การวิเคราะห์บริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาในกลุ่ม 5 เชียง (An Analysis of the Contexts and the Permutationsof the Lanna Language in the “5 Chiang”)
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาใน 5 เชียง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และการแพร่กระจายของอักษรล้านนาในกลุ่ม 5 เชียง ศึกษาอักษรหรือภาษาล้านนาที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่ม 5 เชียง และวิเคราะห์บริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาในกลุ่ม 5 เชียง ใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาล้านนามีจำนวน 15 คน และกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ยังใช้ภาษาล้านนาในการเขียนและพูดในปัจจุบันมีจำนวน 15 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 30 รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการลงพื้นที่จริง การสังเกต บันทึกเสียง สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้ภาษาล้านนาและแบบสอบถาม
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความเรียงและจัดกลุ่ม แล้วนำมาสรุปและรายงานผล ตามกรอบวัตถุประสงค์การวิจัย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
การแพร่กระจายของของภาษาล้านนามีสาเหตุแห่งการแพร่กระจายไปสู่ดินแดนที่เป็นบริวารในปกครองใน 2 ลักษณะ คือ การอพยพผู้คนในช่วงการทำศึกสงคราม และอิทธิพลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สำหรับความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่ม 5 เชียงนั้นมีพระพุทธศาสนาเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์
ทางสังคมและวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาล้านนาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสื่อ
ในการสร้างความสัมพันธ์กันอย่างเด่นชัดใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ความสัมพันธ์ทางด้านค่านิยมที่มีต่อสังคม วิถีชีวิต (2) ความสัมพันธ์ทางด้านวิถีปฏิบัติ ความเชื่อ วัฒนธรรม จารีต และประเพณี และ (3) ความสัมพันธ์ทางด้านศิลปะ และสถาปัตยกรรม ส่วนบริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาในกลุ่ม 5 เชียง ยังมีการใช้ภาษาล้านนา
ในชุมชนที่เหมือนกัน ด้านบริบทและสภาพการเปลี่ยนแปลงของภาษาล้านนาในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะสูญหายถ้าไม่ช่วยกันฟื้นฟูอนุรักษ์และสืบสาน แนวทางในการจะฟื้นฟู อนุรักษ์และสืบสานในประเทศไทย มี 3 ประเด็น คือ การฟื้นฟูการเรียนการสอนในวัด ในสถานศึกษาทุกแห่งของภาคเหนือ การสร้างเครือข่ายการส่งเสริมสนับสนุนกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
Article Details
References
Phayomyong, M. (1984). Thai Lanna Culture. (วัฒนธรรมล้านนาไทย). Bangkok :Bangkok Office of the National Culture Commision.
Wimonkhasem, S. (2003). The Management of Teaching-Learning for Corseting and Handing Down the Local Wisdom of the Lanna Language of Nan Province (การจัดการเรียนการสอนเพื่ออนุรักษาและสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นภาษาล้านนาของจังหวัดน่าน). Chiang Mai: Chiang Mai University
Wittayasakphan, S. (n.d.) A new Parading in the Language Study and Local Literaure (กระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น). Chiang Mai: Faculty of Humanities and Social Sciences Chiang Mai University
Saenpron, T. (2010). Research Report on the Exchange of Ancient Lanna Document for a Study in Thailand Literature Course; (รายงานการวิจัยปริวรรตเอกสารโบราณล้านนาเพื่อการศึกษาเรียนรู้รายวิชาวรรณกรรมไทยท้องถิ่น). Research report, Faculty of Humanities and Social Sciences Chiang Mai University, Chiang Mai: Chiang Mai Univers
Rungreangsri, U. (2003). Lanna Literature. (วรรณกรรมล้านนา) (5th ed). Bangkok: The Thailand Research Fund.