การประเมินผลกระทบของผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย กรณีปัญหาน้ำมันดิบรั่วไหล จังหวัดระยอง : การวิจัยแบบผสานวิธี (Impact Assessment of Stakeholders of Crude Spill Problem in Rayong Province: Mixed Method Research)

Main Article Content

ภัทราวดี มากมี Pattrawadee Makmee

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและ 2) เพื่อติดตามประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาศัยอยู่ในตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำนวน 993 คน แยกเป็นเชิงคุณภาพจำนวน 40 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และเชิงปริมาณ จำนวน 953 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภทได้แก่  1) แบบสอบถามความคิดเห็นของประชาชนหลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเลบริเวณอ่าวพร้าว    เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง 2) แบบสัมภาษณ์ผลกระทบต่อวิถีชีวิตจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง และ  3) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม มลภาวะ ผลกระทบ และแนวทางป้องกันปัญหาที่เนื่องมาจากน้ำมันดิบรั่ว การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้วิธีสังเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ส่วนเชิงปริมาณใช้สถิติแบบพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏดังนี้    1) ผลกระทบต่อการทำประมง  ภายหลังจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลผลกระทบต่อการทำประมงของคนบนเกาะเสม็ดเริ่มลดน้อยลงตามระยะเวลา  2) ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนหลัก ๆ คือ ด้านการทำมาหากินในการให้บริการและการค้าขายกับนักท่องเที่ยว เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจึงส่งผลให้รายได้ลดลงและไม่เพียงต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน  3) ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมาจากการที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง  โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ได้รู้ข่าวเรื่องน้ำมันดิบรั่วไหล ก็จะมีความกังวลในการมาเที่ยวเกาะเสม็ดหรือเลือกที่จะไปเที่ยวที่อื่นแทน สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เป็นกลุ่มทัวร์ที่จองไว้ล่วงหน้า  เมื่อเดินทางมาเกาะเสม็ดก็ใช้ชีวิต ท่องเที่ยวได้ตามปกติ 4) ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความรู้ไม่เพียงพอเกี่ยวกับน้ำมันดิบรั่วไหลและมีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และ 5) การประเมินผลกระทบและพัฒนาแนวทางในการเพิ่มความรู้ให้กับประชาชนเนื่องจากการขาดการทำความเข้าใจ การขาดความร่วมมือของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ และประชาชนบางส่วนมีความรู้สึกว่าขาดความเป็นธรรมในการได้รับการชดเชยความเสียหาย ในการเพิ่มความรู้ให้กับประชาชนผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดทำ “คู่มือสำหรับประชาชน ความรู้และวิธีปฏิบัติตนเมื่อพบเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล” และ 6) การติดตาม  ประเมินผล และเฝ้าระวัง ยังคงเน้นเรื่องสภาพจิตใจของประชาชนทั้งที่อาศัยอยู่บนเกาะเสม็ด ประชาชนผู้ประกอบธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือกันศึกษาและวางนโยบายที่จะสามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเติบโตมากยิ่งขึ้น

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Bangkok Business. (2013). 5 Year Health Surveillance Sot Oil Leak from Koh Samet (สธ.เฝ้ าระวังสุขภาพ5ปีน้ำามันรั่วเกาะเสม็ด). [Online]. Retrieved May 1, 2014 from https://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/520891.

Bangkok Business Online. (2013). Analysis Aquatic Ao Prao Is Normal (ผลวิเคราะห์สัตว์น้ำอ่าวพร้าวอยู่ในเกณฑ์ปกติ). [Online]. Retrieved May 1, 2014 from https://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20130808/522211/ผลวิเคราะห์สัตว์น้ำอ่าวพร้าวอยู่ในเกณฑ์ปกติ.html.

Pethrat, C., Tabjarean, J. (2012). Environment Pollution (มลภาวะสิ่งแวดล้อม). [Online]. Retrieved May 1, 2014 from https://human.uru.ac.th/Major_online/SOC/Envi_Home.htm.

Katanoda, K., Sobue, T., Satoh, H., Tajima, K., Suzuki, T., Nakatsuka, H., Takezaki, T., Nakayama, T., Nitta, H., Tanabe, K., & Tominaga, S. (2001). An Association between Long-Term Exposure to Ambient Air Pollution and Mortality from Lung Cancer and Respiratory Diseases in Japan. Journal of Epidemiology, 21(2): 132-143.

Kordysh, E., Karakis, I., Belmaker, I., Vardi, H., Bolotin, A., & Sarov, B.(2005). Respiratory Morbidity in Hospitalized Bedouins Residing near an Industrial Park. Archives of Environmental Health,60(3): 147-155.

Ministry of Natural Resources and Environment. (2013). The Aide-De-Camp to the Check the Oil Spill Ashore Koh Samet (รมว.ทส. ลงพื้นที่ ตรวจนน้ำมันรั่วไหลขึ้นฝั่งเกาะเสม็ด).[Online]. Retrieved May 1, 2014 from https://www.mnre.go.th/ewt_news.php?NID=1537.

Ministry of Natural Resources and Environment. (2013). Ao Prao - Koh Samet. Marine Water Quality Standards Welcomes the Season D-Day Opened a Gulf 1 November (อ่าวพร้าว-เกาะเสม็ด คุณภาพน้ำทะเลได้เกณฑ์มาตรฐาน พร้อมต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยว ดีเดย์เปิดอ่าว 1 พ.ย. นี้). [Online]. Retrieved May 1, 2014 from https://www.mnre.go.th/ewt_news.php?nid=1739&filename=index.

Strategy Bureau. (2556). Legal Medicine: Management of Chemicals Hazardous to Health (1st ed). Nonthaburi: Printing Health Education Division, Ministry of Health.

The Ministry of Energy. (2013). Energy Minister Confirmed No Shortage of Oil and Accelerate PTT Global Chemical, Environmental Rehabilitation (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยืนยันน้ำมันไม่ขาดแคลน และเร่งรัด พีทีทีโกลบอลเคมิคอลฟื้นฟูสภาพแวดล้อม). [Online]. Retrieved May 1, 2014 from Http: // www.energy.go.th / index.php? Q = node / 27301.

White, N., Water, J., Walt, A. V. D., Ravenscroft, G., Roberts, W., & Ehrlich, R. (2009). Meteorologically Estimated Exposure but Not Distance Predicts Asthma Symptoms in School Children in the Environs of a Petrochemical Refinery: A Cross-Sectional Study. Environmental Health, 8(1): 45 - 58

Yang, C. Y., Wang, J. D., Chan, C. C., Hwang, J. S., & Chen, P. C. (1998). Respiratory Symptoms of Primary School Children Living in a Petrochemical Polluted Area in Taiwan. Pediatr Pulmonol, 25: 299-303.