ต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ในภาคตะวันออกของประเทศไทย

Main Article Content

พัทธ์ยมล สื่อสวัสดิ์วณิชย์

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย1) เพื่อศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎี 7-S ทรัพยากรธรรมชาติ บริหารธุรกิจ การมีส่วนร่วม และเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรภาคตะวันออกของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คือ สวนสุภัทราแลนด์,ไม้เค็ดโฮมสเตย์ และศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาภายใต้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรภาคตะวันออกของประเทศไทย 3) เพื่อทราบถึงแนวนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาคตะวันออกของประเทศไทย และ 4) เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาคตะวันออกของประเทศไทย และเพื่อเสนอต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพในภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการทั้ง 3 แห่ง และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด, ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เกษตรจังหวัด, พัฒนาการจังหวัด, ตัวแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสาขากรุงเทพฯ, ระยอง และนครนายก, ตัวแทนท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดระยอง, ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรีและการสนทนากลุ่มใน 3 จังหวัด รวม 9 ครั้ง

ผลการศึกษาด้านการบริหารจัดการตามกรอบแนวคิด McKinsey 7-S Framework เพื่อนำไปเป็นต้นแบบพบว่า สวนสุภัทราแลนต์ และไม้เค็ดโฮมสเตย์ มีโครงสร้างองค์กรแบบทางการและไม่เป็นทางการ บริหารแบบครอบครัว ไม่ซับซ้อน และเป็นแบบราชการนอกจากนี้มีการรวมกลุ่มดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น การบริหารยึดหลักการลดต้นทุนการผลิต เช่น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์, ระบบน้ำหยด, เกษตรอินทรีย์ และเกษตรพอเพียง เน้นความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ด้านส่วนประสมการตลาด 7P’s ทั้ง 3 แห่ง เน้นผลผลิตทางการเกษตร และการให้ความรู้ควบคู่กับการท่องเที่ยว เน้นคุณภาพสินค้า ราคาค่าบริการเหมาะสม ไม้เค็ดโฮมสเตย์และศูนย์การศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อนไม่มีค่าเข้าชมสถานที่ มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าเฉพาะกลุ่ม และงานประจำปีประจำจังหวัด ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์, แผ่นพับ, ป้าย และทุกแห่งมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ เดินทางสะดวก ปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว

นโยบายและแผนงานภาครัฐ ยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจนด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีเพียงโครงการส่งเสริมการเกษตรและผลผลิตทางการเกษตรทั่วไป เช่น จัดงานวันผลไม้และของดีเมืองระยอง

ต้นแบบการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ควรเป็นองค์กรขนาดเล็ก ใช้บุคลากรน้อย ลดต้นทุนการผลิต มีกิจกรรมการท่องเที่ยวหลากหลาย และเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โบราณสถานแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ใช้กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์แบบบูรณาการและเชิงรุก การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ให้ความสำคัญคุณภาพสินค้า เน้นเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และหน่วยงานภาครัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจน สนับสนุนด้านความรู้ด้านการตลาดและการจัดการ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแก่เกษตรกร

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ