ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองเมืองพระตะบองในเอกสารภาษาเขมร เรื่อง “บาต่ฎํบงสมัยโลกมฺจาส่” (พระตะบองสมัยท่านเจ้าคุณ) (History of politics and administration of Battambang according to the Khmer document titled “Battambang in the time of the Lord Governor”)
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองเมืองพระตะบองในเอกสารภาษาเขมร เรื่อง “บาต่ฎํบงสมัยโลกมฺจาส่” (พระตะบองสมัยท่านเจ้าคุณ) ของ ตูจ ฌวง โดยใช้วิธีการศึกษาแบบวิจัยเอกสารร่วมกับการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาและบริบทที่เกี่ยวข้องในทางประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจ 2 ประการ คือ ประการแรก ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองเมืองพระตะบองในเอกสาร เรื่อง “บาต่ฎํบงสมัยโลกมฺจาส่” สะท้อนความซับซ้อนและความสัมพันธ์เครือข่ายการเมืองในกลุ่มตระกูลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนักสยาม โดยเอกสารบันทึกช่วงสมัยที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ถึงสมัยเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (ชุ่ม) ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์สยาม (รัชกาลที่ 1-4) ให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง บริหารการปกครองสนองพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์สยาม ผ่านกลไกการปกครองแบบจารีต คือ การจัดเก็บภาษีอากรและการส่งเครื่องบรรณาการ รวมทั้งการควบคุมอำนาจโดยบทลงโทษที่เข้มงวดผลักดันให้ระบอบการปกครองเมืองพระตะบองอยู่ในกลุ่มตระกูลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์จากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลายาวนานร่วมศตวรรษ ประการที่สอง เอกสารสะท้อนอำนาจที่ผูกขาดเฉพาะกลุ่มบุคคลและสืบทอดอำนาจผ่านสายตระกูลต่อเนื่องหลายชั่วอายุคน จนกระทั่งระบอบการปกครองการแต่งตั้งจากส่วนกลางยุติในปี พ.ศ. 2450 สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อราชสำนักสยามสูญเสียอำนาจการปกครองเมืองพระตะบองให้แก่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ในประเด็นนี้ ผู้เขียนพบว่า ตูจ ฌวง สร้างข้อถกเถียงประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองเมืองพระตะบองแบบปลายเปิดผ่านข้อมูลที่นำเสนอ โดยให้ผู้อ่านเอกสารตีความท่าทีหรือความรู้สึกของคนท้องถิ่นที่มีต่อผู้ปกครองเชื้อสายเขมรซึ่งถูกแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์สยาม
The objective of this article is to examine the history of politics and administration of Battambang province as revealed in the Khmer document entitled “Battambang in the Time of the Lord Governor” by Tauch Chhuong. The research method used is documentary research and textual analysis with supplementary study of relevant historical contexts. The study revealed two interesting points. Firstly, the history of politics and administration in Battambang province, as presented in the document, reflects the intricate political network relationships within the family of the Chaophraya Aphaiphubet and the Siamese court. The document records the period from the time of Chaophraya Aphaiphubet (Baen) to the time of Chaophraya Kathathonthoranin (Chum), who were appointed regents of Battambang by the kings of Siam (Rama I – IV). They governed the region by fulfilling the wishes of the Siamese kings through traditional governance mechanisms such as tax collection, tribute delivery, and maintaining control through strict punishments. Consequently, the governance of Battambang remained in the hands of Chaophraya Aphaiphubet family for nearly a century, passing from generation to generation. Secondly, the document reflects the concentration of power within a specific group of individuals and the succession of power through the family line for many generations. This persisted until the system of appointment from the central government ended in 1907 during the reign of King Rama V, when the Siamese court lost control of Battambang to the French colonial empire. In this regard, the author found that Tauch Chhuong stimulated an open-ended historical debate on the politics and governance in Battambang through the presented data. The document enables readers to interpret the attitudes or sentiments of the local people towards the Khmer rulers appointed by the Kings of Siam.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chaiyotha, Danai. (2003). Thai History: From Thonburi to Rattanakosin Period (ประวัติศาสตร์ไทย: ยุคกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์). Bangkok: Odeon Store.
Chhuong, T. (1994). Battambang During the Time of the Lord Governor. Phnom Penh: Cedoreck.
Kanjanawongse, Rayubsri. (1979). The Roles of Battambang’s Governors in Rattanakosin Period (1794-1906) (บทบาทของเจ้าเมืองพระตะบองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2337-2449). Master’ s dissertation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.
Ministry of Education. (2003). A Book for Researching Days, Times, and Years, Secondary School: Social Studies, Religion and Culture Department, Basic Education Curriculum 2001 (หนังสือสำหรับค้นคว้า เรื่อง วันวาร กาลเวลา แลนานาศักราช ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544). Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.
Mueangwong, Sanan. (1976). The History of the Thonburi to Rattanakosin Period (ประวัติศาสตร์ไทย ธนบุรี-รัตนโกสินทร์) (2nd ed.). Bangkok: Aksorn Samai.
Pisnaka, Prayoon. (1962). 50 Chao Phrayas of Rattanakosin (50 เจ้าพระยาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์). Phra Nakhon: Klang Wittaya.
Pongsapich, Amara. (1990). Culture, Religion and Ethnicity: An Anthropological Analysis of Thai Society (วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทย แนวมานุษยวิทยา). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Rueangsil, Chai. (1976). Thai History During 1809-1910: Social Aspects (ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. 2352-2453 ด้านสังคม) (2nd ed.). Bangkok: Rueangsil Press.
Saraya, Thida. (1997). Land and Country in the Eyes of King Rama V (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดินสยาม: บ้านเมืองและประเทศในสายพระเนตร). Bangkok: Muang Boran Press.
The Fine Arts Department, Ministry of Culture. (1942). The Royal Chronicle of the Kingdom of Ayutthaya: Prince Paramanuchitchinorot, Volume 1 (พระราชพงสาวดารกรุงสรีอยุธยา ฉบับความสมเด็ดกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เล่ม 1). Phra Nakhon: Prachan Printing House.
The Fine Arts Department, Ministry of Culture. (1955). The Ayutthaya Chronicle: Luang Prasert Aksonnit’s Version (พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์). Phra Nakhon: Mahamakuta Rajavidyalaya Foundation.
The Fine Arts Department, Ministry of Culture. (2006). The Golden Jubilee Collection of Royal Chronicles, Volume 12 (ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 12). Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.
Thiphakorawong, Chaophraya. (1961). The Royal Chronicle of the Kingdom of Rattanakosin: King Rama I (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1). Phra Nakhon: Kurusapa Printing.