เทคนิคที่พึงประสงค์ของนาฏศิลปินในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำ (Desirable Techniques of Dramatic Artists on Rhetorical Adoption for Dance-drama)

Main Article Content

นิสา เมลานนท์ Nisa Malanont

Abstract

การวิจัยเทคนิคที่พึงประสงค์ของนาฏศิลปินในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรด้านนาฏศิลป์ต่อเทคนิคที่พึงประสงค์ในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรด้านนาฏศิลป์ต่อเทคนิคที่พึงประสงค์ในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์ไทยหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ชั้นปีที่ 4 และศิลปินทางด้านนาฏศิลป์ไทย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม คือ แบบสอบถามรอบที่ 1  เป็นแบบสัมภาษณ์  แบบสอบถามรอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สังเคราะห์เทคนิคที่พึงประสงค์ในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมทุกประเภทละคร 2.ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อเทคนิคที่พึงประสงค์ของนาฏศิลปินในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำ โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับมากไปน้อยได้แก่  ละครเสภา ละครใน ละครพันทาง ละครนอก ละครดึกดำบรรพ์ และละครชาตรี ตามลำดับ และ3. ผลการการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อเทคนิคที่พึงประสงค์ในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำ พบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษา อาจารย์และนาฎศิลปินที่มีต่อเทคนิคที่พึงประสงค์ในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษา อาจารย์และนาฎศิลปินที่มีต่อเทคนิคที่พึงประสงค์ในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำประเภท    ละครนอก      ละครใน และละครดึกดำบรรพ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ของความคิดเห็นนักศึกษา อาจารย์และนาฎศิลปินที่ทีต่อเทคนิคที่พึงประสงค์ในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำ พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อเทคนิคที่พึงประสงค์ในการใช้วาทศิลป์สำหรับละครรำของนักศึกษาและอาจารย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน  

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Aristotle. (1954). Rhetoric and Politics (W. Rhy Roberts, Trans.). New York: Modern Library

Banomyong, D. (1999). Weaving Dream by Songs (สานฝันด้วยเสียงเพลง). Bangkok: Banpleang

Atthaphan, B. (1994). An Analysis of Dance Drama in the King Rama II’s I-nao (วิเคราะห์บทละครรำ เรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย). M.A. Thesis, School of Education.

Chalerdpetch, P. (1992). An Analysis of Lakorn Pantang (วิเคราะห์บทละครพันทาง). M.A. Thesis. Songkhla Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.

Darnsomboon, P. (1995). Duekdamban Drama of H.R.H Prince Cudhadhujdharatilok (ละครดึกดำบรรพ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ าจุฑาธุชธราดิลก). M.A. Thesis, Faculty of Fine Arts, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Fine Arts Department. (1961). Thai Masked Dance, Drama and Likae Drama (บทโขน ละคร และลิเก). Bangkok: Sivaporn.

Fine Arts Department. (1989). Sepha Khun Chang Khun Phean (เสภาขุนช้างขุนแผน). Bangkok: Khurusapha Press.

Klaymook, K. et al. (2008) Chatri Drama in Angtong Province (ละครชาตรีในจังหวัดอ่างทอง). Research Report. The Office of National CultureCommission, Ministry of Culture.

Kosinanon R. (2001). Natayasap: Language of Thai Dramatic Arts (นาฏยศัพท์ ภาษาท่านาฏศิลป์ ไทย). Bangkok: Thaiwattanapanich.

Lapiratanakul, V. (2000). Rhetoric Teaching and Rhetoric: Theory and Methodology in New (วาทนิเทศและวาทศิลป์ หลักทฤษฎีและวิธีปฏิบัติยุคสหัสวรรษใหม่). Millenium. Bangkok: Chulalongkorn University Press

Malanont, N. (1996). The Analytical Study of Chatri Drama in City of Pead Rio (การศึกษาและวิเคราะห์ ละครชาตรีเมืองแปดริ้ว). Research Report.Rajanagarindra Rajabhat Institute.

Malanont, N. (2009). Teaching Material for Rhetoric of Drama (เอกสารคำสอน รายวิชาวาทศิลป์ การละคร). n.p. (Copied).

Monroe, A. H. and Ehninger, D. (1969). Principles of Speech Communication. Glen View, IIIinoise: Scott, Foresman and Company.

Nawaphongthananon, A. et al. (2012). The Court Play Performed by All Male: Sangtong in the Scene of Phrasang’s Fish Finding (ละครนอกแบบหลวง : เรื่องสังข์ทองตอนหาปลา). Art Thesis, Faculty of Art Education, Bunditpatanasilpa Institute, Bangkok, Thailand.

Nimnetiphan, S. (2005).Thai Drama (การละครไทย). Bangkok: Thaiwattanapanich.

Songsiri, Y. (2003). Rhetoric in Literary Works (วาทศิลป์ ในวรรณกรรม). Bangkok: Ramkhamheang University.

Srisa-ard, B. (2002). Introduction to Research (การวิจัยเบื้องต้น) (7th ed). Bangkok: Suwiriyasarn.

Verberder, R. F., (1993). Communication (7th ed). California: Wadsworth.

Vernoy , M. and vernoy, J. (1997). Behavioral Statistics in Action. Pacific Grove,CA: Brooks/Cole Publishing Company.