การสร้างสรรค์เครื่องประดับจากเซรามิกสำหรับโนราตัวนาง (Creative invention of ceramic ornaments for female Norah dancer)

Main Article Content

ศตบดินทร์ เคียรประเสริฐ (Satabodin Khianprasoet)

Abstract

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์เครื่องประดับเซรามิกให้สนองต่อการใช้งานในบริบททางนาฏกรรม วิธีการวิจัยใช้การสัมภาษณ์ การสังเกต และการลองปฏิบัติ  โดยทดลองใช้วัสดุใหม่ที่แตกต่างไปจากลูกปัดและเครื่องเงินแบบเดิม กระบวนการออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะการประดิษฐ์ดอกไม้และใบตองแบบไทย ซึ่งคงภูมิปัญญาการร้อยแบบดั้งเดิมไว้ สามารถสลับสับเปลี่ยนองค์ประกอบต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้งาน การประยุกต์เซรามิกผสมผสานกับวัสดุอื่น เป็นการพัฒนารูปแบบเครื่องประดับให้มีความร่วมสมัย สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นการแสดงถึงลักษณะเฉพาะทางบุคลิกของตัวนางและส่งเสริมคุณค่าทางนาฏกรรมเมื่อสวมใส่ร่วมกับเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ของโนราที่แสดงถึงความงดงามอ่อนช้อย สง่างาม แข็งแรง ฉับไวและเน้นคุณค่าทางสุนทรียภาพจากรูปลักษณ์ และคุณค่าด้านสมบัติของวัสดุที่แตกต่างกันที่นำมาใช้ผสมผสานกันอย่างลงตัว และสะท้อนให้เห็นถึงบริบททางนาฏกรรมได้


This qualitative research aims to creatively design ceramic ornaments that are suitable for use in the context of Norah dance costumes. The research methodology included interviews, observations, and practical experiments. The findings revealed that by using new materials distinct from traditional beads and silver ornaments, the design process drew inspiration from Thai crafts elaborated from flowers and banana leaves, preserving the essence of the original artistry. Various components can be interchangeably combined to meet users’ needs, allowing for a diverse design. Incorporating ceramics with other materials enhances the contemporary aspects of the ornaments, aligning with the preferences of the target group. This innovation highlights the unique personal characteristics of female Norah dancers and promotes theatrical values when combined with the Norah distinctive attires, symbolizing the delicate beauty, grace, strength, agility, and intrinsic value of the appearance. The different characteristics and properties of the materials used in the fusion reflect the cultural context of the dance.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Changsan, T. (2006). Nora beads : Means for promoting self-sufficiency economics. Journal of Yala Rajabhat University, 1(2): 130-138.

Changsan, Teerawat. (2017). Developing Nora costumes based on local wisdoms in Nakhon Si Thammarat province (การพัฒนาเครื่องแต่งกายโนราภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช). Journal of Yala Rajabhat University, 12(1): 93-106.

Leksawat, Sukhumal. (2015). Lace Ceramic Design from Thai Woman’s Apparel in the Reign of King Rama the Fifth – the Seventh (การออกแบบลูกไม้เซรามิกจากเครื่องแต่งกายสตรีไทยสมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7). Bangkok: National Research Council of Thailand.

Phatthalung Dramatics College. (2020). Method of Engraving Glass Bead Patterns (วิธีการร้อยลูกปัดโนราลายลูกแก้ว). [Online]. Retrieved Feburuary 2, 2023 from http://media.bpi.ac.th/admin/attach/w2/f20220825111051_SEFd5TcZHp.pdf

Virulrak, Surapone. (2006). The Element Dance Rama IX (นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 9). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Interview

Nikomrat, Tammanit, National Artist for Performing Arts Nora. Interview, June 3, 2020.