การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านบทอ่านเล่าเรื่องโดย ใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่าผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสร้อยทอง สำนักงานเขตบางซื่อกรุงเทพมหานคร (The Development of Narrative Text Supplementary Reading Materials by Integrating Story Grammar with Animated Story for Prathom 6 Students in Wat Soi Thong School,Bangsue District, Bangkok )

Main Article Content

บุญญริน บุญาบริรักษ์ Boonyarin Booyaborrirak
วิสาข์ จัติวัตร์ Wisa Chattiwat

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านบทอ่านเล่าเรื่อง โดยใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่า (Story Grammar) ผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว (Animated Story) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านบทอ่านเล่าเรื่องโดยใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่าผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหวของนักเรียน ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกและรูปแบบกิจกรรม 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะและรูปแบบกิจกรรมที่ผู้วิจัยออกแบบไว้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสร้อยทอง กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงระยะเวลาในการทดลองอยู่ในระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาในการเรียน 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านบทอ่านเล่าเรื่องโดยใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่าผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว พร้อมแผนการสอน จำนวน 8 บท แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านก่อนและหลังการทดลอง ตารางบันทึกการใช้กลวิธีระหว่างการอ่าน และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ t-test เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านบทอ่านเล่าเรื่อง และใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการหาค่าระดับมาตรฐานในการหาค่าระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านบทอ่านเล่าเรื่องผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านบทอ่านเล่าเรื่องภาษาอังกฤษ โดยใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่าผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.50/83.56 2) ความสามารถในการอ่านบทอ่านเล่าเรื่องในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.053) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่าผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าระดับเฉลี่ย (x̄) อยู่ระหว่าง  4.46-4.79 และมีค่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.52

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Amer, A. A. (2003). Teaching EFL/ESL Literature. The Reading Matrix, 3(2): 63-73.

Buakumpai, A. (1997). The Construction of Exercises for Developing Skill of Words Uses in Writing Proses for Students in Mathayomsuksa Five (การสร้างแบบฝึกเพื่อเสริมทักษะการใช้ถ้อยคำในงานเขียนร้อยแก้ว สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5). Master dissertation, Teaching Thai Language, Faculty of Education, Silpakorn University, Nakorn Pathom Thailand.

Boonjansri, S. (2013). The Development of Reading Comprehension Exercises by Using Local Information for M. 4 Students (การพัฒนาแบบฝึกการอ่านบทอ่านเล่าเรื่องโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4). Veridian E-Journal, 6(1): 201.

Chattiwat, W. (2000). Teaching English (การสอนภาษาอังกฤษ). Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Finocchiaro, M. and Brumfit, C. (1983). The Functional-National Approach: From Theory to Practice (วิธีการทำงานจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ). New York: Oxford University Press.

Gonzalez, D. (1998). A Whole Language Project: Using Story Grammar in the EFL High School Classroom (กิจกรรมทางภาษา: การใช้โครงสร้างเรื่องเล่าสำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับมัธยมศึกษา).English Teaching Forum, 36(1): 14-19.

Kunaruk, K. (1996). Design Teaching (การออกแบบการเรียนการสอน). NaKhon Pathom: Faculty of Education, Silpakorn University.

Mandler, J. and Johnson, N. (1977). Remembrance of Things Parsed: Story Structureand Recall (การจำโดยใช้โครงสร้างเรื่องเล่าและการเล่าทวนเรื่อง). Cognitive Psychology, 9: 111-151.

Onwimon, S. (2012). Save ASEAN: The Use of English and Other Languages in the Region. The Future of ASEAN in Thailand (บันทึกอาเซียน : การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาคกับอนาคตของไทยในอาเซียน). [Online]. Retrieved December 20, 2012 from http://blog.eduzones.com/wigi/81880.

Perderson, M. (1995). Storytelling and the Art of Teaching (การเล่าเรื่องและการใช้ศิลปะในการสอน). English Teaching Forum, 34(5): 2-5.

Seels, B. and Glasgow, Z. (1999). Exercise in Instruction Design (แบบฝึกสำหรับการออกแบบการสอน). New york: MerrilPublishing Company.

Taylor, D. S. (1985). Teaching Reading Comprehension in the Content of English as a Second or Foreign Language (การสอนอ่านเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ). The British Journal of Language Teaching, 23: 163-168.

Williams, E. (1986). Reading in the Language Classroom. London: The Macmillan Publisher.

Wright, A. (1995). Storytelling with Children. Oxford: Oxford University Pr