ความเชื่อและรูปแบบงานศิลปกรรมพระศรีอุมาเทวีในประเทศไทย (The Sri – Uma Devi in Thailand: Belief and Styles)

Main Article Content

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว Nuaon Khrouthongkhieo

Abstract

งานวิจัยเรื่องความเชื่อและรูปแบบงานศิลปกรรมพระศรีอุมาเทวีในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ หนึ่ง ศึกษาต้นกำเนิดและพัฒนาการความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรีอุมาเทวี สอง ศึกษาคติความเชื่อและรูปแบบของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระศรีอุมาเทวีในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และสาม ศึกษาความสัมพันธ์ทางศิลปกรรมระหว่างประเทศไทยกับแหล่งอื่นๆ ผ่านรูปเคารพพระศรีอุมาเทวี ผลการศึกษาพบว่าการนับถือพระศรีอุมาเทวีหรือพระอุมาในอินเดียมาจากความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่แห่งความอุดมสมบูรณ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยพระเวท เทพและเทวีต่างๆ ที่เป็นตัวแทนปรากฏการณ์ธรรมชาติถูกพัฒนาให้มีคุณสมบัติซับซ้อนมากขึ้น สมัยปลายพระเวทพระอุมาเริ่มมีความสัมพันธ์กับรุทระซึ่งต่อมาคือพระศิวะ สมัยคุปตะพระอุมาหรือนางปารวตี พระแม่ทุรคา และพระแม่กาลีได้รวมคุณสมบัติของเทวีท้องถิ่นไว้ที่พระองค์และถูกยกฐานะขึ้นเป็นชายาหรือศักติของพระศิวะโดยพระนางคือแหล่งเสริมอำนาจที่สำคัญของพระศิวะ บางพื้นที่ของอินเดียมีลัทธิบูชาพระแม่ทุรคาหรือพระแม่กาลีซึ่งถือว่าเป็นพระอุมาในภาคดุร้ายอย่างเป็นเอกเทศ ในดินแดนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระอุมาแบ่งได้เป็น 7 กลุ่มคือ พระอุมาหรือนางปารวตี พระแม่ทุรคาหรือทุรคามหิษามรรทินี พระแม่กาลี อุมามเหศวร กัลยานสุนทรา พระอรรธนารีศวร และนางสตี คติความเชื่อและรูปแบบของงานศิลปกรรมในภาพรวมใกล้เคียงกับศิลปะเขมรและศิลปะอินเดียอีกทั้งมีอิทธิพลจากแหล่งใกล้เคียงที่พบงานศิลปกรรมนั้นๆ สมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยคติความเชื่อที่มีต่อพระอุมามีความหลากหลายโดยรวมคือการนับถือพระองค์ในฐานะศักติหรือแหล่งกำเนิดพลังของพระศิวะเทพเจ้าสำคัญสูงสุดในศาสนาฮินดู แต่ในสมัยสุโขทัย อยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ชนชั้นนำของไทยนับถือพระองค์ในฐานะเทพเจ้าในศาสนาฮินดูผู้ปกป้องคุ้มครองเมือง ช่วยเสริมบารมีและสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ ในสมัยปัจจุบันชาวไทยพุทธที่ไปสักการะพระองค์นับถือพระองค์ในฐานะเทวีผู้สามารถประทานพรให้ได้สมดังปรารถนา

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Boisselier, J. (1975). The Heritage of Thai Sculpture. New York:Weatherhill.

Diskul, S. M. C. (1990). Hindu Gods at Sukhodaya. Bangkok: WhiteLotus

Diskul, S. M. C. (2012). Brahminism in Khmer Kingdom (ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม) (2nd. ed.). Bangkok: Pikanes Printing center.

Harshananda, S.(2000). Devi and Her Aspects (2nd. Ed.). Banglore:Ramakrishnamath.

Kali dancing on Siva.(2014). [Online]. Retrieved September 18, 2014 from http://upload.wikimedia .org/wikipedia/commons/3/33/Architectural_Relief_with_Kali_Dancing_on_Reclining_Shiva.

Na Bangchang, S. (1992). Customs and Tradition : Beliefs and Practices from Sukhothai
Period to Mid Ayuthya Period (ขนบธรรมเนียมประเพณี : ความเชื่อและแนวทางการปฏิบัติในสมัยสุโขทัยถึง
สมัยอยุธยาตอนกลาง). Bangkok: Chulalongkorn University.

Saisingha, S. (2008). Sukhothai Art : A View from Archaeological, Art and Epigraphic Evidence
(ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม). Bangkok: Silpakorn University

Sawanwong, K. (2004). Ways of Life, Rituals and Cultural Identity of Court Brahmins in Thai Society:
A Case Study of Bangkok Devasthan Botsbrahmana (วิถีชีวิต พิธีกรรมและการธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ
กลุ่มพราหมณ์ราชสำนักในสังคมไทย: ศึกษากรณีเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ พระนคร). Master’s dissertation,
Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Silpakorn Department. (1965). The Third Assemble Inscription (ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 3).
Pranakorn: The Prime Minister’s Office.

Silpakorn Department. (2005). The Eighth Assemble Inscription, Sukhothai Inscription
(ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย). Bangkok: Amrin printingand publishing co.ltd.


Silpakorn Department. (2008). The Important Antiquities of National Treasure
(โบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ). Bangkok: ThaiBhumipublishing.

Singhlampong, E. (2007). Images of Hindu Gods in the Ayutthaya Period
(รูปเคารพในศาสนาฮินดูสมัยกรุงศรีอยุธยา). Master’s dissertation,Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Srivastava, B. (1978). Iconography of Sakti: A Study Base on Sritattvanidhi. Varanasi: Chaukhambha Orientalia.

Srivastava, M. C. P. (1979). Mother Goddess in Indian Art Archaeology & Literature. New Delhi: Printed India.

Tasu - korn, N. (1995).The Text of Idol and Navagraha (ตำราภาพเทวรูปและเทวดานพเคราะห์).
Bangkok: Silpakorn Department.

The Nokornsri Thammarat’s Brahmin legend (ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช). (1930). Nakornlung: Soponpipattanakorn.

Uma Coins, Kushana Period. (2014). [Online]. Retrieved September 18, 2014 from http://www.cngcoins .com/Article.aspx?ArticleID=64.