วรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก”: การสืบทอดและสร้างสรรค์ด้านเนื้อหาคำสอน The Southern Didactic Literature in Booklet Format: its Transmission and Creation of Content
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสืบทอดและสร้างสรรค์ด้านเนื้อหาคำสอนของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” ซึ่งมีขนาดรูปเล่มคล้ายคลึงกับหนังสือวัดเกาะ เป็นผลงานของกวีชาวใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลาและพัทลุงซึ่งแต่งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 -2520 ผลการวิจัยพบว่าเนื้อหาของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” นี้มีทั้งที่สืบทอดจากคำสอนโบราณ และสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ให้แก่ชุมชนชาวใต้ ที่เป็นการสืบทอดนั้นส่วนหนึ่งเป็นการนำคำสอนของเก่าที่มีมาแต่เดิมซึ่งคิดว่ายังใช้ได้ดีในสังคมสมัยนั้นมาพิมพ์ซ้ำเพื่อเผยแพร่ อีกส่วนหนึ่งนำหลักคำสอนดั้งเดิมมาแต่งขึ้นใหม่และตั้งชื่อใหม่ ส่วนที่เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่นั้นเป็นลักษณะเด่นของวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นคำสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนภาคใต้ในสมัยที่มีการแต่งนั้น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัวและระดับชุมชน โดยเน้นย้ำให้ทุกระดับรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมแบบใหม่ นอกจากนี้ก็ให้ช่วยกันพัฒนาชุมชนเกษตรกรรม และให้ช่วยกันสร้างชาติตามนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม คำสอนในวรรณกรรมคำสอนภาคใต้ กลุ่มนี้จึงเป็นคำสอนที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมและการเมืองในเวลานั้นอย่างเด่นชัด
คำสำคัญ: 1. วรรณกรรมคำสอนภาคใต้ “ฉบับพิมพ์เล่มเล็ก” 2. สืบทอด 3. สร้างสรรค์
Abstract
This article aims to study the transmission and creation of content of the Southern didactic literature in booklet format which is similar to the format of Wat Koh books, but they had been composed by the Southern authors, living in Nakhon Si Thammarat, Songkhla and Pattalung provinces. This southern didactic was composed during B.E. 2470-2520 (A.D. 1927-1977), could be categorized into 2 groups; the traditional and creative ones.
The traditional content had been presented through the reproduction of the Southern didactic literature in manuscript in printing for distribution on one way and through the selection of traditional content and concept for composition of new literature under new titles in another way. The newly creative contents are the salient characteristic of the literature in question. They focus on developing the Southern residents’ lives quality at individual, family and social levels. All levels are taught specifically so as to be able to adapt themselves in response to social changes; moreover they could help develop their agricultural communities and their nation which would eventually thrive as planned by the PM. Field Marshal P. Pibulsongkram. According to the content of the Southern didactic literature in booklet format, it is in relation to social and political contexts apparently.
Keywords: 1.The Southern Didactic Literature in Booklet Format 2.Transmission 3. Creation