การสร้างสรรค์จิตรกรรมแนวเรื่อง สัมพันธภาพสัญลักษณ์แห่งความสุขสมบูรณ์ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน (The project proposal for creatively painting the interconnectivity of lives: The symbol of happiness in the rural way of life in Isan)

Main Article Content

ศักดิ์สิทธิ์ บัวคำ (Saksit Buakham)

Abstract

การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมแนวเรื่อง สัมพันธภาพสัญลักษณ์แห่งความสุขสมบูรณ์ในวิถีชีวิตชนบทอีสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักแนวคิดในการดำรงชีวิตและสัญลักษณ์สัตว์เลี้ยงสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่มีในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และเพื่อสร้างผลงานจิตรกรรมลักษณะ 2 มิติ รูปแบบอุดมคติสื่อความหมายและความรู้สึกผ่านรูปทรงสัญลักษณ์และสะท้อนวิถีชีวิตคนชนบทอีสาน โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากสภาพแวดล้อม 3 พื้นที่ในอำเภอกุมภวาปี ข้อมูลเอกสารงานวิจัย ข้อมูลจากรูปแบบศิลปะจิตรกรรมอีสานแนวประเพณี และผลงานของศิลปิน ได้มาซึ่งเนื้อหา รูปแบบ และเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน จำนวน 12 ชิ้น โดยพบว่าเนื้อหาผลงานสะท้อนชีวิตของคนชนบทอันเปี่ยมด้วยความอุดมสมบูรณ์ เป็นวิถีชีวิตที่เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพอย่างมีความสุข สนุกรื่นเริง ผูกพันกับธรรมชาติชนบทอีสาน ซึ่งปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงใกล้เลือนหายตามยุคสมัยด้านรูปแบบ ผลงานเป็นศิลปะอุดมคติ (idealism art) มีรูปทรงวัว ควาย เป็นรูปทรงหลัก ประกอบสร้างนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์จัดวางให้ผสานกลมกลืนและเคลื่อนไหว เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิด ด้านเทคนิคได้ศึกษาทดลองคุณสมบัติและคุณลักษณะของสีอะคริลิคผสมมีเดียม (acrylic medium) เขียนให้เกิดความโปร่งแสงสร้างมิติในผลงาน ใช้สีทำปฏิกิริยากับน้ำมันสนเพื่อสร้างพื้นผิวให้เป็นธรรมชาติสอดคล้องกับแนวความคิด โดยการระบาย ขูด ขีด ให้เป็นลักษณะของการเคลื่อนไหว ทับซ้อน เชื่อมโยงระหว่างรูปทรงต่าง ๆ และบรรยากาศเข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนความรู้สึกของครอบครัวญาติมิตร เปี่ยมด้วยความอุดมสมบูรณ์และมีความสุขในวิถีชีวิตชนบทอีสานดั้งเดิม ทั้งนี้เพื่อเป็นองค์ความรู้และแนวทางในการพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่มีแนวเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นสู่ความเป็นศิลปะร่วมสมัยต่อไป


This creative art project aims to study and examine the ideals and practices of animal husbandry among the rural population in the Kumphawapi District, Udon Thani Province. Its objective is to create artwork in a two-dimensional form, Idealistic format, characterized by idealistic forms and symbolic representations, conveying emotions through symbolic shapes, and reflecting the rural Isan way of life. The project involves studying and analyzing data from the environment of three areas in Kumphawapi District, along with gathering information from research documents, traditional Isan art forms, and works of artists. This includes collecting content, formats, and techniques used to create 12 pieces of artwork. It has been observed that the content of the artwork reflects the life of rural people, which is abundant and ever-evolving. It is a lifestyle filled with joyful work, deeply rooted in the rural Isan countryside, which is currently undergoing subtle changes with the passing of time. In terms of form, the artworks embody Idealism Art, with primary forms representing cattle and buffalo. Presented symbolically, the artworks are arranged to seamlessly blend circularity and movement to align with the conceptual framework. Regarding technique, experimentation with the properties and characteristics of acrylic medium has been conducted to create luminosity and dimensionality in the artworks. Additionally, the use of color interacts with oil-based mediums to create a natural surface in line with the conceptual framework by layering, scraping, and sketching to create a sense of motion, overlapping, linking various shapes and environments together. This artistic expression is akin to the feelings within a family, rich with abundance and contentment in the traditional rural Isan way of life. All of this aims to serve as knowledge and guidance for further development in creating artworks that revolve around local themes, contributing to contemporary art in the future.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Ativanichayapong, Napaporn. (2014). Livelihood of people in rural Isan: Changes over the past decade (คนชนบทอีสานกับการทำมาหากิน: ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย). Journal of Sociology and Anthropology, 33(2): 103-127.

Chetthasurat, Boontan. (2014). Textbook on the Creation of Visual Arts on the Way of Life and Local Isan Culture (ตำราการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์แนวเรื่องวิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นถิ่นอีสาน). Mahasarakham: Faculty of Fine and Applied Arts, Mahasarakham University.

Nimsamer, Chalood. (2016). Composition of Art (องค์ประกอบของศิลปะ) (10th ed.). Bangkok: Amarin.

Noiwangklung, Pitak. (1997). Local Arts (ศิลปกรรมท้องถิ่น). Mahasarakham: Department of Visual and Performing Arts, Faculty of Fine and Applied Arts Establishment Project Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University.

Paigapat, Yuttana. (2012). Isan Painting (Prehistoric to Contemporary) (จิตรกรรมอีสาน (ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคร่วมสมัย)). Mahasarakham: Faculty of Fine and Applied Arts, Mahasarakham University.

Thangchalok, Ithipol. (2007). Guidelines for Teaching and Creating Advanced Painting (แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Worathongchai, Thamnu. (2005). Nongbuakok Folk Museum (พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก). Buriram: Rewatprinting.