การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคพาโนรามา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Development of reading comprehension skill using the Panorama technique for Thai 6th-grade students)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคพาโนรามา 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามา กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนอนุบาลธัญรดา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามา 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 3) แบบวัดความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทย และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยหลังเรียนโดยใช้เทคนิคพาโนรามาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนมีความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนโดยใช้เทคนิคพาโนรามา สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X̅ = 2.70, S.D. = 0.45) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านให้กับนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 ที่ควรได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning เพราะ เทคนิคพาโนรามาจะช่วยให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ เรียบเรียงสาระสำคัญของเรื่องด้วยตนเอง เสนอความคิดเห็น พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน โดยมีครูคอยให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำ ซึ่งขั้นตอนที่ควรกำกับดูแลเป็นพิเศษ คือ ขั้นการจำ (Memorize) เนื่องจากนักเรียนบางคนยังไม่สามารถเรียบเรียงใจความสำคัญด้วยตนเองได้
The objectives of the study were to 1) compare the Thai language learning achievement of the 6th-grade students before and after adopting the Panorama technique, 2) compare the reading comprehension skills of Thai students after adopting the Panorama technique with the criterion of 75 percent, and 3) study the satisfaction of 6th-grade students towards the class management of reading comprehension in Thai language using the Panorama technique. The sample used in this research were 34 6th-grade students in Thanrada Kindergarten School during their second semester of the academic year 2021 selected by cluster random sampling method. The research tools consisted of 1) lesson plans for reading comprehension in Thai language using the panorama technique, 2) a Thai language learning achievement test, 3) a Thai reading comprehension test, and 4) the satisfaction questionnaire on the management of Thai reading comprehension using the Panorama technique. The results were as follows: 1) the students’ learning achievements in a Thai subject after using the Panorama technique were significantly higher than before at the 0.05 level. 2) The 6th-grade students had a higher ability of Thai reading comprehension than the threshold of 75 percent after learning by using the Panorama technique with statistical significance at the 0.05 level. 3) The students had a high level of satisfaction with the learning management of the Thai reading comprehension using the Panorama technique (with the overall X̅ = 2.70, S.D. = 0.45). The study results can be used as guidelines for learning management to develop reading skills through active learning methods for students in the 21st century. The Panorama technique will encourage students to think, analyze, form critical ideas by themselves, as well as propose and review information with their classmates under the supervision of the teachers. The major step that should be thoroughly supervised is memorizing because some students are still unable to form the important ideas by themselves.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., Raths, J., & Wittrock, M. C. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman.
Bellanca, J., & Brandt, R. (Eds.). (2019). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn (ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21) (3rd ed.). Bangkok: Bookscape.
Betty, D. R. (1983). Secondary School Reading Instruction: The Content Areas. Boston: Houghton Mifflin.
Bhupiewngeon, Maliwan. (2014). Development of Learning Activities to Enhance Critical English Reading Ability through PANORAMA Reading Model for Mathayom Suksa 4 Students (การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบพาโนรามา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4). Master’s dissertation, Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon, Thailand.
Chomeya, Rungson. (2010). Psychology: Fundamentals in Understanding Human Behavior (จิตวิทยา: พื้นฐานในการทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์). Maha Sarakham: Mahasarakham University Press.
Dangbusdee, Phanomwan. (2013). The Organization of Instructional Activities on Reading Comprehensions of Thai Language Stand by Panorama Stechnique for Prathom Suksa Five Students (การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยด้วยเทคนิคการสอนแบบพาโนรามาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5). Master’s dissertation, Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham, Thailand.
Edwards, P. (1973). Panorama: A study technique. Journal of Reading, 17(2): 132-135.
Edwards, P. (2003). Literacy Techniques: For Teachers and Parents (3rd ed.). Victoria: Trafford.
Khammanee, Tissana. (2019). Science of Teaching Pedagogy (ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ) (21st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Koonkaew, Anuwat. (2019). Research to Develop Learning to Academic Works for the Promotion of Academic Standing (การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ) (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Lawthong, Nuttaporn. (2018). Creating Educational Research Tools (การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา) (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Publishing.
Mueangmo, Kanchana. (2016). The Effects of Using KWL-Plus and PANORAMA Teaching Techniques on Reading Comprehension Ability and Avidity for Learning Mathayom Suksa II Students at Ban Jom Jaeng Mittaphap No. 193 School in Mae Hong Son Province (ผลของการใช้เทคนิค KWL-PLUS และเทคนิค PANORAMA ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ และความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านจอมแจ้งมิตรภาพที่ 193 จังหวัดแม่ฮ่องสอน). Master’s dissertation, Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi, Thailand.
Muennil, Waewmayura, & Muennil, Pratheep. (2021). Reading Comprehension (การอ่านจับใจความ) (5th ed.). Bangkok: P.A. Living.
Nantachantoon, Siriwan, & Sereechaikul, Thanwaporn. (2015). Developing Exposure Skills (การพัฒนาทักษะการรับสาร). In S. Bumrungsuk (Ed.), Thai Language for Communication (ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร), 11th ed. (pp. 105-152). Bangkok: Kasetsart University Press.
National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2021). Mean and Standard Deviation of Grade 6 O-NET Test Results Classified by Subject (ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำแนกตามสาระการเรียนรู้). [Online]. Retrieved December 21, 2021 from https://www.niets.or.th/uploads/editor/files/Download/IT-16-17-ONET-P6-SCORE%20by%20CONTENT.xlsx
Rakklang, Teerawoot. (2019). A Study of Learning Achievement from the Reading for Passage Main Idea Unit and the Reading Comprehension of Grade 6 Students by Using PANORAMA (การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ จับใจความตามประเภทของสาร และการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ PANORAMA). Master’s dissertation, Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Nakhon Ratchasima, Thailand.
Srisa-ard, Boonchom, (2017). Preliminary Research (การวิจัยเบื้องต้น) (10th ed.). Bangkok: Suweerivasarn.
Interview
In-On, Tawatchai, Director of Thanrada School. Interview, December 2, 2021.