การรับแนวคิดพุทธศาสนาในงานประพันธ์ของคาร์ล แกร์เลอรุพ โธมัส มันน์ และแฮร์มันน์ เฮสเซอ 1 The Reception of Buddhism in the Works of Karl Gjellerup, Hermann Hess and Thomas Mann
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
นักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 3 ท่านคือ คาร์ล แกร์เลอรุพ (Karl Gjellerup ค.ศ.1917)โธมัส มันน์ (ค.ศ.1929) และแฮร์มันน์ เฮสเซอ (ค.ศ.1946) ล้วนเป็นนักเขียนช่วงต้นของยุคสมัยใหม่ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นนักเขียนที่มีผลงานโดดเด่นหลายชิ้นที่สะท้อนแนวคิดจากอินเดีย รวมทั้งแนวคิดจากพุทธศาสนา อีกทั้งนักเขียนที่เอ่ยนามมาทั้งหมดนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอินเดียและแนวคิดพุทธศาสนาไม่มากก็น้อยนวนิยายของนักประพันธ์ชาวเดนมาร์ก คาร์ล แกร์เลอรุพ (1857-1919) เรื่อง “กามนิต-ผู้แสวงบุณย์-นวนิยายตำนาน” (Der Pilger Kamanita-Ein Legendenroman ค.ศ.1906) และนวนิยายเรื่อง “สิทธารถะ” (Siddharta, ค.ศ.1922) ของแฮร์มันน์ เฮสเซอ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นนวนิยายที่ใช้พุทธศาสนาเป็นแก่นเรื่องหลัก ในนวนิยายทั้งสองเรื่องนี้ ตัวเอกของเรื่องคือ สิทธารถะและกามนิต ล้วนแสวงหา “ความจริง” โดยที่ “ความจริง” ของตัวเอกทั้งสองนั้นแตกต่างกัน ในเรื่อง “สิทธารถะ” เราได้พบแนวคิดและตัวละครในเรื่องซึ่งมีที่มาจากพุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดพบว่า ส่วนประกอบเหล่านี้เป็นเพียงพุทธศาสนาแต่เปลือกนอกเท่านั้นเช่นเดียวกับที่พบว่า บทละครโศกนาฏกรรมเรื่อง “เฟาส์” (Faust) ของเกอเธ่อ “สวมเสื้อคลุม” ของคริสต์ศาสนานอกจากนี้ หนทางแสวงหา “ความจริง” ของกามนิตในงานประพันธ์ของแกร์เลอรุพ ยังต่างจากหนทางแสวงหาความจริงของสิทธารถะ นั่นคือ กามนิตมิได้เดินทางค้นหาความจริงผ่านการแสวงหาตนเอง เช่น สิทธารถะ แต่กามนิตค้นพบ“ความจริง” โดยอาศัยความรักอันมั่นคงของเขาที่มีต่อวาสิฏฐีนางผู้เป็นที่รัก ผู้ซึ่งช่วยให้กามนิตเห็นนิมิตภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กามนิตได้พบและสนทนาด้วยก่อนที่จะจบชีวิตโดยไม่รู้เลยว่าได้พบกับองค์สมณโคดมแล้วผลงานประพันธ์ของโธมัส มันน์นั้นแตกต่างจากผลงานของแกร์เลอรุพและเฮสเซอตรงที่ล้วนเป็นงานประพันธ์ที่มีรากหยั่งลึกอย่างมั่นคงในขนบของวัฒนธรรมยุโรป ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนา เนื่องจากในงานประพันธ์ของโธมัส มันน์ เราไม่พบส่วนประกอบใดๆ ที่เป็นพุทธโดยตรง อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าพิศวงว่า ในงานประพันธ์ประเภทเรื่องเล่า (Erzählung) หรือ โนเวลเลอ (Novelle หรือ นวนิยายขนาดสั้น) ของโธมัส มันน์หลายชิ้นเราได้พบแนวคิดพุทธศาสนาเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง “การรู้เท่าทันปัจจุบัน” ซึ่งเป็นคุณสมบัติและอุปนิสัยของตัวเอกเช่นในเรื่อง “ความตายที่เวนิส” (Der Tod in Venedig) “ความรู้สึกผิดหวัง” (Enttäuschungen) “ห้วงทุกข์” (SchwereStunde) หรือ “รอวันตาย” (Der Tod) บทความนี้เป็นบทความนำร่องของโครงการวิจัยที่ศึกษาวิเคราะห์เรื่องการรับพุทธศาสนาในงานประพันธ์ของแกร์เลอรุพ เฮสเซอ และโธมัส มันน์ โดยผู้วิจัยใช้ตัวอย่างผลงานประพันธ์เรื่อง “กามนิต-ผู้จาริกแสวงบุณย์” ของแกร์เลอรุพ “สิทธารถะ” ของเฮสเซอ และผลงานโนเวลเลอบางเรื่องของโธมัส มันน์คำถามหลักของงานวิจัย คือ การรับพุทธศาสนาในงานประพันธ์ของเฮสเซอ แกร์เลอรุพ และโธมัส มันน์แตกต่างกันอย่างไร การแสวงหา “ความจริง” ของปัจเจกบุคคลจากมุมมองของพุทธศาสนาและจากมุมมองในบริบทของวัฒนธรรมยุโรปเป็นอย่างไร
คำสำคัญ : 1. การรับพุทธศาสนา. 2. แกร์เลอรุพ. 3. แฮร์มันน์ เฮสเซอ. 4. โธมัส มันน์.
Abstract
The Nobel Prize laureates Karl Gjellerup (1917), Thomas Mann (1929), and Hermann Hesse (1946)can be counted among those early modernist European writers who—with varying intensity—dealt withIndian-Buddhist thought and were influenced by it.In this research essay, the author investigates the literary works of Hermann Hesse’s Siddhartha(1922) and Karl Gjellerup’s Der Pilger Kamanita—Ein Legendenroman (The Pilgrim Kamanita: A LegendaryRomance, 1906) and some early “Novelleas” written by Thomas Mann. The first two novels are internationallyrenowned for their Indian-Buddhist themes. In contrast to the works by Gjellerup and Hesse, Thomas Mann’searly stories are all firmly rooted in European culture and cannot be called Buddhist literature, not evenindirectly Buddhist or Buddhist to a certain extent, because there are no explicit Buddhist elements at all.Surprisingly, however, in numerous of Mann’s early novellas one can find Buddhist ideas in the thoughts andactions of the characters.In this article, the following questions are of relevance: In what way is the reception of Buddhismdifferent in Hesse, Gjellerup, and Mann? How can the search for “Truth” and for oneself be understood froma Buddhist and from a European cultural perspective?
Keywords: 1. Reception of Buddhism. 2. Gjellerup. 3. Hesse. 4. Thomas Mann.