การสร้างสรรค์ศิลปะจัดวางแสงสะท้อนจิตวิญญาณอ้างว้างของหนุ่มสาวในเมืองที่พลุกพล่าน (The creation of light installation art reflecting the lonely souls of young people in bustling city)

Main Article Content

ซินดี ลี่ (Xingdi Li)
กรกฎ ใจรักษ์ (Korakot Jairak)

Abstract

บทความเรื่องนี้ได้บรรยายถึงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจัดวางแสงสะท้อนจิตวิญญาณอ้างว้างของหนุ่มสาวในเมืองที่พลุกพล่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสะท้อนภาพปัญหาความโดดเดี่ยวของคนหนุ่มสาว และเพื่อให้ผลงานเป็นพื้นที่สาธารณะในการพูดคุยถึงประเด็นปัญหาดังกล่าว ในขั้นแรกผู้เขียนได้ทำการศึกษาปรากฏการณ์ “การอยู่อย่างเดียวดายไปด้วยกัน (Alone Together)” และทำการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวกับคนหนุ่มสาวในประเทศจีน จำนวน 50 คน ซึ่งข้อสรุปจากการศึกษาและการสัมภาษณ์สอดคล้องกันว่าปัจจุบันกลุ่มคนรุ่นใหม่เลือกที่จะละทิ้งครอบครัวและบ้านที่เคยอาศัย เพื่อไล่ตามฝันที่สวยงาม จากสาระดังกล่าวผู้เขียนเกิดประเด็นที่จะสร้างผลงานศิลปะในรูปแบบของแสงที่มีรูปทรงเป็นกรงที่งดงาม แต่สร้างความรู้สึกโดดเดี่ยว แปลกแยก และอ้างว้าง ผลงานสำเร็จแสดงในรูปแบบนิทรรศการศิลปะที่นำผู้ชมเข้าสู่พื้นที่เสมือนจริงด้วยการจัดหลอดไฟแอลอีดีซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแสดงออกถึงการต่อสู้ดิ้นรนของคนหนุ่มสาวที่รู้สึกโดดเดี่ยวท่ามกลางความเร่งรีบและวุ่นวายของชีวิตในเมือง ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าชมผลงาน จำนวน 58 คน อันได้แก่ ด้านคุณภาพของผลงาน ด้านเนื้อหาการนำเสนอ และด้านคุณภาพของพื้นที่การจัดแสดงงาน พบว่าทั้ง 3 ด้านมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ผลงานที่จัดแสดงกระตุ้นผู้ชมให้ไตร่ตรองชีวิตของตนเอง และมีความรู้สึกเชื่อมโยงทางอารมณ์ร่วมกัน กล่าวได้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ประสบความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์และถือเป็นรูปแบบศิลปะที่ส่งเสริมความก้าวหน้าของศิลปะจัดวางแสงในอนาคต


This article describes the creation of a light installation artwork that reflects the loneness of young people in a bustling city. The objectives were to create an artwork that captures the isolation experienced by young people in urban environments and to provide a public space for discussing these issues. In the initial phase of the study, the author examined the concept of “Alone Together” through face-to-face interviews with 50 young people in China. The findings revealed a significant trend: many young individuals choose to leave their families and childhood homes in pursuit of their dreams. Inspired by these insights, the author envisioned an artwork—a beautifully crafted cage of light—that evokes feelings of isolation, alienation, and loneliness. The completed piece was exhibited as an LED light installation, immersing viewers in a virtual environment that symbolizes loneliness. By using light as a medium to express these struggles, the installation fostered a deeper understanding of this critical social issue among young people in urban settings. An audience satisfaction survey conducted with 58 participants, assessed three key aspects: artwork quality, content presentation, and exhibition space. The results showed the highest levels of satisfaction in all three areas. The exhibition encouraged viewers to reflect on their own lives and created a shared emotional connection among them. This artistic endeavor successfully achieved its objectives and contributes to the ongoing advancement of light installation art.


 

Downloads

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Arnheim, R. (1954). Art and visual perception: A psychology of the creative eye. University of California Press.

Cheng, Q. (2023). Alone together: A perspective on the phenomenon of “Lonely Social” among youth in the social media era and the logic of its formation (聚而不群:社交媒体时代青年“孤独社交”的现象透视与形成逻辑). Contemporary Youth Research, 6(5), 74–84. [in Chinese]

Singh, R. N. (1991). Loneliness: Dynamics, dimensions and many faces. International Review of Modern Sociology, 21(Spring), 109–120.

Turkle, S. (2012). Alone together: Why we expect more from technology and less from each other. Basic Books.

Wang, B. X. (2009). The flavor of art: Confronting the culture of images (艺术的味道: 面对图像文化). Baijia Publishing House. [in Chinese]