ความสำเร็จของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (The Success of the Drug Prevention and Suppression Policyin the Upper Northeastern Provinces)

Main Article Content

พัฒน์ธนธร ตันติเวชยานนท์ Patthanatorn Tantivechayanon
เกษมชาติ นเรศเสนีย์ Kasemchart Naressenie
บุญเลิศ ไพรินทร์ Boonlert Pairindra

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสำเร็จของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ในการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล จำนวน 42 คน ได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานศูนย์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดระดับจังหวัด ผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน และประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยด้วยการตีความและการวิเคราะห์ และในการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 คน จากประชาชนในเขตอำเภอเมืองและข้าราชการตำรวจสังกัดสถานีตำรวจภูธรระดับอำเภอ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสำเร็จของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 3 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.20)   โดยด้านการสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการลดความรุนแรงของปัญหา และด้านการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 6 ปัจจัย พิจารณาตามสมการพยากรณ์ตัวแปรได้ดังนี้ (1) การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด (2) การร่วมมือระหว่างประเทศ (3) การปราบปราม/บังคับใช้กฎหมาย (4) การบริหารจัดการ (5) การสร้างภูมิคุ้มกัน/ป้องกัน และ (6) นโยบายสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยสามารถพยากรณ์ความสำเร็จของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้ร้อยละ 78.20 (R2 = 0.782)

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Alexander, E.R. (1985). From Idea to Action: Note for a Contingency Theory of the Policy Implementation Process. Administration and Society, 16(12): 403.

Browen, W. (1995). Drug and the Adolescent High School Student: A Three Year Survey Study. Dissertation Abstracts International, 14(1): 748.

Daenseekaew, S. (2005). Community Mobilization Efforts in Strengthening Social Immunity to Illicit Drug Use (การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดแก่สังคม). Master’s dissertation, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.

Dye, Thomas R. (1995). Understanding public Policy (8th ed.). NewJersey: Prentice-Hall, Inc.

Jitthatham, J. (2009). The Development Management Model with the Participation of the National Police Agency to Provide Basic Education to Prevent Drug abuse and Crime in Disadvantaged Children (การพัฒนารูปแบบการบริหารการมีส่วนร่วมของสำนักงานตำารวจแห่งชาติ ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อป้องกันยาเสพติดและอาชญากรรมในเด็กด้อยโอกาส). Master’s dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Mulhall, H.C. (1995). A Study of tenth Grade Student Attitudes Toward and Drug Knowledge of drug Abuse When Related to a Drug Education Program. Dissertation Abstracts International, 38(1): 583-A.

Nakhon Phanom. (2013). The Performance Prevent and Resolve Drug in Fiscal 2556 (ผลการดำเนินงานป้ องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี งบประมาณ 2556). Briefing papers drugs in Fiscal 2556, The Earth Centre overcome drugs Nakhon phanom province, Nakhon phanom: The Center for land forces to defeat the drugs.

Nong Khai. (2013). The Performance Prevent and Resolve Drug in Fiscal 2556 (ผลการดำเนินงานป้ องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี งบประมาณ 2556). Briefing papers drugs in Fiscal 2556, The Earth Centre overcome drugs Nong Khai province, Nong Khai: The Center or land forces to defeat the drugs.

Sanhaowatee, C. (2012). Amphetamine spilled over East (ยาบ้าทะลักอีสานเหนือ). [Online]. Retrieved September 6, 2012 from http://www.oknation.net/blog/print.php?id=788399

Sriprasom, W. (2006). The Achievement of Compliance Measures in the Development of Knowledge about Drug use Computers: A Case Study of a Police Station in Phrae Provincial Police (ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติตามมาตรการในโครงการพัฒนาความรู้ด้านการปราบปรามยาเสพติดโดยใช้คอมพิวเตอร์ : กรณีศึกษาสถานีตำรวจในสังกัดตำ ารวจภูธรจังหวัดแพร่). Master’s Thesis, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.

The Office Associate Director Center for Land Forces to Defeat the Drugs. (2012). The Summary of Performance by Strategic Plan Earth beat Drugs since 2555 Q1 (สรุปผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด พ.ศ. 2555 ไตรมาสที่ 1). Bangkok: The Center for land forces to defeat the drugs.