ผลของโปรแกรมการฝึกเสริมด้วยลูกบอลปฏิกิริยาที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาการรับลูกของนักกีฬาเบสบอล โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี (Effects of a reaction ball supplemental training program on the receiving ball reaction time of baseball players at Suphanburi Sports School)

Main Article Content

พิชญ์พล บุญคงเสน (Pichpon Boonkongsen)
ธีรนันท์ ตันพานิชย์ (Theeranan Tanphanich)
อำนวย ตันพานิชย์ (Amnuay Tanphanich)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกเสริมด้วยลูกบอลปฏิกิริยาที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาการรับลูกของนักกีฬาเบสบอล โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มเป้าหมายเป็นนักกีฬาเบสบอล โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 30 คน ทดสอบเวลาปฏิกิริยาการรับลูกเบสบอล โดยแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ทำการฝึกทักษะกีฬาเบสบอลตามปกติ และกลุ่มทดลองที่ทำการฝึกทักษะกีฬาเบสบอลตามปกติควบคู่กับโปรแกรมการฝึกเสริมด้วยลูกบอลปฏิกิริยา ดำเนินการฝึก 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการฝึกเสริมด้วยลูกบอลปฏิกิริยา ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.91 2) โปรแกรมการฝึกทักษะกีฬาเบสบอล และ 3) แบบทดสอบเวลาปฏิกิริยาการรับลูกเบสบอลด้วยเครื่อง Fitlight® ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.96 ค่าความเชื่อถือ เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวนสองทางชนิดวัดซ้ำ โดยใช้การวิเคราะห์เป็นรายคู่ของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลของโปรแกรมการฝึกด้วยลูกบอลปฏิกิริยาที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาการรับลูกของนักกีฬาเบสบอล ภายในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลของโปรแกรมการฝึกด้วยลูกบอลปฏิกิริยาที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาการรับลูกของนักกีฬาเบสบอล ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ไม่แตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มของค่าความแตกต่างร้อยละ 10.28 จากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำโปรแกรมการฝึกเสริมด้วยลูกบอลปฏิกิริยาไปใช้เสริมสร้างสมรรถภาพทางกลไกด้านเวลาปฏิกิริยาตอบสนองของนักกีฬาเบสบอลได้


The objective of this research was to compare the effects of a reaction ball supplemental training program on the receiving ball reaction time of baseball players at Suphanburi Sports School. The samples comprised 30 baseball players from Suphanburi Sports School. A baseball receiving time test was conducted to divide the players into two groups of 15 each: the control group and the experimental group. The training sessions lasted eight weeks, with sessions conducted three days per week, and two hours per day. The research tools were: 1) the reaction ball training program with content validity of 0.91; 2) the regular baseball training program; and 3) the baseball catching reaction time test using Fitlight®, with content validity of 0.96 and reliability of 0.94. The data were analyzed to examine means, standard deviations, a two-way analysis of variance with repeated measures using Bonferroni. The research results were: 1) the effect of the reaction ball supplemental training program on the baseball players’ receiving ball reaction time within both the control and experimental groups significantly decreased at the 0.05 level, both before and after training during the 4th and 8th weeks; 2) the impact of the reaction ball supplemental training program on the baseball players’ receiving ball reaction time between the control and experimental groups did not show a significant difference before and after training at 4 and 8 weeks. However, there was a noticeable trend, amounting to 10.28 percent. Based on the research findings, it can use the reaction ball training program to enhance the response time capability of baseball players.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Bailey, M. (2022). What Are the 5 Skills in Baseball? [Online]. Retrieved September 23, 2022 from https://www.baseballbible.net/baseball-skills/

Hemara, Chaturong. (2018). Principle and Practice: Physical Fitness Test (หลักการและการปฏิบัติ : การทดสอบสมรรถภาพทางกาย). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Intanai, Kittitat. (2021). How to Play Baseball: Just Do It (คู่มือการเล่นเบสบอล). [Online]. Retrieved September 23, 2022 from https://anyflip.com/xurlv/lzon/basic

Kamutsri, Thavorn. (2017). Physical Fitness Conditioning (การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย). Bangkok: Media Press.

Krabuanrat, Charoen. (2014). Science of Coaching (วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา). Bangkok: Sintana Copy Center.

Lekhakhum, Karun. (2017). The Eye-Hand Response Time of Basketball Players (ผลการฝึกด้วยโปรแกรมตารางเก้าช่องและลูกบาสเกตบอลที่มีต่อเวลาตอบสนองระหว่างตากับมือในนักกีฬาบาสเกตบอล). Master’s dissertation, Ramkhamhaeng University, Bangkok, Thailand.

Magill, R. A. (2007). Motor Learning and Control: Concepts and Applications (8th ed.). NY: McGraw-Hill.

Ministry of Tourism and Sports. (2021). (Draft) National Sports Development Plan No. 7 (2022-2027) ((ร่าง) แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2565-2570)). [Online]. Retrieved August 23, 2022 from https://anyflip.com/iujzr/bvol/basic/101-150

Mongput, Korrawan, Thonglong, Thanumporn, & Bussamongkhon, Piangpen. (2022). The effects of muscle nervous system training program using tennis ball on reaction time of male adolescent (ผลของโปรแกรมการฝึกระบบประสาทกล้ามเนื้อโดยใช้ลูกเทนนิสที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาของวัยรุ่นชาย). Udon Thani Rajabhat University Journal of Science and Technology, 10(1): 17-26.

Nelson, S. (2022). 7 Fundamentals of Catching a Baseball. [Online]. Retrieved September 23, 2022 from https://baseballtrainingworld.com/7-fundamentals-of-catching-a-baseball/

Phakhunthod, Sataporn. (2021). Effect of Reaction Ball Training on Receiving Ball Dynamic Fielding Response Time of Hockey Players Kasetsart University (ผลของการฝึกลูกบอลปฏิกิริยาที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองการรับลูกแบบเคลื่อนที่ของนักกีฬาฮอกกี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์). Master’s dissertation, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.

Silpcharu, Thanin. (2020). Research and Statistical Analysis with SPSS and AMOS (การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS)(18th ed.). Bangkok: Business R&D.

Wood, R. (2008). Fitness Components for Baseball. [Online]. Retrieved September 23, 2022 from https://www.topendsports.com/sport/baseball/fitness-components.htm