ครูหมอโนรา : รูปโฉมและบทบาทการสร้างเสริมสังคมสันติสุขของสังคมภาคใต้ (Nora Ancestral Spirit: Appearance and the Role for Strengthening Social Peace of Southern Society)

Main Article Content

สันติชัย แย้มใหม่ Santichai Yammai
จิรัชยา เจียวก๊ก Jirachaya Jeawkok

Abstract

การศึกษาเรื่องครูหมอโนรา: รูปโฉมและบทบาทในการสร้างเสริมสังคมสันติสุขของภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปโฉมของครูหมอโนรา และเพื่อศึกษาบทบาทของครูหมอโนรากับการสร้างเสริมสังคมสันติสุขในภาคใต้ พบว่ารูปโฉมของ “ครูหมอโนรา” เกิดขึ้นจากข้อกำหนดทางสังคมทั้งด้านการให้ความหมายและลักษณะ ด้านตำนานและด้านสัญลักษณ์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นชนชั้นศักดินา กลุ่มที่ 2 คือวิญญาณของคนที่เคยมีชีวิตอยู่จริงเมื่อสิ้นชีวิตลงวิญญาณก็จะมาเป็นครูหมอโนรา ครูหมอโนรายังสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะตามรูปร่างคือ ลักษณะแรกรูปร่างหน้าตาดี ผิวพรรณดี ใบหน้าเหมือนคนปกติ แต่งกายด้วยชุดโนรา สวมเทริด ส่วนลักษณะที่ 2 ร่างกายสูงใหญ่ ผิวดำ นุ่งผ้าโจงกระเบน สัญลักษณ์ที่ใช้กำหนดแทนครูหมอโนราได้แก่ เทริด หน้าพรานและหน้าทาสี บทบาทของความเชื่อเรื่องครูหมอโนราสามารถสร้างเสริมสังคมสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคมภาคใต้ ดังนี้ 1) บทบาทต่อการสร้างเสริมความสัมพันธ์ในหมู่เครือญาติ ได้แก่ การสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในกลุ่ม การเป็นสัญลักษณ์ของวงศ์ตระกูล และการก่อเกิดประเพณีที่ช่วยสร้างความสามัคคีให้เครือญาติและชุมชน 2) บทบาทของครูหมอโนราต่อการบำบัดรักษาผู้ป่วย โดยสามารถช่วยประคับประคองจิตใจของผู้ป่วย ให้รู้สึกปลอดภัยจากอาการเจ็บป่วย และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เกิดพลังความเชื่อมั่นจากภายใน เมื่อสุขภาพจิตดีก็จะส่งผลต่อสุขภาพกายให้ดีด้วย ดังคำกล่าวที่ว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว”

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Boonchuay, A. (2001). A Study of Beliefs of Tuad in Satingpra Penninsula Songkhla Province (ศึกษาตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวกับทวดในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา). Master’s dissertation, ThaksinUniversity, Songkhla, Thailand.

Buachum, J., Nora lineage. Interview, October 25, 2012.

Bussararat, P. (1996). Nora Legends: Cultural and Social Relationship Stytem of Songkhla Lake Basin (ตำนานโนรา : ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมรอบลุ่มทะเลสาบสงขลา). (Mimeographed).

Bussararat, P. (2003). Folk Drama: the Changs and the Relationship between Society and Local Culture in Songkhla Lake Basin Area: Case Studies of Talung Shadow Play and Nora (after the Rama the Fifth Government Reform: BE2437-the present) (การแสดงพื้นบ้าน : การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรมบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา กรณีศึกษาหนังตะลุงและโนราช่วงการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน). Mimeographed.

Chalad, J., Nora lineage. Interview, October 28, 2012.

Chitchonlatan, K., Nora lineage. Interview, October 25, 2012.

Jittham, P. (1976). Nora Folklore No. 11 (โนรา คติชาวบ้านอันดับ 11) (2nd ed). Songkhla: Teachers College.

Nitjaran, N. (2007). Nora: Symbols, Rituals, Southern Thai Identity Around Songkhla Lake in the Globalization Era. Master’s dissertation,Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Singhanat, P. (1995).Thaibualuang Literary Analysis of Wai Kru Chapters (Khon-Lacon: Dance Drama) (วรรณกรรมไทยบัวหลวง เรื่อง วิเคราะห์บทไหว้ครูโขน-ละคร). Bangkok: Chutima printing.

Todtan, J., Actor’s Nora and Nora lineage. Interview, October 28, 2012.

Yammai, S. (2013). Gender Mystifications through Signifiers in the Nora Rongkhru Ritual (มายาคติทางเพศสภาพผ่านสัญญะในพิธีโนราโรงครู). Master’s dissertation, Prince of Songkla University, Songkhla, Thailand.