattanakosin. Later, during the reign of King Rama III, another major restoration took place, involving the demolition of older structures and the construction of new ones. An analysis of historical records and architectural features reveals several examples of King Rama I’s artistic contributions. Notably, the other ubosot (ordination hall), as depicted in a sketch by John Crawfurd, showcases traditional Thai architectural elements. Moreover, the four directional halls and the circumambulatory gallery exhibit traditional Thai characteristics such as redented pillars with lotus-shaped column capitals, eave bracket supporting the roof, pediments with gold-plated wood carvings, and doors and windows frame decorations. In contrast, halls built during the reign of King Rama III, such as the current ubosot and the hall housing the Reclining Buddha, demonstrate a blend of traditional Thai styles and the personal preferences of King Rama III. As for stupas, the Sri Sanpet Chadayan stupa, a prominent example from the reign of King Rama I, is considered a prototype for the elaborately decorated stupas of the subsequent reign and is regarded as a masterpiece of Rattanakosin art.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Crawfurd, J. (1830). Journal of an Embassy from the Governor-General of India to the Courts of Siam and Cochin China, Exhibiting a View of the Actual State of those Kingdoms. London: H. Colburn and R. Bentley.
Damrong Rajanubhab, Prince. (1968). Legendary Objects Which His Majesty King Rama III Established (ตำนานวัตถุสถานต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา). Phra Nakhon: Pracha Chang.
Narisara Nuwattiwong, HRH Prince, & Damrong Rajanubhab, Prince. (1962). San Somdet Volume 1 (สาส์นสมเด็จ เล่ม 1). Phra Nakhon: Kurusapa Business Organization.
Pakdeekham, Santi, Prakitnonthakan, Chatri, & Sumran, Peerapat. (2009). Architecture of Wat Pho (สถาปัตย์วัดโพธิ์). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.
Pakdeekham, Santi, Prakitnonthakan, Chatri, Sumran, Peerapat, & Pakdeekham, Nawarat. (2019). The Ubosot of Wat Pho (พระอุโบสถวัดโพธิ์). Bangkok: Amarin Printing & Publishing.
Phrarajavethi (Suraphon Chityano) (Ed.). (2018). The Grand Festival Commemorating the 230th Anniversary of Wat Phra Chetuphon Wimon Mangkhalaram 1788-2018 (สมโภชพระอาราม 230 ปี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 2331-2561). Bangkok: Amarin Printing & Publishing.
Saisingha, Sakchai. (2008). Craftsman Work in the Phra Nang Klao Period (งานช่าง สมัยพระนั่งเกล้าฯ). Nonthaburi: Matichon Publishing House.
Srivorapot, Boonteun, & Keatnapat, Thanachot (Eds.). (2018). The Ramakian at Wat Pho (รามเกียรติ์วัดโพธิ์). Bangkok: Rung Silp Printing.
Thiphakorawong, Chaophraya. (1961). The Royal Historical Record of Rattanakosin in Rama 3 Period, Volume 1 (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 1). Phra Nakhon: Kurusapa Printing.