ประติมานวิทยาและคติความเชื่อเรื่องพระอิศวรในสมัยอยุธยา

Main Article Content

ธีระนันท์ วิชัยดิษฐ

Abstract

บทความนี้นำเสนอประติมานวิทยาและคติความเชื่อเรื่องพระอิศวรในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นคติความเชื่อทางศาสนาหนึ่งที่สำคัญในสมัยอยุธยา โดยรูปแบบของคติความเชื่อที่ปรากฏนั้น อยู่ในรูปของหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ วรรณกรรม ประติมากรรม และพระนามของพระมหากษัตริย์ ซึ่งจากหลักฐานประเภทวรรณกรรม ได้แสดงให้เห็นว่าฐานะของพระอิศวรสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ ฐานะของพระอิศวรที่ทรงเป็นหนึ่งในพระตรีมูรติ ที่ประกอบด้วยพระพรหม พระวิษณุ และพระอิศวร ส่วนอีกฐานะหนึ่งคือทรงเป็นเทพสูงสุดที่สรรค์สร้างทุกสรรพสิ่งตามความเชื่อในไศวนิกาย ในส่วนของเทวรูป พบว่าการสร้างเทวรูปพระอิศวรมักสร้างเป็นรูปบุคคล ไม่นิยมสร้างเป็นศิวลึงค์เช่นเดียวกับประติมากรรมพระอิศวรในสมัยสุโขทัย และพระนามของพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏพระนามของพระอิศวร แสดงให้เห็นว่าพระอิศวรเป็นเทพในศาสนาฮินดูองค์หนึ่งที่รวมกับเทพอื่นๆสร้างพระมหากษัตริย์ให้ทรงมีฐานะเทียบเท่ากับพระพุทธเจ้า

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ