ทวิอัตลักษณ์: การต่อสู้และการปรับตัวของชาวไทใหญ่พลัดถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ Double Identity : The fighting and adaptation of Tai diaspora in Chiang Mai

Main Article Content

ปานแพร เชาวน์ประยูร

Abstract

บทคัดย่อ

ด้วยความกดดันทางการเมือง เศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ชาวไทใหญ่อาศัยในรัฐฉานประเทศพม่า อพยพย้ายถิ่นออกมาจากถิ่นฐานเข้ามาในเชียงใหม่ รัฐไทยได้สร้างและนิยามอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ว่าเป็นพม่า เป็นคนต่างด้าว เป็นกลุ่มคนที่สร้างปัญหาให้กับรัฐไทย โดยที่อัตลักษณ์ดังกล่าวนั้นชาวไทใหญ่ไม่อาจยอมรับจึงได้สร้างและผลิตซ้ำอัตลักษณ์ “ความเป็นไทใหญ่” ขึ้นมา วัดป่าเป้าและวัดกู่เต้าจึงเป็นพื้นที่ทางสังคมในการสร้างและผลิตซ้ำทางอัตลักษณ์โดยผ่านการใช้ภาษาไทใหญ่ ธงชาติ บทเพลงไต ประเพณีและพิธีกรรม ตลอดจนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การแสดงอัตลักษณ์ดังกล่าวเป็นความพยายามในการแสดงความเป็นตัวตนของชาวไทใหญ่และความพยายามในการสร้างความหมายเชิงวัฒนธรรมเพื่อให้ชาวไทใหญ่ได้ตระหนักในคุณค่าของชีวิตของตน ในขณะเดียวกันชาวไทใหญ่เองก็ได้มีการปรับตัวเข้ากับสังคมไทย และการแสดงออกซึ่ง “ความเป็นไทย” เพื่อให้รัฐไทยได้รับรู้ว่าชาวไทใหญ่ไม่ได้เป็นศัตรูกับไทย มีความรักและจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และเพื่อความปลอดภัยในชีวิต จึงอาจกล่าวได้ว่าชาวไทใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีทวิอัตลักษณ์ คือเป็นทั้งไทยและไทใหญ่ เพียงแต่ว่าชาวไทใหญ่จะหยิบใช้อัตลักษณ์ไหนเมื่อไหร่และเพื่ออะไร โดยที่อัตลักษณ์ที่ชาวไทใหญ่ได้แสดงออกมานั้นสามารถเลื่อนไหลไปตามสภาพความเป็นอยู่และการรับรู้ของตนเมื่อเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

คำสำคัญ : 1. ทวิอัตลักษณ์. 2. ไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่.

 

Abstract

The reasons why Shan moved to Chiang Mai in Thailand are politics, economic and everyday life pressures. Thai construct and define the identities of the Shan as being the Burmese, they are the aliens, and a group of people who cause the problems for the Thai government, but the Shan do not accept these identities. Therefore they reconstructed their identity in order to make Thai people perceive that the Shan has an excellent culture and tradition. The Shan are of Buddhist faith, and have long time history that relates to Thais. The Shan used Ku-tao temple and Pa-pao temple as a social space reconstruct the identities of Shan Tai language, the Shan flag, Shan traditions and rituals, as well as Shan history. These identities proclaimed the Shan identity and tried to construct the meaning in a cultural way for the Shan to realize the value of themselves. At the same time the Shan adjusted themselves into Thai society and expressed Thai identities to Thai to show that they are not an enemy of Thai. The Shan love and respect the Thai state and Thai monarchy, for saving their lives. So the Shan is the euthenics that has a double identities which is “Thai” or “Shan” depending on when and what they use the identity for. The identity that they choose to show can be displaced in different situations; livelihood and perception, when they live in Thailand.

Keywords: 1. Double identity. 2. Tai in Chiang Mai Province, Thailand.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ