การรับรู้และความเข้าใจในงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร (Perception and understanding of quality assurance in education of personnel in the Central Library, Silpakorn University)

Main Article Content

ณัชชา มณีวงศ์ (Nutcha Maneewong)

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้และความเข้าใจงานประกันคุณภาพการศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเสริมสร้างการรับรู้และความเข้าใจงานประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบทดสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรของสำนักหอสมุดกลางมีความรู้และความเข้าใจงานประกันคุณภาพการศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจระดับดีมากเช่นเดียวกัน  ยกเว้นบางข้อที่อยู่ในระดับดี ได้แก่ ข้อ 6 การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการดำเนินงานเฉพาะของผู้บริหารเท่านั้น ข้อ 11 ระบบการประกันคุณภาพไม่ได้ขับเคลื่อนช่วยเหลือ สนับสนุน หรือส่งเสริมชุมชนรอบข้าง ข้อ 15 ข้อมูลหรือสารสนเทศที่แสดงถึงเสียงของลูกค้า ไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญในการนำไปพิจารณาสร้างกลยุทธ์ ส่วนข้อ 29 องค์กรควรแสดงผลดำเนินการและผลการปรับปรุงที่สำคัญในบางด้าน อยู่ในระดับค่อนข้างดี มีเพียงข้อเดียวที่อยู่ในระดับพอใช้ คือ ข้อ 22 ระบบประกันคุณภาพการศึกษาไม่ได้ทำให้ผู้บริหารทราบว่าบุคลากรมีความสุขความผูกพันกับองค์กรอย่างไร จึงมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คือควรมีการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทั้งนี้อาจนำเสนอทีละประเด็นที่สำคัญ เข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย เหมาะแก่บุคลากรทุกระดับหรืออาจทำในเรื่องเดียวกันแต่แยกระดับเพื่อความเข้าใจของทุกคน ดังนั้น จึงควรพัฒนากระบวนการส่งเสริมการรับรู้ จัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในแต่ละประเด็นอย่างถูกต้องชัดเจน เผยแพร่ความรู้ในช่องทางที่หลากหลายและเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรที่ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น


The study had the following objectives: 1) to study the perception and understanding of quality assurance in education of personnel in the Central Library, Silpakorn University, and 2) to study ways to develop perception and understanding of quality assurance in education. It was descriptive research that collected data by a test. The data were analyzed using the SPSS Software. The results revealed that the population had the overall knowledge and understanding of quality assurance in education at a very good level. When considering each item in detail, it was found that the majority had very good knowledge of the assurance, except for some items that are at a good level, namely item 6 (quality assurance in education is assigned only for executives), item 11 (the quality assurance system does not drive, assist, support or promote surrounding communities), and item 15 (data or information representing customers’ opinions was not a key element in strategy construction). Moreover, item 29 (organizations should show significant performances and improvements in some ways) was marked at a fairly good level. Only item 22 (the quality assurance system does not make the administrators aware of how happy and engaged the personnel were with the organization) was rated at a fair level. Therefore, some recommendations for further improvements are that public relations media should be publicized continuously and consistently. They may present each important item separately by making it simple and easy to access, as well as suitable for all levels of personnel or they may present the same issues but with different comprehensive levels for individual understanding. In short, the perception promotion process should be developed by organizing some activities that can create a better understanding of each issue. Key information should be disseminated through a variety of accessible channels. Knowledge sharing with successful organizations is also needed to promote perception and better understanding of the personnel.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Announcement the Commission on Higher Education Standards (ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา). (2021, July 19). Royal Thai Government Gazette (No. 139 Special Chapter 268 d, pp. 64-66). [Online]. Retrieved August 24, 2022 from https://bit.ly/3HFSAy3

Darapanitch, Kochakron. (2012). Perception Participation and Acceptance of Staff of Rajamangala University of Technology Thanyaburi Toward the Educational Quality Assurance (การรับรู้ การมีส่วนร่วม และการยอมรับของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีต่อการประกันคุณภาพการศึกษา). Master’s dissertation, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathum Thani, Thailand. [Online]. Retrieved March 20, 2022 from https://bit.ly/3MFWNSp

Jairuen, Jemrinee. (2012). The Management of Internal Quality Assurance in School of Chiang rai Primary Educational Service Area Office 3 (การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3). Master’s dissertation, Chiang Rai Rajabhat University, Chiang Rai, Thailand. [Online]. Retrieved March 20, 2022 from https://bit.ly/3sV0VpY

Na Ranong, Jedsada. (2014). Staff Participation Quality Assurance for Thammasat University (การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). Bangkok: Thammasat University. [Online]. Retrieved August 15, 2022 from https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:87091

National Education Act (No.4) B.E. 2562 (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562). (2019, May 1). Royal Thai Government Gazette (No. 136 Chapter 57 a, pp. 49-53). [Online]. Retrieved August 24, 2022 from https://bit.ly/3dTY63F

Phansaita, Nalinee. (2012). Students’ Perceptions of Image, Graduate Quality, Curriculum and Instruction of Public Universities (การรับรู้ภาพลักษณ์ คุณภาพบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ). Master’s dissertation, National Institute of Development Administration, Bangkok, Thailand. [Online]. Retrieved March 20, 2022 from https://bit.ly/3GkdeRP

Silpakorn University. (2016a). Philosophy, Determination, Vision (ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์). [Online]. Retrieved April 2, 2022 from https://www.su.ac.th/th/about-mission-vision.php

Silpakorn University. (2016b). Quality Assurance (งานประกันคุณภาพการศึกษา). [Online]. Retrieved April 2, 2022 from https://www.su.ac.th/th/qa-newsfeed.php

Tharaphod, Thawin, & Damrisuk, Saran. (2000). Human Behavior and Self Development (พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน). Bangkok: Tippayawisut.

The Central Library, Silpakorn University. (2020). Strategic Plan of Central Library, Silpakorn University A.D. 2020-2024 (แผนยุทธศาสตร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2563-2567). Nakhon Pathom: The Central Library, Silpakorn University.