Th-AI: สร้างสรรค์ลายรดน้ำด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Th-AI: Generation of Thai lacquerwork patterns using AI techniques)
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยนี้นำเสนอกระบวนการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ลวดลายรดน้ำของไทยที่ถือว่าเป็นวิสุทธิศิลป์ และเป็นภูมิปัญญาของครูช่างไทย โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการใช้ประโยชน์จากความสามารถของ AI ในการสร้างลวดลายรดน้ำที่สลับซับซ้อน และทดลองนำมาประยุกต์กับศิลปะแบบอื่น ๆ ให้มีลักษณะร่วมสมัย ผ่านการใช้ Stable Diffusion ซึ่งเป็นแบบจำลอง (model) ทางด้านการสร้างภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ จากผลการทดลองผู้วิจัยสามารถสร้างลายรดน้ำที่ผสมผสานกับตัวละคร (character) ทำให้ได้ผลงานที่มีลักษณะเป็นศิลปะไทยร่วมสมัย ซึ่งได้รับการประเมินความพึงพอใจและการสัมภาษณ์เชิงลึกในมุมมองของความถูกต้องตามหลักการแบบดั้งเดิมในการสร้างสรรค์ลายรดน้ำ กับความคาดหวังในเทคโนโลยี AI ที่จะนำมาใช้ในการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดศิลปะไทยจากกลุ่มเป้าหมายซึ่งได้รับความพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความถูกต้องของลายในระดับปานกลาง และความคาดหวังในเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่าถึงแม้เทคโนโลยีปัจจุบันจะยังไม่สามารถสร้างสรรค์ลายรดน้ำได้อย่างถูกต้องตามหลักการที่ครูช่างศิลปะไทยได้วางหลักการเอาไว้ แต่ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากงานวิจัยครั้งนี้ก็สามารถทำให้เห็นถึงมุมมองทัศนคติของศิลปิน นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะไทยในการที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานของตนให้เกิดการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดในวงกว้างและเข้าถึงทุกกลุ่มสืบไป
This research explores the application of advanced artificial intelligence (AI) in revitalizing the sacred art of Thai lacquerwork patterns, a symbol of Thailand’s cultural heritage and artisanal wisdom. The main objective is to utilize AI’s capabilities to generate complex lacquer patterns and experiment with their adaptation into other forms of art to achieve a contemporary style. This is done through the use of Stable Diffusion, an AI-based image generation model. From the experiments, the researchers were able to create lacquer patterns that integrate characters, resulting in artworks that exhibit a contemporary Thai art style. These were assessed for satisfaction and through in-depth interviews, exploring the accuracy of the patterns in relation to traditional principles of lacquer pattern creation, as well as expectations for AI technology in preserving, continuing, and developing Thai art. The target group showed moderate satisfaction with the overall outcome, moderate accuracy of the patterns, and high expectations for the technology. This indicates that while current technology cannot fully replicate the traditional principles established by Thai artisans, the creative work produced through this research demonstrates the perspective and attitude of artists and scholars in the Thai art field toward using technology to create, preserve, and widely disseminate their work, ensuring its continuation and expansion to reach a broad audience.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.