จินตภาพจากจิตรกรรมวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ สู่การสร้างสรรค์สื่อแอนิเมชัน 3 มิติ (Imaginary from the mural paintings in Lai Kam Sanctuary at Phra Singh Temple towards the creation of 3D animation)
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา เรื่องราวและแนวคิด รูปแบบ เทคนิค องค์ประกอบ และอัตลักษณ์งานจิตรกรรมล้านนา เฉพาะภาพเรื่องสังข์ทอง 2) เพื่อสร้างสรรค์สื่อแอนิเมชัน 3 มิติ โดยสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มาเป็นแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย บทความนี้เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะที่ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานแอนิเมชัน 3 มิติ งานศิลปะสื่อผสม งานวิจัยและผลงานของศิลปินที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกงานจิตรกรรมฝั่งภาพเรื่องสังข์ทองมาเป็นกรอบการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่และนักวิชาการ จำนวน 4 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบมีโครงสร้างและเจาะจงรายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสังเกตการณ์ การจดบันทึก การบันทึกภาพการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตลักษณ์งานจิตรกรรมวิหารลายคำ ฝั่งภาพเรื่องสังข์ทอง เกิดจากการผสมผสานรูปแบบจากสยาม พม่า จีน และความเป็นพื้นบ้านของเชียงใหม่ สร้างสรรค์ด้วยจินตนาการ ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น และ 2) การจัดนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ แอนิเมชัน 3 มิติ ได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และต่อยอดองค์ความรู้เดิม เชื่อมโยงกับบริบทการรับรู้สื่อของผู้ชมยุคปัจจุบัน โดยใช้เทคโนโลยีสื่อใหม่ เพื่อให้ผู้ชมได้รับรู้ถึงอัตลักษณ์ สุนทรียะของงานจิตรกรรมล้านนา องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจงานด้านจิตรกรรมล้านนา และการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสื่อผสมด้วยเทคนิคงานแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อใช้เป็นแรงบันดาลใจ ในการพัฒนาต่อยอด เผยแพร่อัตลักษณ์ของงานจิตรกรรมล้านนา ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
This research aims to: 1) study the context of the murals in the Lai Kam Sanctuary at Phra Singh Temple, focusing on their history, narratives, concepts, styles, techniques, compositions, and the unique identity of Lanna murals, with a particular emphasis on the story of Sang Thong (Golden Conch); and 2) create a 3D animation inspired by the knowledge obtained from studying these murals, to develop contemporary art. This is an art-based creative research project. The researcher examined concepts related to 3D animation, mixed media art, relevant research, and artists’ works, using the murals depicting the story of Sang Thong as the research framework. Key informants included four local experts and academics, selected through structured and purposive sampling. Research methods included observation, note-taking, photography, and interviews, with data analyzed using descriptive writing. The findings are: 1) The identity of the murals in the Lai Kam Sanctuary, depicting the story of Sang Thong, results from the fusion of Siamese, Burmese, Chinese, and local Chiang Mai styles, creating a distinctive and imaginative characteristic; and 2) The creative art exhibition featuring 3D animation promotes learning and builds upon existing knowledge, connecting with contemporary media perception. By using new media technology, it allows viewers to appreciate the identity and aesthetics of Lanna murals. The knowledge gained from this research will benefit those interested in Lanna mural art and the creation of mixed media artworks using 3D animation techniques. It will serve as an inspiration for further development and dissemination of Lanna mural art to a wider audience.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bunmee, Teerayut. (2008). Saussur’s Semiotics Revolution towards the Postmodernist Path (การปฏิวัติสัญศาสตร์ของโซซูร์ เส้นทางสู่โพสต์โมเดอร์นิสม์). Bangkok: Wipasa.
Keo, M. (2017). Graphical Style in Video Games. Bachelor’s dissertation, Häme University of Applied Sciences (HAMK), Hämeenlinna, Finland.
Konthong, Kasem. (2006). Mixed Media Art (ศิลปะสื่อประสม). Bangkok: Silpa Bannakhan.
Mueangkhwa, Jaruwan. (2021). Teaching Materials Mixed Media Art Course (เอกสารประกอบการสอนรายวิชาศิลปะสื่อประสม) [Unpublished manuscript]. Painting, Faculty of Fine and Applied Arts, Suan Sunandha Rajabhat University.
TeamLab. (2024). Universe of Fire Particles Dissolving. [Online]. Retrieved April 16, 2024 from https://www.teamlab.art/th/ew/dissolvingflames-azabudai/tokyo/?autoplay=true
Yang, S. (2023). The Iconic ‘Qingming Festival’ Painting Comes Alive in Chongqing. [Online]. Retrieved June 5, 2024 from https://www.ichongqing.info/2023/08/01/the-iconic-qingming-festival-painting-comes-alive-in-chongqing/
Yothavuth, Kritsana. (2008). Study of Architectural Styles on Murals at Phra Singh Temple Compared to Buak Krok Luang Temple, Chiang Mai (การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมบนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหารเปรียบเทียบกับวัดบวกครกหลวง อ. เมือง จ. เชียงใหม่). Chiang Mai: Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University.