ยุทธศาสตร์การสร้างตัวแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง Strategies for Model Construction of Sustainable Tourism in Lower Central Plain Province
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “ยุทธศาสตร์การสร้างตัวแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2.) เพื่อศึกษานโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวซึ่งนำไปสู่การสร้างตัวแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3.) เพื่อสร้างตัวแบบการท่องเที่ยวอย่า่งยั่งยืน ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่างให้สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกไปสู่กระแสชุมชนภิวัตน์ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิเิคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูง จำนวน 27 คน การสนทนา กลุ่ม จำนวน 63 คนผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.) การวิเคราะห์เชิงเอกสารพบว่า การกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวของประเทศไทยไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากภาครัฐยึดหลัก การรวมศูนย์อำนาจในการบังคับบัญชา การบริหารจัดการภาครัฐจึงเป็นจุดอ่อนในการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ ขาดการวางแผนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ขาดเอกภาพในการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน ชุมชนขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการการท่องเที่ยว 2.) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายการท่องเที่ยวยังไม่ประสบผลสำเร็จในทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน เนื่องจากอำนาจการตัดสินใจไม่ได้อยู่ที่ประชาชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว ควรปรับแนวทางบริหารจัดการให้ชุมชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน 3.) ผลการประชุมระดมความคิดเห็นภาคประชาชนและท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่า่ง เห็นว่า่ การจัดการการท่องเที่ยวอย่า่งยั่งยืนควรเป็นการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยภาครัฐและภาคเอกชนสนับสนุนอย่างจริงจัง การวิจัยยังพบว่า หากมีการกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดการท่องเที่ยวชุมชนที่ชัดเจน นำไปสู่การสร้างตัวแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่คำนึงถึงความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และมีการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม
คำสำคัญ : 1. ยุทธศาสตร์. 2. ตัวแบบ. 3. การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.
Abstract
The objectives of this study were to 1.) study Thai strategy and tourism policy formulation of tourism whichaffected sustainable tourism management. 2.) study the policy and tourism strategy which followed the sustainabletourism model construction. 3.) to construct a sustainable tourism model in the lower central plains provincesto enhance the support of globalization to localization. The study used a qualitative research method composedof documentary research, a focus group of 63 participants randomly drawn by purposive sampling methods andindepth interviews of 27 key informants.The findings of this study are as follows : 1.) the documentary research found that Thai strategies andsustainable tourism could not be implemented effectively due to the centralization in planning and managing.There were many weakness in management comprising of planning in natural resources utilization, lack of unityin integration and the community participation. 2.) the results of indepth interviews with tourism experts weresimilar to the documentary research because the decision making power did not belong to people who own thetourist places. The management should be changed to encourage more people to participation in various functions.3.) the results of the focus group confirmed that a sustainable tourism model should be conducted by communitybase tourism and the government sector should be the facilitator. The study showed that the tourism indicatorscould create a localized tourism model which shows a balance of economic, social, cultural and environmentalprofit distribution.
Keywords : 1. Strategy. 2. Model. 3. Sustainable Tourism