ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน : เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น Folk Handicrafts : Local Identity
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ดั้งเดิมของมนุษย์พัฒนาจาก หัตถกรรมที่ทำเพื่อใช้สอยมาขัดเกลาให้น่าใช้และมีความสวยงาม ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุที่สะท้อนกระบวนความคิดในการออกแบบ การเลือกสรรวัสดุ รูปแบบของศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านแสดงให้เห็นลักษณะการใช้สอยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จนถึงภูมิปัญญาของช่าง ศิลปหัตถกรรมมิได้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ทำกันทั่วโลกก่อนที่การปฏิวัตอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องใช้ที่ผลิตด้วยมือมาเป็นการผลิตในระบบอุตสาหกรรม แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่สามารถผลิตด้วยเครื่องจักรกล ทำให้ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านหลายประเภทยังดำรงคุณค่ามาจนปัจจุบันศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านดั้งเดิมเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างน่าสนใจ
คำสำคัญ : 1. หัตถกรรม. 2. ศิลปหัตถกรรม. 3. ลักษณะเฉพาะถิ่น. 4. วิจิตรศิลป์.5. ประยุกต์ศิลป์. 6. ศิลปะพื้นบ้าน.
Abstract
Folk handicrafts are traditional tools and utensils which have been polished and refined so thatthey are not only useable but also decorative. These handicrafts are considered cultural materials whichmirror the craftsmen’s idea regarding designing and choices of materials. Styles of folk handicraftsreflect their utilitarian purposes, which are interwoven with local lifestyles, traditions, beliefs, localhistories and the craftsmen’s knowledge. Folk handicrafts did not originate only in Thailand. They werecommon all over the world before the industrial revolution in the 19th century replaced handiworks withmanufactures. However, there are still a lot of items which cannot be made by machines. This is whyseveral kinds of folk handicrafts have survived until today. Traditional handicrafts are significantevidence needed to be studied because it can bring about new knowledge.
Keywords : 1. Handcraft. 2. Handicraft. 3. Local character. 4. Fine art. 5. Applied art.6. Folk art.