คำบอกจุดของเวลาในภาษาพม่า : การศึกษาเชิงวัฒนธรรมและโลกทัศน์ (A Comparative Study of Time Expressions Reflection of Worldviews in Thai and Burmese)

Main Article Content

ราตรี แจ่มนิยม Ratree Chamniyom
วิภาวรรณ อยู่เย็น Wipawan Yooyen
พุทธชาติ โปธิบาล Puttachat Potibal

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางความหมายของคำบอกจุดของเวลาในภาษาพม่า รวมทั้งวัฒนธรรมและโลกทัศน์ที่สะท้อนจากคำบอกจุดของเวลา โดยเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ประเภท (1) พจนานุกรมภาษาพม่า และหนังสือสำนวนพม่า (2) การสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาชาวพม่า จำนวน 5 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่า คำบอกจุดของเวลาในภาษาพม่าสามารถ จัดกลุ่มตามเกณฑ์ทางความหมายได้ 2 ประเภท คือ (1) คำบอกจุดของเวลาที่สื่อความหมายบอกจุดของเวลาภายใน 1 วัน และ (2) คำบอกจุดของเวลาที่สื่อความหมายบอกวัน เดือน ปี ลักษณะทางความหมายของคำบอก จุดของเวลาดังกล่าวนี้ยังสะท้อนวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ของชาวพม่า ได้แก่ ด้านการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ สะท้อนวิถีการดำเนินชีวิตแบบเกษตรกรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ ด้านพระพุทธศาสนา สะท้อนวันสำคัญทางพุทธศาสนา ประเพณี พิธีกรรมในรอบปี และด้านความเชื่อต่าง ๆ เช่น ความเชื่อเรื่องผี วิญญาณ


นอกจากนี้ด้านโลกทัศน์ของชาวพม่า สะท้อนให้เห็นว่า เวลามีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ คน และสัตว์ เวลามีลำดับแบบ อดีต ปัจจุบัน อนาคต เวลาภายใน 1 วันสามารถแบ่งออกได้เป็นส่วน ๆ และเวลาหมุนเวียนตลอดไปไม่หยุดนิ่ง

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ
Author Biographies

ราตรี แจ่มนิยม Ratree Chamniyom, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Faculty of Humanities, Kasetsart University)

นิสิตปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิภาวรรณ อยู่เย็น Wipawan Yooyen, คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Faculty of Humanities, Kasetsart University)

ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พุทธชาติ โปธิบาล Puttachat Potibal, คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Faculty of Humanities, Kasetsart University)

ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

References

Aye Aye Kyin. 2014. Lecturer in Yangon Myanmar. Interview, 22 July 2014.

Berlin, Brent. (1992). Ethnobiological Classification: Principle of Categorization of Plants and Aanimals in Traditional Societies. Princeton, N.J.:Princeton University Press.

Kullavanijaya, P. (2003). A Historical Study of Time Markers in Thai. Manusaya: Journal of Humannities, 6: 88-106.

May Myat Khaing and Muenjanchoey, R.(2000). Proverbs Aphorism Idiom in Burmese-Thai (สุภาษิต คำพังเพย และสำนวนพม่ํา-ไทย). Bankgkok:Sahadhammika Printing Center.

Me Me Tin. 2014. Lecturer in Yangon Myanmar. Interview, 27 July 2014.

Myat Htaik. 2014. Writer in Yangon Myanmar. Interview, 28 August 2014.

Niyomtham, W., and Niyomtham, O. (2008). Learning Myanmar Society and Culture (เรียนรู้ส ังคมว ัฒนธรรมพม่ํา). Phitsanulok: Trakulthai Printing Center.

Nyo Mar Soe. 2014. Businessman in Yangon Myanmar. Interview, 30 August 2014.

Phrommathep, N. 2011). Lanna-legend “Phi-Tak-Pha-Aom” (ตำนานล้ํานนา “ผีตากผ้าอ้อม”). [Online]. Retrieved May 10, 2015 from https://www.gotoknow.org/posts465278.

Prasithrathsint, A. (2006). More Will Be Linguist (กว่ําจะเป็นนักภาษาศาสตร์). Bangkok: Chulalongkorn University Printing Center.

Rattaanapitak, A. (2012). Request and Politeness Strategies in Burmese. Doctor of Philosophy Thesis in Linguistics, Mahidol University, Nakhon Pathom, Thailand.

Robert, R. (2008). Social Anthropology. New Jersey: Transaction Publishers.

Royal Institution. (2013). Royal Institute Dictionary 2011 (พจนํานุกรมฉบับรําชบัณฑิตยสถําน พ.ศ.2554). Bankgkok: Nanmeebooks Printing Center.

Win Min Htwe. 2014. Contractor in Yangon Myanmar. Interview, 15 August 2014
.ျပည္ေတာင္စုျမန္မာနုိင္ငံေတာ္အစိုးရ ပညာေရး၀န္ၾကီးဌာန ျမန္မာစာ အဖြ ဲ ့ဦးစီးဌာန. 2011. ျမန္မာစကားပုံ၊ 6 အၾကိမ္၊ ေနျပည္ေတာ္၊ ျမန္မာစာအဖြ ဲ ့ဦးစီးဌာန၊ ညႊန္ၾကားေရးမူးခ်ဳပ္။ ဆုလဲ့ရည္ ႏွင့္ ကိႏၷရီ (ျမန္မာစာ). 2013. ရင္ေသြးငယ္အေ ကာင္းဆံုးျမန္မာစကားပံ ု(၁၀၀) ။ရန္ကုန္: ရင္ေသြးငယ္စာေပ။