แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรพืชโกโก้และพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย (Guidelines for developing agritourism potential in Cocoa and local economic crops in Chiang Rai Province)

Main Article Content

ณฐมน สังวาลย์ (Nathamon Sangwan)
ปริพรรน์ แก้วเนตร (Paripan Kaewnet)
ชฎาพัศฐ์ สุขกาย (Chadapat Sukkai)

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินศักยภาพพื้นที่ปลูกพืชโกโก้และพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นของชุมชนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร พืชโกโก้และพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นของชุมชน ในพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนเกษตรกร ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้านการตลาด ด้านการเพาะปลูก และด้านการรับรองมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินศักยภาพพื้นที่ โดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการประเมินศักยภาพพื้นที่ปลูกพืชโกโก้และพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ระดับปานกลาง ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดในทุก ๆ ด้านให้ดียิ่งขึ้นได้ อาทิ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้านการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน ด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จากการระดมความเห็น สรุปได้ 5 ด้าน ดังนี้ 2.1) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ควรเป็นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เรียนรู้ร่วมทำกิจกรรมระยะสั้น 2.2) ด้านการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมได้ผลประโยชน์ 2.3) ด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ควรเพิ่มความพร้อมการต้อนรับ ป้ายบอกสถานที่ที่ชัดเจน และส่งเสริมอาชีพบริการทางการท่องเที่ยวมากขึ้น 2.4) ด้านการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพิ่มช่องทางการตลาดแบบออนไลน์และออฟไลน์ และ 2.5) ด้านบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ควรจัดพื้นที่เยี่ยมชมอย่างเป็นสัดส่วน ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ได้นำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ต่อการกำหนดนโยบายการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ พาณิชย์ การเกษตรและอุตสาหกรรม ประจำปี 2565 เพื่อเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการท่องเที่ยว และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น


This article aims to assess the potential of cocoa plantations and local economic crops in the community as agritourism destinations and to study the guidelines for developing their agritourism potential in Mae Chan District, Chiang Rai Province. By utilizing a mixed-methods research approach, the study involves a sample population consisting of representatives from various groups, including farmers, agricultural experts, agritourism specialists, marketing professionals, cultivation experts, and certification authorities. This approach combines both quantitative and qualitative research methods. The research tools used were interviews, questionnaires, and an area potential assessment form. The data were analyzed using techniques such as calculating averages, standard deviations, and conducting comparative analysis. The study findings revealed that: 1) The assessment of the potential of cocoa plantations and local economic crops as agritourism destinations in all five aspects yielded a moderate average score. This indicates that there is room for further improvement in all areas, such as agritourism activities, community involvement in agritourism, and service quality and facilities. 2)  Based on the feedback, the study identified the following guidelines for developing the agritourism potential in the five areas: 2.1) Agritourism activities: It is recommended to focus on creative and educational activities that enable participants to engage in short-term activities. 2.2) Community involvement in agritourism: The community should be actively involved in planning, brainstorming, and implementing initiatives to ensure mutual benefits. 2.3) Service quality and facilities: Enhancing readiness in welcoming visitors, providing clear signage, and promoting tourism-related service professions. 2.4) Agritourism marketing: Expanding marketing channels both online and offline to reach a wider audience. 2.5) Agritourism management: Developing proportionate visitor observation areas for better management. Furthermore, the Pa Tung Subdistrict Administrative Organization in Mae Chan District, Chiang Rai Province, has applied the research results to formulate policies for tourism development, strategic issues in tourism development, and the economy, commerce, agriculture, and industry sectors for the year 2022. This aims to enhance the diversity of tourism formats and increase community participation in tourism activities.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Chaisaengpratheep, Nattapong (2014). The formats and operation process of agro-tourism (รูปแบบและกระบวนการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร). Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 7(3): 310-321.

Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2002) Types of Agricultural Tourism Attractions (ประเภทสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร). [Online]. Retrieved November 18, 2022 from http://agrotourism.doae.go.th/

Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sports. (2016). Agrotourism Standard Assessment Manual (คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร) (2nd ed.). Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.

Jittangwattana, Boonlert. (2005). Sustainable Tourism Development (การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน). Bangkok: Tourism Academic Center of Thailand.

Kispredarborisuthi, Boontham. (1997). Social Sciences Research Methodology (ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์) (7th ed.). Nonthaburi: Jaroenpol Press.

Klibthong, Jinda. (2016). Guidelines for development on sustainable agro-tourism management approached by community participation, Nonthaburi Province (แนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดนนทบุรี). Journal of International and Thai Tourism, 12(2): 59-82.

Matkul, Trisawan. (2013). The Motivations of Thai Tourists to E-SARN Cultural Tourism : Case Study of Sila-Art Temple (Phu Pha), Chaiyaphum Province (แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสาน กรณีศึกษา วัดศิลาอาสน์ (ภูพระ) จังหวัดชัยภูมิ). Master’s dissertation, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.

Office of Agricultural Economics. (2016). KOFC Opens a Corner to Analyze the Income of the Agricultural Sector After the Government Pushes Agritourism in Thailand During the Long Holidays (KOFC เปิดมุมวิเคราะห์รายได้ภาคเกษตร หลังรัฐดันท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทยช่วงวันหยุดยาว). [Online]. Retrieved November 18, 2022 from https://www.ryt9.com/s/prg/2464477

Na Songkhla, Teppagorn. (2011). Relationship between forms of agro-tourism activities and usage of local agricultural resources: A case study of Changklang agro-tourism,Nakhon Si Thammarat Province (ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการใช้ทรัพยากรเกษตรของชุมชน: กรณีศึกษาท่องเที่ยวเชิงเกษตรช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช). MIS Journal of Naresuan University, 6(2): 1-12.

Pa Tueng Subdistrict Administrative Organization. (2022). Development Policy of Administrators of Pa Tueng Subdistrict Administrative Organization (นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง). [Online]. Retrieved November 18, 2022 from http://patueng.go.th/main.php?type=3

Saiyot, Luan, & Saiyot, Angkana. (1997). Research Statistics (สถิติวิทยาทางการวิจัย) (3rd ed.). Bangkok: Suweeriyasarn.

Sinthon, Jaroowan, & Panalad, Sakkasem. (2021). Study of agricultural tourism development guidelines Kut Wa Subdistrict, Kuchinarai District, Kalasin Province (การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์). Governance Journal, 10(2): 191-210.

Srirathu, Vipa. (2008). Eco-Tourism Potential of Amphoe Khao Kho, Phetchabun Province (ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์). Master’s dissertation, Srinakarinwirot University, Bangkok, Thailand.

Srisomyong, Neorn. (2005). A Survey of Foreign Attitude Towards Decision to Travel in the Provinces Struck by Tsunami in Thailand (การสำรวจทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการตัดสินใจไปท่องเที่ยวในจังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ). Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce.