ความสัมพันธ์ระหว่างความมีคุณค่าในตนเองกับการควบคุมตนเองในการเรียนของนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (The Relations between Self-Esteem and Self-Regulated in Learning of the Health Science Students at Huachiew Chalermprakiet University)

Main Article Content

อัญชลี ชุ่มบัวทอง Anchalee Choombuathong
พิชญา ทองอยู่เย็น Pichaya Dhongyooyen
ณัฏฐ์พัชร์ วณิชย์กุล Nattapat Vanitkun
ชัยยา น้อยนารถ Chaiya Noinart
ศักดิ์ชัย จันทะแสง Sakchai Jantasang
พูลพงศ์ สุขสว่าง Poonpong Suksawang

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความมีคุณค่าในตนเองกับการควบคุมตนเองในการเรียน และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความมีคุณค่าในตนเองกับการควบคุมตนเองในการเรียนของนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 2 ตัว ได้แก่ ความมีคุณค่าในตนเอง และการควบคุมตนเองในการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 435 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง
ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรความมีคุณค่าในตนเองกับการควบคุมตนเองในการเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยการตรวจสอบจากค่าสถิติไคร์สแควร์ เท่ากับ 31.045 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 37 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .744 ค่า GFI เท่ากับ .989 ค่า AGFI เท่ากับ .974 ค่า CFI เท่ากับ 1.000 ค่า SRMR เท่ากับ .021 ค่า RMSEA เท่ากับ .000 ค่าสัมประสิทธิ์
การพยากรณ์เท่ากับ .421 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการควบคุมตนเองในการเรียนของนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ร้อยละ 42

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ
Author Biographies

อัญชลี ชุ่มบัวทอง Anchalee Choombuathong, าคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Faculty of Science and Technology, Huachiew Chalermprakiet University)

อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พิชญา ทองอยู่เย็น Pichaya Dhongyooyen, สำนักงานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี (Office of Research, Sripatum University Chonburi Campus)

สำนักงานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

ณัฏฐ์พัชร์ วณิชย์กุล Nattapat Vanitkun, คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (Faculty of Liberal Arts and Sciences, Sisaket Rajabhat University)

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ชัยยา น้อยนารถ Chaiya Noinart, คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง (Prince of Songkla University, Trang Campus)

คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ศักดิ์ชัย จันทะแสง Sakchai Jantasang, สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (Office of Quality Assurance, Rajamangala University of Technology Krungthep)

สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

พูลพงศ์ สุขสว่าง Poonpong Suksawang, วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา (College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University)

วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

References

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thoughand Action: A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Boonchang, V. (2003). Investigation of the Construct Validity of Self-Regulation Process Tests in Mathematics According to Social Cognitive Theory of Bandura (การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดกระบวนการในการกำกับตนเองในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของบันดูรา). Master’s thesis,Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand

Branden, N. (1981). The Psychology of Self-Esteem (15th ed.). New York:Bantam Books Inc.

Calhoum, G. J. and Morse W. C.(1977). Self Concept and Self-Esteem: Another Perspective. Psychology in the School, 14: 318-322.