มิติความงาม พื้นที่สาธารณะ และการเมืองในพื้นที่สนามหลวง (The concept of beauty, public space, and the politic of the ‘Royal Park)

Main Article Content

ยุภาพร ต๊ะรังษี Yupaporn Tarungsri

Abstract

“สนามหลวง” เป็นพื้นที่สาธารณะ ที่เดิมถูกใช้ในกิจกรรมที่หลากหลาย แต่เมื่อกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ดูแลได้มีนโยบายปิดและปรับปรุงพื้นที่ ด้วยเหตุผลของการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็น”ระเบียบ”และ “สวยงาม” ซึ่งภายใต้การดำเนินนโยบายนี้ ได้ส่งผลต่อผู้คนที่เคยใช้พื้นที่เดิมในหลายรูปแบบ ผลกระทบที่สำคัญประการหนึ่งคือ พื้นที่สนามหลวงอนุญาตให้ใช้สอยพื้นที่ได้เฉพาะงานพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรมบางประเภทเท่านั้น ทำให้การเข้าใช้พื้นที่ในแบบเดิมถูกจำกัดในหลายลักษณะ ในแง่นี้เอง “ความเป็นพื้นที่สาธารณะ” ของสนามหลวงถูกตั้งคำถามทั้งในแง่บทบาทและหน้าที่ที่เปลี่ยนไป


 โดยทั่วไปแล้ว การปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สาธารณะย่อมส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้พื้นที่และวิถีชีวิตของผู้คนอย่างเลี่ยงไม่ได้ และบ่อยครั้งมิติ ”ความงาม” มักถูกหยิบยกมาเป็น เหตุผลข้ออ้าง (justification) ที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่ของรัฐอยู่เสมอ หากแต่นิยาม “ความงาม” ที่มีลักษณะตายตัวในแบบของรัฐนั้นได้ส่งผลกระทบต่อ สิ่งที่ไม่ถูกนับว่ามีคุณลักษณะของความงามดังกล่าว ถูกกีดกัน/ถูกปิดกั้นไปให้พ้นไปจากการร่วมใช้พื้นที่ โดยเฉพาะผู้คนตัวเล็กตัวน้อยและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในกรณีของสนามหลวง

ในงานศึกษานี้จะกล่าวถึง ความสำคัญของพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย ว่ามีพัฒนาการในการใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่อย่างไร และรัฐใช้เหตุผลข้ออ้างว่าด้วย “ความงาม” อย่างไรที่ทำหน้าที่กีดกันผู้คนบางกลุ่มและกิจกรรมบางจำพวกให้ออกไปจากการมีสิทธิมีส่วนและร่วมใช้พื้นที่  โดยผู้ศึกษาพยายามชี้ให้เห็นว่า “มิติความงาม” นี้เป็นเป็นเหตุผลข้ออ้างของรัฐในการจัดการและแบ่งใช้พื้นที่สาธารณะในสังคมไทย  ที่มักจะแฝงฝังมาด้วยวิธีคิดและการจัดระเบียบในลักษณะต่างๆ ที่ทำงานผ่านกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และบทลงโทษต่างๆ ให้ค่อยๆ สูญเสียมิติของการเป็นพื้นที่สาธารณะไป และกลายเป็นพื้นที่ที่การใช้ประโยชน์ถูกสงวนไว้ให้คนบางกลุ่มและกิจกรรมบางประเภทอย่างชัดเจน


 




 



Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Bangkok Metropolitan Administration. (2010a). The project of landscape improvement and social problems in Royal Park and surrounding area (โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมและ ปัญหาสังคมในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑล). June Version, Bangkok: n.p.

Bangkok Metropolitan Administration. (2010b). The project of landscape improvement and social problems in Royal Park and surrounding area (โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมและปัญหาสังคมในพื้นที่สนามหลวงและปริมณฑล). October Version, Bangkok: n.p.

Bangkok Today. (2006, November 26). Bangkok Metropolitan Administration will renovate 39 historic site in Rattanakosin island area (กทม.ปรับโฉมเกาะรัตนโกสินทร์ลุยบูรณะโบราณสถาน 39 แห่ง). Bangkok Today, p.19.

Chunthapra, A. & Purapunya, C. (2003). An experience of working in a slum in foreign countries by the group of working on the urban poor issues (ประสบการณ์งานสลัมในต่างประเทศโดยกลุ่มปฏิบัติงานคนจนเมือง). Bangkok: Wiphasa Publishing.

Daily News. (2005, September 10). Having found prostitutes in royal park infected with HIV (พบหญิงค้าบริการสนามหลวงมีเชื้อเอดส์). Daily News, p. 24.

Dovey, K. (2001). Memory, democracy and urban space: Bangkok’s path to democracy. Journal of Urban Design, 6(3), 265-282.

Gillette, H., Jr. (2006). Between justice and beauty: race, planning, and the failure of urban policy in Washington D.C. Pennsylvania: University of Pennsylvania Press.

Harvey, D. (2006). The political economy of public space. In The Politics of Public Space. New York: Routledge.

Johnson, N. C. (2011). Nature displaced: order and beauty in Botanical Gardens. New York: I.B. Tauris & Co., Ltd.

Khaosod. (2011, August 8). Bangkok order to the 42 municipal officers patrol surrounding Sanam Luang, installing CCTV 42 Bits, hiring 68 security guards watch 24 hours (กทม.ส่ง28 เทศกิจเฝ้ารอบสนามหลวงติดตั้งซีซีทีวี 42 ตัว, จ้าง รปภ.68 คน เฝ้าตลอด 24ช.ม.). Khaosod, p. 29.

Khunpol, S. (1998). Survey on the notion of “public space” (บทสำรวจ “พื้นที่สาธารณะ”). Journal of Political Science (Thammasat University), 20(3), 167-213.

Kostof, S. (1994). His majesty the pick: the aesthetics of demolition. In Street: critical perspectives on public space, edited by Celik Diane, Favro and Richard Ingersoll. London: University of California Press.

Kovacs, Z. I. et al. (2006). How do aesthetics effect on ecology?. Journal of Ecological Anthropology, 10(1), 61-65.

Lorand, K. (2000). Aesthetic order: a philosophy of order, beauty and art. London; New York: Routledge.

Ministry of Interior. (1962). Improving the resident communities area in front of the department of state highways (ปรับปรุงแหล่งชุมชนบริเวณหน้ากรมทางหลวงแผ่นดิน). Bangkok: Phranakorn.

Naewna. (2005, September 14). The municipal official was attacked and had seriously injured (ไล่แทงเจ้าหน้าที่เทศกิจบาดเจ็บสาหัส). Naewna, p. 7.

Office of the National Economics and Social Development Board. (2003). The master plan for land development: Ratchadamnoen Road and surrounding area (final report submittals) (โครงการจัดทำแผนผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ถนนราชดำเนินและพื้นที่บริเวณต่อเนื่อง (รายงานฉบับสมบูรณ์)). Bangkok: A-Seven Cooperation Co.,ltd.

Paireerhun, P. (2003). Ratchadamnoen: the great history road (ราชดำเนิน: ถนนประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่). Bangkok: Wanchana Publishing.

Phanomyong, D. (2007, December 7-13). Hyde Park: the stage of urban life in UK (ไฮด์ พาร์ค เวทีคนเมืองของอังกฤษ). Matichon Weekly, 28(1425), 32.

Pornchokchai, S. (2008). The art of urban development (ศิลปะการพัฒนาเมือง). Hi-Class Journal, 26(272), 60-61.

Prakitnonthakan, C. (2011). Sanam Luang (Luang is Royal or State Owner in Thai Language Meaning) (“สนามห(ล)วง”). Aan Journal, 3(3), 107-119.

Public Works Department. (2011). The achieves about the landscape improvement of Royal Park that is the outdoor of throne hall B.E. 2011 (จดหมายเหตุการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่สนามหลวงท้องพระโรงกลางแจ้ง พุทธศักราช 2554). Bangkok: Amarin Printing Publishing Ltd.

Rattanakosin exhibition hall: value of the era (นิทรรศน์รัตนโกสินทร์คุณค่าแห่งยุคสมัย). (2010, February). [Online]. Retrieved February 25, 2010 from https://www.thaitravelpages.com/webboard/forum_posts.asp?TID=2099&PN=95

Ruengkittiyotying, N. (1997). Patterns of urban life with reference to Prameru Ground as a urban public ground (รูปแบบชีวิตเมืองหลวง : ศึกษาจากสนามหลวงในฐานะที่เป็นพื้นที่สาธารณะของเมือง). Master’s dissertation, Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University. Bangkok, Thailand.

“Sanam Luang” The manual of the record of event about landscape improvement of Royal Park B.E. 2011 (public version) (“สนามหลวง” คู่มือที่ระลึกจดหมายเหตุ การปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ท้องสนามหลวง พุทธศักราช 2554 (ฉบับประชาชน)). Bangkok: n.p.

Scruton, R. (2009). Beauty. New York: Oxford University Press.

Scruton, R. (2011). Beauty: a very short introduction. New York: Oxford University Press.

Siamrat. (2008, January 7). Conserving the landscape around the grand palace (อนุรักษ์พื้นที่รอบพระบรมมหาราชวัง). Siamrat, p. 27.

Soja, E. W. (2003). Writing the city spatially. City, 7(3), 263-280.

Tarungsri, Y. (2012). The politics of beauty and spatial management: aesthetics and the use of public space, a case study of Royal Park (Sanam Luang) (2005 - 2011) (การเมืองของ “ความงาม” กับการจัดการพื้นที่ : สุนทรียศาสตร์และการใช้พื้นที่สาธารณะ ศึกษากรณีสนามหลวง (ปี พ.ศ. 2548 - 2554)). Master’s dissertation, Faculty of Political Science (Government),Thammasat University, Bangkok, Thailand.

Thaipost. (2009, September 1). Cleansing Royal Park (ล้างสนามหลวง). Thaipost, pp. 1-2.

Thaipr. (2010, November 4). Urban residents request to the national reform committee about injustices and evictions from their lands and houses by state’s mega-project plans (ชุมชนเมืองโร่ร้อง คกก. ปฏิรูปถูกไล่รื้อไม่เป็นธรรม) [Online]. Retrieved January 2, 2011 from https://www.thaipr.net/general/318897

The Secretariat of The Cabinet. (1977, December 13). Royal Thai Government Gazette, Volume 94, Section 126. Bangkok: Cabinet and Royal Gazette Publishing Office.

Thupthong, T. (1975). Bangkok in the past (กรุงเทพฯ ในอดีต). Bangkok: Aksornpundit.

Yoon, S. (2012). The development from Sanam Luang to Chatujak in a half century (จากสนามหลวง...สู่จตุจักรพัฒนาการครึ่งศตวรรษ) [Online]. Retrieved January 8, 2012 from https://www.suthichaiyoon.com/detail/20142