การออกแบบลวดลายและบรรจุภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มศรีนาคาโมเดล ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง (Designing patterns and packaging for naturally dyed fabrics, Srinaka Model Group, Ban Na Subdistrict, Srinagarindra District, Phatthalung Province)

Main Article Content

อัฏฐพล เทพยา (Auttaphon Theppaya)
สมัคร แก้วสุกแสง (Samak Kaewsuksaeng)
ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร (Thipthiwa Sampanthamit)
นินนาท์ จันทร์สูรย์ (Ninna Jansoon)
ศรชัย อินทะไชย (Sonchai Intachai)
อานุช คีรีรัฐนิคม (Anut Kiriratnikom)

Abstract

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการลวดลายผ้าย้อมสีธรรมชาติและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มศรีนาคาโมเดล ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง 2) ออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าย้อมสีธรรมชาติและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มศรีนาคาโมเดล ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อลวดลายผ้าย้อมสีธรรมชาติและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มศรีนาคาโมเดล ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการจัดสนทนากลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มศรีนาคาโมเดลต้องการให้ออกแบบลวดลายผ้าและบรรจุภัณฑ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยสามารถออกแบบลวดลายผ้าได้ 3 ลาย ได้แก่ 1) ลายดอกขมิ้นศรีนาคา 2) ลายดอกไม้ป่าเขาคราม และ 3) ลายผลไม้เขาคราม ส่วนบรรจุภัณฑ์ออกแบบได้ 2 รูปแบบ คือ แบบกล่องและแบบถุง โดยใช้วัสดุกระดาษ ลวดลายบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมี 3 ลาย ได้แก่ 1) ลายธรรมชาติพันธุ์ไม้เขาคราม 2) ลายสีของธรรมชาติ และ 3) ลายดอกไม้เขาคราม ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อลวดลายผ้าย้อมสีธรรมชาติและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การวิจัยครั้งนี้จึงเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าย้อมสีธรรมชาติและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มศรีนาคาโมเดล ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า รวมถึงการต่อยอดไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ ตลอดถึงการสร้างความเข้มแข็งและการตระหนักรู้ของคนในชุมชน หน่วยงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้เล็งเห็นถึงอัตลักษณ์และคุณค่าของทรัพยากรท้องถิ่น


The objectives of this study were: 1) to study the problems and needs related to naturally dyed fabric patterns and packaging for naturally dyed fabric products from Srinaka Model Group, Ban Na Subdistrict, Srinagarindra District, Phatthalung Province; 2) to design and develop these patterns and packaging; and 3) to assess the satisfaction of the target group with the designs. The study used a mixed research approach, including qualitative methods (interviews and focus groups) and quantitative methods (satisfaction questionnaires). The research results showed that the group wanted designs reflecting local identity. In this study, the researchers designed three fabric patterns: 1) Srinaka turmeric flower, 2) Khao Khram wildflower, and 3) Khao Khram fruit. Two packaging formats were also created: a box and a bag, both made from paper. The three packaging patterns were: 1) Khao Khram natural plant, 2) natural color, and 3) Khao Khram flower. The target group expressed the highest level of satisfaction with the designs. This research provides guidelines for designing and developing naturally dyed fabric patterns and packaging for products from Srinaka Model Group, enhancing the value to the products. It also supports commercial development and strengthens community awareness, enabling stakeholders to recognize the identity and value of local resources.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Banlengloi, Waraporn, Suungthuk, Kanyanat, & Ladnongkhun, Pornpiriya. (2022). Clothing design from printed fabric with plants (การออกแบบเสื้อผ้าจากผ้าพิมพ์ลวดลายด้วยพืชพรรณไม้). Journal of Home Economics Technology and Innovation, 1(1): 32-42.

Dowcharoenporn, Nion, Imsri, Piya, & Duangsuda, Rungtiwa. (2022). Thai flower design on lady bag by silkscreen printing techniques (การออกแบบลวดลายงานดอกไม้แบบไทยบนกระเป๋าสตรีจากผ้าด้วยเทคนิคการพิมพ์ซิลค์สกรีน). RMUTP Research Journal Humanities and Social Sciences, 6(2): 21-32.

Dowcharoenporn, Nion, & Rumpungjit, Rungrutai. (2023). The brand and package designing for product promotion of Khao Kaeo Sri Somboon Sub-district cluster for sewing and craft community enterprise in Thung Saliam district of Sukhothai province (การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย). Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(4): 174-191.

Khianprasoet, Satabodin. (2023). Creative invention of ceramic ornaments for female Norah dancer (การสร้างสรรค์เครื่องประดับจากเซรามิกสำหรับโนราตัวนาง). Silpakorn University Journal, 43(4): 38-51.

Promputtha, Wipawadee, & Chaturongakul, Kham. (2022). The brand identity design project inspired by Loei flower using cotton products of Ban Kok Bok community, Wang Sa Phung district, Loei province (โครงการออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย โดยได้แรงบันดาลใจจากดอกไม้เมืองเลย กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายชุมชนบ้านกกบก อ. วังสะพุง จ. เลย). In Proceedings of the 23rd National Graduate Research Conference (Online), (pp. 326-344). Khon Kaen: Graduate School, Khon Kaen University.

Sornnoey, Keeratiya. (2023). The art of weaving flower-patterned silk cloth into creative women’s clothing (ศิลปะผ้าทอลายดอกปีบสู่การสร้างสรรค์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสตรี). Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts), 43(5): 33-43.

Theppaya, Auttaphon, & Pangkesorn, Anucha. (2023). Community innovation: Creation and development of a peaceful community model (นวัตกรรมชุมชน : การสร้างสรรค์และการพัฒนาชุมชนสันติสุขต้นแบบ). Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia, 29(3): 91-100.

Udom, Tinna. (2023). Batik Pattern Identity with Natural Indigo Colors to the Design of Souvenir Products, Songkhla Province (อัตลักษณ์ลวดลายผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จังหวัดสงขลา). Doctoral dissertation, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Bangkok, Thailand.