การพัฒนาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “เมืองโอ่ง ดินสุกและตุ๊กตา” เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเชื่อมโยงสินค้าOTOP กับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา
สมบูรณ์ ยืนยงสุวรรณ
สมชาย ลักขณานุรักษ์

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ และความต้องการในการจัดการเชิงกลยุทธ์เมืองสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) ศึกษารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน  3) ทดลองรูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน 4) ศึกษาแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียนของวิสาหกิจเมืองโอ่ง ดินสุกและตุ๊กตา ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินและปรับปรุง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม  แนวทางการสัมภาษณ์ระดับลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัย พบว่า (1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก และการวิเคราะห์ SWOT Analysis การจัดทำกลยุทธ์โดยใช้ TOWS Matrix  ของจังหวัดราชบุรีมีศักยภาพและความพร้อมในพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ ส่วนระดับของกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับน้อย การรับรู้ผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการในการพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์ (2) การพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้รูปแบบมีชื่อเรียกว่า “CREATION Model” มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) C = creation (การสร้างสรรค์งาน) 2) R = resource (การมีทรัพยากรที่พร้อมใช้) 3) E = efficacy (ความสามารถที่ทำให้เกิดผล) 4) A = appropriate technology (การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม) 5) T = the determination  target groupof purchaser (การกำหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้ซื้อ)  6) I = identification (การมีอัตลักษณ์เฉพาะ) 7) O = organization (การจัดองค์กร) และ 8) N = networking (การมีเครือข่าย) (3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนการและหลังการอบรมเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การจัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์จังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2557–2560  การปฏิบัติที่เป็นเลิศของเมืองสร้างสรรค์ และ 4) แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันทางการค้า ได้แก่  การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของภาคี การพัฒนาคนรุ่นใหม่ การพัฒนาออกแบบสร้างสรรค์งาน การพัฒนากระบวนการผลิต การตอบสนองความต้องการของลูกค้า  การสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า การรวมกลุ่มเครือข่าย การพัฒนาฝีมือแรงงาน  การส่งเสริมการผลิต การประชาสัมพันธ์และการตลาด รวมถึงการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ
Author Biographies

นรินทร์ สังข์รักษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

สมบูรณ์ ยืนยงสุวรรณ

นักวิชาการอิสระ

สมชาย ลักขณานุรักษ์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม