การศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นประจำภาคเหนือตอนล่าง เพื่อการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก A Study of Local Identity of The Lower Northern of Thailand for Graphic Design on Souvenir Package

Main Article Content

ทินวงษ์ รักอิสสระกุล
ธัญญธร อินทร์ท่าฉาง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ท้องถิ่นประจำภาคเหนือตอนล่าง เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกประจำภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม 9 จังหวัด และวิธีการสุ่มแบบบังเอิญในรอบ 3 สัปดาห์ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามเชิงสำรวจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง แบบสำรวจความพึงพอใจชุดรูปแบบเรขศิลป์ภาคเหนือตอนล่าง และแบบประเมินประสิทธิภาพชุดรูปแบบเรขศิลป์ภาคเหนือตอนล่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.) อัตลักษณ์ประจำภาคเหนือตอนล่าง ควรสื่อถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา วัด วิหาร อุทยานแห่งชาติ และโบราณสถานทางประวัติศาสตร์, เทศกาลงานประเพณี, ภาษาพูด, การแต่งกาย, คำขวัญ และสินค้าพื้นเมืองของที่ระลึก ตามลำดับ

2.)  การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างที่นักท่องเที่ยวนึกถึงมากที่สุดกับจังหวัดที่อยากมีส่วนร่วมงานมากที่สุด ไม่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดอุทัยธานี มีนักท่องเที่ยวอยากร่วมงานมากที่สุดแต่มีผู้นึกถึงน้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่าเทศกาลงานประเพณีไม่มีผลต่อการจดจำหรือระลึกถึง แต่ขนาดและความเจริญทางกายภาพมีผลต่อการสร้างความจดจำได้ดีกว่า

3.) การออกแบบชุดรูปแบบเรขศิลป์ภาคเหนือตอนล่าง ได้แรงบันดาลใจการออกแบบมาจากสายน้ำแห่งชีวิต

4.) ประสิทธิภาพของการออกแบบชุดรูปแบบเรขศิลป์ภาคเหนือตอนล่าง ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาก แบ่งออก เป็นรายด้าน คือ สีฟ้าและเขียวสามารถบ่งบอกและสื่อถึงความเป็นภาคเหนือตอนล่าง, ภาพรวมเหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกอยู่ในเกณฑ์มาก, รูปแบบสามารถสื่อสารแนวทางอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง, ขนาดสัดส่วนสัมพันธ์กับการมองและการย่อขยายอยู่ในเกณฑ์มาก และลวดลายสามารถบ่งบอกและสื่อถึงความเป็นภาคเหนือตอนล่างอยู่ในเกณฑ์มาก ตามลำดับ

คำสำคัญ: 1. อัตลักษณ์.  2. ภาคเหนือตอนล่าง.  3. เรขศิลป์.  4. บรรจุภัณฑ์.

Abstract

The purpose of this research was to study the local identity of lower northern Thailand for graphic design on souvenir package. The sample group was 100 customers or tourists grouped by cluster sampling into nine provinces and carried out for three weeks by accidental. The instruments used in this study consisted of a survey questionnaire on the local identity of lower northern Thailand, a satisfaction survey form of the graphic design, and an efficiency evaluation form of the graphic design. Data were analyzed by frequency, percentage and standard deviation.

The results found were as follows:

1.) Local identity of lower northern Thailand conveyed religious tourist attractions, temples, chapels, national parks, historical sites, traditional festivals, spoken languages, costumes, mottos, and local souvenirs respectively.

2.) For the data analysis thinking, there was no correlation between the most prominent province and the most visited province. To exemplify this, the “Tak Bat Devo” in Uthai Thani province was the least-in-attendance festival; however, tourists would like to stopover for it the most. This showed that traditional festivals did not affect the preference of goers whereas provincial size and physical progress did.

3.) Graphic design of lower northern Thailand was inspired by the River of Life.

4.) The overall efficiency of graphic design of lower northern Thailand was at the high level. Other aspects of the graphic design were found that blue and green colors could convey the identity of lower northern Thailand, the application of the graphic design for the souvenir package was appropriate at the high level, the graphic design form could convey local identity ways of lower northern Thailand, the proportion was correlated with vision and scaling at the high level, and the graphic design could convey the identity of lower northern Thailand at the high level respectively.

Keywords: 1. Identity.  2. Lower Northern.  3. Graphic.  4. Package.

 

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ