วรรณศิลป์ล้านนาจากมหาชาติภาคพายัพ สำนวนสร้อยสังกร Lanna literay arts in Mahajati Payap part, Soysangkorn version
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาความงามทางวรรณศิลป์ในวรรณกรรมล้านนาเรื่องมหาชาติภาคพายัพ สำนวนสร้อยสังกรว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้มีการสืบทอดการตั้งธรรมหลวงของล้านนาปัจจุบัน ข้อมูลที่ใช้ศึกษานำมาจากหนังสือมหาชาติภาคพายัพ ฉบับสร้อยสังกร สำนวนเอก สอบทานและชำระโดย พระธรรมราชานุวัตร พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2498
วรรณกรรมล้านนา เรื่องมหาชาติภาคพายัพ สำนวนสร้อยสังกรนี้จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านแรกฉันทลักษณ์ที่ใช้แต่งและด้านที่สองคือ วรรณศิลป์ที่เกิดจากการเล่นเสียง คำและความหมาย
ผลการศึกษาพบว่าด้านฉันทลักษณ์ที่ใช้แต่งมหาชาติสำนวนสร้อยสังกรเป็นร่ายยาวซึ่งเอื้อต่อการแต่งคำประพันธ์และการเทศน์จึงทำให้สำนวนสร้อยสังกรเป็นที่นิยมในพระนักเทศน์เป็นพิเศษ และด้านวรรณศิลป์ที่เกิดจากการเล่นเสียงพบว่า กวีล้านนาใช้ 3 กลวิธี คือ การเล่นเสียงสัมผัส การเล่นสัทพจน์และและการใช้คำอัพภาส อีกทั้งการเล่นคำกวีล้านนาใช้ 2 กลวิธี คือ การเล่นซ้ำคำและการเล่นซ้ำกลุ่มคำ ในด้านสุดท้ายด้านความหมายกวีล้านนาใช้ 2 กลวิธี คือ การสร้างสุนทรียภาพด้วยการใช้ภาพพจน์ เช่น อุปมา และบุคคลวัต เป็นต้น ส่วนสุนทรียรสในมหาติสำนวนสร้อยสังกรพบว่ามี 3 รสที่พบมากที่สุด คือ กรุณารส ศฤงคารรสและหาสยรส เป็นต้นอาจจะกล่าวได้ว่าความงามทางวรรณศิลป์ของมหาชาติสำนวนสร้อยสังกรเป็นสำนวนที่ได้รับการยกย่องว่ามีถ้อยคำไพเราะจึงนิยมนำมาใช้เทศน์ในประเพณีตั้งธรรมหลวงมากกว่าสำนวนอื่น
คำสำคัญ: 1. วรรณศิลป์ล้านนา. 2. มหาชาติ. 3. สำนวนสร้อยสังกร.
Abstract
The purpose of this research is to study the beauty in art created language of Lanna literature, title: Mahajati Payap, Soisangkorn Version, to see that it is the key factor to inherit Tang Tham Luang tradition of present Lanna. The information used for study is from the book: Mahajati Payap, Soisangkorn Version, the major version, checked and revised by Phra Tham Rachaanuwat,on in year 1955.
To study This Lanna literature, Mahajati Payap, Soisangkorn Version, it was divided into two areas: the first one is prosodic used for composing; and the second one is sound of the art created language from playing on words, phonics and meanings.
The results showed that the prosody used for composing Mahajati, Soisangkorn Version is a poetry supporting for composing, verse, and preach, so that the Soisangkorn Version is popular among the preachers. And the aspect of art created language from playing on phonics, it was found that the Lanna poet used three strategies: playing on rhyme, onomatopoeia and using of repeated words. Moreover, the Lanna poet also used 2 strategies for playing on words: repeating words and repeating group of words. In the last aspect, the Lanna poets used 2 strategies: creation of aesthetics using image such as metaphor and personification, etc. For the aesthetic taste in the Mahajati, Soisangkorn Version, it was found that the 3 tastes found most are taste of kindness, taste of love, and taste of humor, etc. This might be said that the beauty in art created language of Mahajati, Soisangkorn Version, is the one esteemed that it contains melodious words. So, it is more popular to be used in preacher in the Tang Tham Luang tradition than other versions.
Keywords: 1. Lanna art created language. 2. Mahajati. 3. Soisangkorn Version.