การประเมินโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2550 - 2553 Evaluation of the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2007 - 2010
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2550 - 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2553 ทั้งในแง่การบริหารจัดการและผลการดำเนินงานโครงการ 2.) ประเมินอภิมานงานวิจัยรายงานการดำเนินโครงการค่ายเรียนรู้คู่คุณธรรมนำชีวิตพอเพียงที่พิมพ์เผยแพร่ในระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2552 3.) สังเคราะห์รายงานการดำเนินโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียงในระหว่างปี พ.ศ. 2550 - 2553 และ 4.) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาชุมชนให้เป็นชุมชนเข้มแข็งต่อไปการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานโครงการ มีกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกบั โครงการจำ นวน 3 กลุ่ม คือ 1.) ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา 2.) อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการภาคสนาม และ 3.) นสิ ตินักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) จำแนกตามกลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถามการประเมินอภิมานงานวิจัย ทำการประเมิน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.) รายงานการวิจัยเชิงสำรวจโครงการสำรวจค่ายเีรียนรู้คู่คุณธรรมนำชีวิตพอเพียงปี2551 ของมหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สวนดสุ ติ และ 2.) รายงานการวจิ ยั เรอื่ งการประเมนิโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2552 ของมหาวิทยาลัยบูรพาการสังเคราะห์รายงานการดำเนินโครงการในระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึง 2553 ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบประเมินรายงานการดำเนินโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง นำมาวิเคราะห์เพื่อสรุปประเด็นสำคัญเสนอในลักษณะของความเรียงผลการประเมินพบว่า1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2553 ตามความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ผลการประเมินโครงการในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งในด้านของขั้นตอนการดำเนินการ รายละเอียดของคู่มือการดำเนินการ การกำหนดชุมชนภาคสนาม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯลฯ และหากพิจารณาในด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เพราะนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ตรงตามแนวทางเศรษฐกิจ สามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกับชุมชนได้เหมาะสม นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ตรงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกับชุมชนได้เหมาะสมโดยนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนร้อยละ 99.07 มีความคิดเห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์ต่อชุมชนในสังคมไทย เพราะโครงการนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้ความเป็นอยู่ของชุมชน ความร่วมมือ เห็นจุดด้อยของชุมชนเพื่อที่จะนำไปพัฒนาต่อไป สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นรากฐานในการดำรงชีวิตต่อไปในอนาคต และเมื่อพิจารณาการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นพบว่านิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนร้อยละ 98.84 มีความคิดเห็นว่าจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ ปฏิบัติได้จริง สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการทั้ง 3 กลุ่มจึงเห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรสนับสนุนให้มีการดำเนินการโครงการนี้ต่อไป 2. การประเมินอภิมานรายงานการดำเนินโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียงที่พิมพ์เผยแพร่ในระหว่างปี พ.ศ. 2550 ถึง 2552 ผลการประเมิน พบวา่ ในด้านรวมทุกมาตรฐานงานประเมิน โครงกาค่ายเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียงมีค่าเฉลี่ยเท่า่กับ 2.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .14 อยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณามาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ พบว่า่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .20 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มาตรฐานด้านความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .24 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี มาตรฐานด้านความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .35 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และมาตรฐานด้านความถูกต้อง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .06 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก3. ผลการสังเคราะห์รายงานการดำเนินโครงการ พบว่าชุมชนตัวอย่างที่นิสิตนักศึกษาเข้าไปศึกษาได้นำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ (1.) รู้จักวางแผนการใช้ชีวิต (2.) ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนได้อย่างถูกต้อง (3.) นำหลักคุณธรรมและจริยธรรมมาใช้ในกระบวนการคิด (4.) ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท มีสติและความรอบคอบ และไม่ทำอะไรเกินตัว (5.) ไม่ฟุ่มเฟือย (6.) การจัดสรรเวลา (7.) การให้กำลังใจตนเองยามมีปัญหาเพื่อให้มีพลังในการทำประโยชน์ต่อสังคม (8.) ความสามัคคีในหมู่คณะ (9.) การวางตัวในสังคมและเคารพผู้อาวุโส(10.) การให้ความสำคัญกับการศึกษา4. ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ 1. การบริหารงานโครงการ ได้แก่- ควรมีการวางแผนโครงการให้เป็นภาระงานประจำเพื่อที่สถาบันการศึกษาจะได้มีระยะเวลาในการเตรียมการให้มากขึ้น - ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการกับชุมชนภาคสนามเพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจวัตถุประสงค์ของการลงภาคสนาม - ควรมีการสัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการก่อนการปฏิบัติจริง - ควรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางในการจัดกิจกรรมร่วมกัน - ควรมีการจัดส่งเอกสารคู่มือการดำเนินการให้ผู้เกี่ยวข้องให้เร็วขึ้น - ควรมีการประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ในการตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ - ควรมีการเผยแพร่รายงานผลของโครงการโดยทั่วกัน 2. บุคลากร ได้แก่ - ควรเพิ่มจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการให้เพียงพอ- ควรเพิ่มบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาให้มากกว่าที่เป็นอยู่ - ควรเพิ่มจำนวนนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการให้มากขึ้น 3. งบประมาณ ได้แก่ ควรมีการเพิ่มงบประมาณในส่วนต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ และระยะทางของชุมชนภาคสนามกับสถาบันการศึกษา เช่น ค่าอาหาร ค่าเบี้ยเลี้ยงนิสิตนักศึกษา ค่าเบี้ยเลี้ยงอาจารย์ที่ปรึกษา ค่าวัสดุสำนักงาน และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นต้น 4. ระยะเวลา ได้แก่ ควรให้อิสระแก่สถาบันการศึกษาในการกำหนดระยะเวลาของโครงการได้เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของสถานบัน สอดคล้องกับช่วงเวลาที่นิสิตนักศึกษาสามารถเข้าร่วมโครงการได้เต็มที่ และสอดคล้องกับลักษณะของชุมชนภาคสนามที่แตกต่างจากบริบทของสถาบันการศึกษา 5. อื่นๆ ได้แก่ การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ควรจัดที่พักอาศัยโดยใช้ชาวมุสลิมพักอาศัยกับชาวมุสลิมด้วยกันเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ
คำสำคัญ: 1. การประเมินโครงการ. 2. โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียง. 3. เศรษฐกิจพอเพียง.
Abstract
Evaluation of the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2007 - 2010aimed to: 1.) Evaluate the accomplishment in running the Project of Student Camps for Learning Morals andSufficiency Economy 2010 both in management and the results of the project. 2.) Meta evaluation of theresearch, reporting of running the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy2008 - 2009. 3.) Synthesize the report of running the Project of Student Camps for Learning Morals andSufficiency Economy 2007 - 2010, and 4.) Offer suggestions in running the project as a consideration tofurther strengthen the community.In the evaluation of the accomplishment of running the project, there were 3 sample groups, andthe major contributors who provided the relevant data for the project were: 1.) students of higher educationinstitutions who participated in the project. 2.) field advisors for the project and 3.) higher educationexecutives involved with the project. Data was collected using questionnaires, and the data was analyzedby determination of frequency, percentage, mean ( X ), and standard deviation (SD).For Meta Evaluation of the research 2008 - 2009, the population of the Meta Evaluation were: 1.) Thesurvey research report of the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2010of Suan Dusit Rajabhat University and 2.) The research report on Evaluation of Project of Student Campsfor Learning Morals and Sufficiency Economy 2009 of Burapha University.For synthesizing the report of running the project from 2007 to 2010, it was analyzed from the collectedinformation from evaluation forms of the Project of Student Camps for Learning Morals and SufficiencyEconomy 2010. The key points were then summarized, and presented in composition form.From the results it was found that:1. The accomplishment evaluation of running the Project of Student Camps for Learning Morals andSufficiency Economy 2010 from the point of view of the 3 concerned parties, which were the higher educationexecutives, the advisors and the students who participated in the project, found that the running of the projectoverall had a high level of propriety in terms of running process, manual details, field community setting, projectadvisors, etc. When considering the accomplishment of project objective, it was found that it was able to meetthe goals because students participating in the project gained knowledge, understanding, and experiencefollowing the guidelines of Sufficiency Economy. They could learn to integrate with the community. 99.07%of students participating in the project thought that this project was useful to Thai society, because it was alearning process of being in a community, cooperation, and seeing its weakness for further development. Itcould be applied to daily life, and be a foundation for living in the future. Considering passing on knowledgeand experience to others, it was found that 98.84% of participating students had opinions to pass on knowledgegained and experience to others, since it was good, useful, practical, and could be a role model for living.Thus the 3 parties agreed that the Office of the Higher Education Commission should support this projectfurther.2. For Meta Evaluation of the report of running the Project of Student Camps for Learning Moralsand Sufficiency Economy 2007-2009, it found that in all aspects of standards of evaluation of the Camps theaverage was 2.63. The standard deviation was equal 1.4 which was a very fine level. When considering utilitystandards, it was found that the average was 2.71. The standard deviation was 0.20, regarded as a high levelof quality. The feasibility standards had an average of 2.17. The standard deviation was 0.24, regarded asa in high level of quality. The propriety standards had an average of 2.88. The standard deviation was 0.35,regarded as a very high level of quality. And the accuracy standards had an average of 2.54. The standarddeviation was 0.06, regarded as a very high level of quality.3. The results of the primary synthesis of the communities where students went to study and apply; (1.)Plan their lives. (2.) Perform their duties properly. (3.) Apply morality and ethics to their thinking process. (4.)Lead their lives dutifully, have consciousness and prudence. (5.) Not be extravagant (6.) Time management(7.) When they had any problems, they encouraged themselves to be useful for society. (8.) Have unity.(9.) Their positions in society and respect to the adults. (10.) Pay attention to the education.4. The subjects indicated problems, obstacles, and solutions as below:(1.) The project management:- The project should be planned as a routine task so that the academic institutions could have moretime for preparation.- The project should be publicized to the community so that people there can understand its objectivesin the field.- A seminar should be held for the field advisors before the start of the project.- An opportunity should be opened for participants from other academic institutions to discuss andexchange ideas of doing activities together.- The operation manuals should be sent out earlier.- There should be the coordination with the local agencies for site visits and encouragement.- The results of the project should be published.(2.) The personnel:- The quantity of the project advisors should be increased sufficiently.- The role of the advisors should be expanded.- The quantity of students participating in the project should be increased.(3.) Budget: The budgets of various parts should be increased in accordance with the period ofrunning the project and the distance from the field community to the academic institutions such as board,daily allowances for students and advisors, office supplies, travel expenses, etc.(4.) Period of running the project: The academic institutions should be free to set the period of theproject so that students can fully participate in it. Also the project should be run according to the context ofthe communities, which might be different from the context of the educational institutions(5.) Others: accommodation for Muslims to live together for their convenience in Religious practices.
Keywords: 1. Evaluation of the project. 2. Project of student camps for learning moral and sufficiencyeconomy. 3. Sufficiency economy.