การแปลแต่งร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมสมัยธนบุรีจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ 1 The Translation of Chaophraya Phrakhlang (Hon)’s Raiyao Mahavessantarajataka Relating to the Thonburi to the Early Rattanakosin Social Context
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิธีการแปลร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมไทย ด้วยการเปรียบเทียบกับอรรถกถาเวสสันตรชาดก ผลการศึกษาพบว่าเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ใช้วิธีการแปลโดยขยายความ ตัดทอน และดัดแปลงเนื้อความหรือรายละเอียดบางประการและใช้วิธีการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ ได้แก่ การเสนอเชิงปริมาณด้วยการกล่าวซ้ำ และการอธิบายแสดงเหตุผล แสดงรายละเอียด และให้ข้อมูล เพื่อโน้มน้าวใจให้รับรู้สารเรื่องทานและปัญญาที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมของตนและผู้รับสาร ซึ่งสอดคล้องกับบริบททางสังคมในสมัยกรุงธนบุรีจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะนโยบายด้านการศาสนาและสังคมในรัชกาลที่ 1
คำสำคัญ : 1. เจ้าพระยาพระคลัง (หน). 2. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก, การแปล.
Abstract
The aim of this article is to study the translation techniques of Chaophraya Phrakhlang (Hon)’sRaiyao Mahavessantarajataka relating to the context of Thai Society comparison with the Atthakatha version.The study found that the poet used three translation techniques for reader persuasion namely addition (incontent), ellipsis (in content and details) and the adaption of some details. He used two styles of persuasivecommunication, namely quantitative presentation, especially repetition, and explanation by using reason,detail and fact. His techniques and persuasion could convey two important messages, namely generosityand wisdom. These relate to the Thonburi to early Rattanakosin social contexts, especially the religious andsocial policies in the reign of King Rama I.
Keywords : 1. Chaophraya Phrakhlang(Hon). 2. Mahavessantarajataka, translation