กระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการจัดการป่าชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี (Multi-party Participatory Process for Sustainable Environmental Management: A Case Study of Ban Pu-Tei Community Forest Management, Kanchanaburi Province)

Main Article Content

อภิชาติ ใจอารีย์ Apichart Jai-aree

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหารูปแบบการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จ กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนในการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม (2) การประเมินสถานภาพระบบนิเวศป่าชุมชน และศึกษาลักษณะการพึ่งพิงด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจากป่าชุมชน และ (3) การศึกษาผลของการขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ศึกษา คือ ชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมในการศึกษาประกอบด้วย ภาคีภายในชุมชน ได้แก่ สมาชิกชุมชน จำนวน 180 คน และภาคีภายนอกชุมชน ได้แก่ ตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม จำนวน 45 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ อีกทั้งมีการสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านเวทีชุมชน


ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนบ้านพุเตยมีศักยภาพในการจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วมใน 6 ด้าน คือ (1) ด้านความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องถิ่น (2) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีชุมชน (4) ด้านการรวมกลุ่ม (5) ด้านความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และ (6) ด้านศักยภาพของผู้นำ ป่าชุมชนบ้านพุเตย
มีความหลากหลายของพรรณไม้สูง การกระจายของพรรณไม้อยู่ในสภาวะที่ค่อนข้าง
มีเสถียรภาพ ชุมชนมีการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนทุกครัวเรือนอย่างหลากหลาย
โดยใช้พืชสมุนไพรมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์ทางอ้อมที่เชื่อมโยงไปสู่วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนอย่างชัดเจน การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานการจัดการป่าชุมชน ทำให้คนในชุมชนทุกระดับมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ป่าชุมชนมากขึ้น เนื่องจากเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ชาวบ้านค้นหาปัญหาจากการจัดการป่าชุมชน นำไปสู่การวางแผน และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เป็นการจัดการป่าชุมชนที่เหมาะสมซึ่งผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิธีการใหม่จากการหนุนเสริมของภาคีการพัฒนา เกิดการสืบสานงานสู่เยาวชน นอกจากนี้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมยังได้ช่วยสร้างนักวิจัยชุมชน


จากการถอดประสบการณ์ร่วมกับชุมชน ทำให้ได้ตัวอย่างรูปแบบการ
มีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ (1) การพัฒนาศักยภาพคนและชุมชน (2) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของศักยภาพชุมชน และ (3) การพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยชุมชนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนงาน ด้วยศักยภาพและความพร้อมของชุมชน สำหรับผู้มีส่วนร่วมภายนอกชุมชน มีบทบาทหลักในการสนับสนุนเชิงวิชาการ งบประมาณ และนโยบาย ภายใต้หลักการทำงาน คือ
การเคารพคนและชุมชน และ ชุมชนเป็นเจ้าของป่า ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จ และความยั่งยืน ได้แก่ ศักยภาพและบทบาทผู้นำ ความเข้มแข็งของชุมชน คุณลักษณะสมาชิกชุมชน การสนับสนุน และการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก รูปแบบที่ค้นพบจากกรณีศึกษาบ้านพุเตยสามารถนำไปปรับใช้ในชุมชนภูมิภาคตะวันตกที่มีบริบทใกล้เคียงกัน และเป็นชุมชนที่อยู่ในแหล่งการพัฒนาซึ่งจะได้รับผลกระทบจากภายนอกได้เร็ว ทั้งนี้การปรับใช้ควรคำนึงถึงปัจจัยเอื้อดังกล่าวแล้ว

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ
Author Biography

อภิชาติ ใจอารีย์ Apichart Jai-aree, คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (Faculty of Education and Development Sciences, Kasetsart University, Kampeangsean Campus)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

References

Bureekul, T. (2009). The Dynamics of People Participation: From the Past to the Constitution of the Kingdom of Thailand 2007 (พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550). Nonthaburi: Office of Research and Development, King Prajadhipok’sInstitute.

Chupan, T. (2007). The Diversity of Plants and Ethnobotany of Kok Rai Forest in Chiang Yuen

District, Maha Sarakham Province (ความหลากชนิดของพรรณพืชและพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของป่าโคกไร่ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมาหาสารคาม). Science and Technology Journal, Maha Sarakham University, 26(2): 150-154.

Department of Environmental Quality Promotion. (1999). The Promotion and Maintenance of the Environmental Quality of Thailand (การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย). Bangkok: Ministry of Science Technology and Environment.

Department of Local Administration. (2007). Standards of Community Forest Development (มาตรฐานการพัฒนาป่าชุมชน). Bangkok: Department of Local Administration Ministry of Interior.

Ing-Pattanakul, W. (2005).Conservation of the Environment and Cultural Heritage (การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรม). NakhonPathom: Silpakorn University, Sanamchan Campus.

Inkapatanakul, W. (1999). Integrated Sustainable Development and National Park Management in Thailand. Ph.D. Thesis, University of Leeds,Leeds, United Kingdom.

Jankaew, K. (2001). Environmental Science (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม). Bangkok: Kasetsart University Press.

Jankaew, K. (2002). Integrated Environmental Management (การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน). Bangkok: Kasetsart University Press.

Jarusombat, S. (2004).The Complete Report of The Basic Information Gathering Project on Freedom and Responsibility of the People of Thailand (รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่อง เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนชาวไทย). Bangkok: King Prajadhipok’sInstitute.

Kaew-Hawong, T. (2001). The Process of Building Stronger Communities, Civil Society, International Community (กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง). Khon Kaen: Klungnana Vittaya Press.

Kaewtep, K. (2009). Features and Methodology of Research for Locals (คุณลักษณะและวิธีวิทยาของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น). Bangkok: The ThailandResearch Fund.

Karnjanapan, A. (2001). Dynamic Thinking Method in Community Research: The Dynamics and Potential of the Community in Development (วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน: พลวัตและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา). Bangkok: The Thailand Research Fund.

Karnjanapan, A. (2006). Dimensional Approach with Local Community Rights, Power and Resource Management (มิติชุมชน วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิอำนาจและการจัดการทรัพยากร). Bangkok: The Thailand Research Fund.

Mikkelsen, B. (1995). Methods for Development Work and Research: A Guide for Practitioners. London: SAGE Publications.

Office of Environment and Natural Resources, Kanchanaburi Province. (2008). Action Plan of Environment and Natural Resources Management for Kanchanaburi Province 2009-2011 (แผนปฏิบัติการเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัด กาญจนบุรี พ.ศ. 2552-2554). Kanchanaburi: Office of Environment and Natural Resources, Kanchanaburi Province.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2006). The 10th National Economic and Social Development Plan (2007-2011) (แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)). Bangkok: Prime Minister’s Office.

Panthulee, S. (2010). The Development of Community Master Plan Using the Knowledge Management Process to Strengthen Huay Mai Community (การพัฒนาแผนแม่บทชุมชนโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนห้วยหม้าย). Journal of Spatial Development, 3(1): 47-56.

Paurk-nang, J.(2005). Ethnobotany of the Local Living in the Forest Areas of Chong Kab Samakkee Village, Tha Sao Sub-district, Sai Yok District, Kanchanaburi Province (พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของราษฎรท้องถิ่นที่ป่าบ้านช่องแคบสามัคคี ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี). Master’s Dissertation, Forest Resource Administration, KasetsartUniversity, Bangkok, Thailand.

Pattaratam, A. (2007). The Forestry Issues in Thailand (ปัญหาป่าไม้ในประเทศไทย).Department of Forest Management Journal, 1(2): 86-100.

Pitaktansakul, P. (2007). Tracking Changes in Swamp Forest Ecosystem of Ban Phu Toei Community, Sai Yok District, Kanchanaburi Province, under the Partnership and Management of the Community (การติดตามการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าพุในป่าชุมชนบ้านพุเตย อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ภายใต้ความร่วมมือและการจัดการของชุมชน). Kanchanaburi: Office of the National Research Council of Thailand.

Praputnitisan, S. (2003). Participatory Action Research: Concepts and Practices (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: แนวคิดและแนวปฏิบัติ). Chiang Mai: Academic Projects for Children and Community, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University.

Prayutto, P. (2008).Sustainable Development (การพัฒนาที่ยั่งยืน). Bangkok:Komon Keemtong Foundation.

Punyanuwat, A. (2005). Participatory Action Research: Learning with the Community (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน). Chiang Mai: Rajabhat University Research Network, Office of the Higher Education Commission, Ministry of Education.

Rapeepat, A. (2004). People Participation in Developmental Work (การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา). Bangkok: Health Policy Education Center.

Raungpanid, N. (2003). Conservation of Natural Resources and Environment (การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) (2nd ed.). Bangkok: Kasetsart University Press.

Ronnarong, P., Local Wisdom Elite of Ramon Magsaysay Award in Community Leadership. Interview, December 5, 2007

Sattayawattana, C., Wichiankeaw, A., Sethakul, R., Nootong, U., Tianpunya, P., and Chaiyasin, D. (1999). Research Project on Local Community Rights - From Tradition to Present-day Situation: A Study of Local

Community Rights Policy Formulation in Thailand (โครงการวิจัยสิทธิชุมชนท้องถิ่น จากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน : การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางนโยบายสิทธิชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย). Bangkok:The Thailand Research Fund.

Sed-boobpha, K. and Sookchalerm, D. (2009). Ethnobotany of Black Lahu in Huay Pla Lod Village, Dan Mae La Moe Sub-district, Mae Sod District, Mae Hong Son Province (พฤษศาสตร์พื้นบ้านของชาวมูเซอดำ บ้านห้วยปลาหลด ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดแม่ฮ่องสอน). Journal of Forestry, 28(1): 29-39.

Sukhawong, S. (1996). The Summary Report of the 2nd Workshop on Ethnobotany and Sustainable Use of Plant Resources (รายงานสรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและการใช้ทรัพยากรพรรณพืชอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2). Bangkok: A RegionalCommunity Forestry Training Center for Asia Pacific, Kasetsart University.

Sukhawong, S. (2007). Community Forest Management for People and Wildlife (การจัดการป่าชุมชนเพื่อคนและเพื่อป่า). Bangkok: Taweepat Printing.

Suntasombat, Y. (1999). Biodiversity and Local Knowledge for Sustainable Development (ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน).Chiang Mai: Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University

Sunyawiwat, S. (2007). Sociological Theories: The Content and the Initial Application (ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น) (12th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University

Suwan, M. (2006). Environmental Management: Principles and Concepts (การจัดการสิ่งแวดล้อม : หลักการและแนวคิด). Bangkok: Odeon Store.

Traimongkonkul, P., and Chattraporn, S. (2012). Research Design (การออกแบบการวิจัย) (7th ed.). Bangkok: Kasetsart University Press.

Thaipakdee, S, and Pornpratansombat, P. (2007). The Participation of the Villageand the Community in Developing Potentiality through the Government Policy (การมีส่วนร่วมของหมู่บ้านและชุมชนในการพัฒนาศักยภาพตนเองโดยผ่านนโยบายรัฐ). Kasetsart Journal (Social Sciences), 28: 69-79.

Tha Sao Sub-district’s Sustainable Community Master Plan Taskforce. (2004). Community Master Plan of Tha Sao Sub-district, Sai Yok District, Kanchanaburi Province (แผนแม่บทชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี). Kanchanaburi: Tha Sao Sub-district

Thavorn, R., Mianmit, N., and Ked-Ord, R. (2008). Community Forest: Learning Process of Resource Management with Public Participation in Thailand (ป่าชุมชน: กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมของสังคมไทย). Bangkok: Regional Community ForestryTraining Center (Asia & the Pacific).

United Nation. (1981). Popular Participatory as a Strategy for Promoting Community Level Action and National Development Report of the Meeting or the Ad-hoc Group of Experts. Held at UN Headquarter from May 22-26, 1978. New York: Department of International Economicand Social Affairs, United Nations

United Nations Development Program. (2007). Thailand Human Development Report Year 2007: Sufficiency Economy and Human Development (รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2550: เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน). Bangkok: Office of the United Nations Development Program (UNDP).

Valaisathien, P.,Ob-Oon, S., Wiset, S., Benjasup, J., and Hasannari, C. (2005). Processes and Techniques of Developers (กระบวนการและเทคนิคของนักพัฒนา) (3rd ed.). Bangkok: Strengthening Learning for Happy Community Project

Wattanasiritham, P. (2004). The Future of Thailand Economic and Social(แลหน้าเศรษฐกิจสังคมไทย). [Online]. Retrieved April 6, 2012 from http://www.thailabour.org/thai/news/47120601.html.

Wongwandee, N.(2011). The Success of Community Forest Management in Dong Pa Poon Village, Bor Glaur Tai Sub-district, Bor Glaur District, Nan Province (ความสำเร็จของการจัดการป่าชุมชนบ้านดงผ้าปูน ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน). [Online]. Retrieved May 1, 2012 from http://www.sci.rmuti.ac.th/grad23rd/proceeding/Oral.