การจำลองวัตถุทางพิพิธภัณฑ์สำหรับคนตาบอด Replica Reproductions of Museum Objects for the Blind

Main Article Content

ธีรอาภา บุญจันทร์
เสาวภา พรสิริพงษ์
ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างวัตถุจำลองทางพิพิธภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อคนตาบอด เนื่องจากความพิการทางสายตาทำให้คนตาบอดขาดโอกาสทางการรับรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ การสร้างวัตถุจำลองทางพิพิธภัณฑ์ที่สามารถถ่ายทอดความรู้สู่คนตาบอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถทำให้เด็กตาบอดได้รับการเรียนรู้จากการสัมผัสด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่า่งที่ศึกษาประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ นักเรียนที่ตาบอดสนิทของโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ จ.สงขลา จำนวน 12 คน ผู้ปกครองจำนวน 12 คน และครูประจำชั้น จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองและครูประจำชั้น แบบทดสอบก่อนและหลังการสร้างวัตถุจำลองสำหรับเด็กตาบอด ในส่วนของเด็กได้ทำการศึกษาการสัมผัสรับรู้ต่อวัตถุที่คนตาบอดใช้ในชีวิตประจำวัน นำมาเป็นพื้นฐานในการทดสอบ การสัมผัสรับรู้จากวัตถุที่มีพื้นผิว ขนาดรูปทรง และลักษณะต่างๆ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ทางการสัมผัสของคนตาบอด อันนำไปสู่การค้นหาลักษณะที่เี่หมาะสมต่อการสร้า้งวัตถุจำลองทางพิพิธภัณฑ์ของคนตาบอด ผลการศึกษาพบว่า่ วัตถุจำลองที่ดีต่อการสัมผัสรับรู้ของคนตาบอด ควรมีรูปทรงหรือลักษณะเฉพาะของวัตถุ ขนาดที่เหมาะสม มีลักษณะเสมือนจริง มีความปลอดภัย และคงทน นอกจากนี้ควรมีองค์ประกอบอื่นๆที่สามารถเป็นสื่อในการช่วยเสริมความเข้าใจให้แก่คนตาบอดได้ เช่น อักษรเบรลล์และการบอกเล่าเรื่องราวประกอบการสัมผัสรับรู้สามารถช่วยในเด็กตาบอดคาดเดาต่อสิ่งที่สัมผัสซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพการรับรู้ไู้ด้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: 1. คนตาบอด. 2. การจำลองวัตถุทางพิพิธภัณฑ์. 3. โรงเรียนคนตาบอดธรรมสากล สงขลา.

 

Abstract

The objective of this research is to create replicas of museum objects that are suitable for the blind.Because the blind often have few opportunities to learn at conventional learning centers, using replicas ofmuseum objects to enable blind students to learn by touch is a way to enhance their learning potential.The samples consisted of 3 groups; 12 blind students from Dhamma Sakon School in Hadyai, SongklaProvince, guardians and class instructors. The instruments used were an interview guideline for the guardiansand class instructors, and pre and post tests for the blind students. The reactions of the students to replicas ofobjects of daily life were observed and data from these observations were used to develop a test to determinesuitable characteristics for the production of the museum replicas. The results indicate that good replicasto facilitate learning for the blind should possess the following features: are of a suitable size, resemble thereal object, are safe to handle and durable. Furthermore, besides the use of touch, other learning methodsare desirable such as descriptions in Braille, and explanation by using a story telling technique which canenable the student to guess the object more easily and accurately.

Keywords: 1. The blind. 2. Replica museum objects. 3. Dhamma Sakon School at Songkla Province.

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ