การประมาณค่าความผันผวนและการพยากรณ์มูลค่ากองทุนรวมหุ้นระยะยาว Volatility Estimation and Forecasting of the Value on Long Term Equity Fund
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเครื่องมือสำหรับนักลงทุนเพื่อเลือกจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม โดยใช้ข้อมูลรายวันของ 4 กองทุน คือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (SCBLT1) กองทุนเปิดเค 70:30 หุ้นระยะยาวปันผล (K70LTF) กองทุนเปิดเคหุ้นระยะยาว (KEQLTF) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว (B-LTF) ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2549 ถึงวันที่ 12 มกราคม 2555 จำนวน 1,298 วัน การทดสอบ unit root ของมูลค่าหน่วยลงทุนพบว่าที่มีลักษณะนิ่ง (stationary) ที่ระดับ 1st differencing การพิจารณา Correlogram ของข้อมูลอนุกรมเวลาของมูลค่าหน่วยลงทุนกองทุนที่มีลักษณะนิ่ง เพื่อสร้างแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดเพียง 1 แบบจำลอง โดยมีเกณฑ์การพิจารณา คือ เลือกแบบจำลองที่มีค่า Schwarz Criterion และค่า Akaike Information Criterion ที่ต่ำที่สุด โดยใช้แบบจำลอง ARIMA-GARCH, ARIMA-EGARCH และ ARIMA-GARCH-M ผลการทดสอบแบบจำลองที่มีความแม่นยำในการพยากรณ์มูลค่าหน่วยลงทุน ซึ่งได้จากการเปรียบเทียบค่า RMSE และ MAPE ที่มีค่าต่ำสุด พบว่าแบบจำลอง ARIMA-GARCH เหมาะสำหรับกองทุนเปิดเคหุ้นระยะยาว ค่าความคลาดเคลื่อนคือ 0.091 แบบจำลอง ARIMA-EGARCH เหมาะสำหรับกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 และกองทุนเปิดเค 70:30 หุ้นระยะยาวปันผล ค่าความคลาดเคลื่อนคือ 0.052 และ 0.040 และแบบจำลอง ARIMA-GARCH-M เหมาะสำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว ค่าความคลาดเคลื่อนคือ 0.082 อย่างไรก็ตามการพยากรณ์โดยใช้แบบจำลอง GARCH นั้นเป็นการพยากรณ์ที่ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยภายนอก เช่น ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเมือง และภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ลงทุนในตลาดทุน ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกร่วมด้วย
คำสำคัญ: 1. การพยากรณ์. 2. กองทุนรวม. 3. การ์ช.
ABSTRACT
This study aims to present the way for investors to consider their investment decision. The SCB Dividend Stock 70/30 Long Term Equity Fund (SCBLT1), K Equity 70:30 LTF (K70LTF), K Equity LTF(KEQLTF) and Bualuang Long - Term Equity Fund (B-LTF) are studied by using daily of net asset value per unit beginning from 9 August 2006 until 12 January 2012 including 1,298 days in total. The results of unit root test found that the data of four funds has stationary at first differencing. From the consideration of corellogram result that an appropriate model for net asset value per unit of each fund is chosen by Schwarz Criterion and Akaike Information Criterion by using ARIMA-GARCH, ARIMA-EGARCH and ARIMA-GARCH-M models. The forecasting results of net asset value per unit of each fund by root mean square error and mean absolute percentage error find that the K Equity 70:30 LTF with ARIMA-GARCH yield the least value of root mean square error is 0.091, SCB Dividend Stock 70/30 Long Term Equity Fund and K Equity 70:30 LTF with ARIMA-EGARCH yield the least value of root mean square error are 0.052, 0.040 and Bualuang Long - Term Equity Fund with ARIMA-GARCH-M yield the least value of root mean square error is 0.082. However, the exogenous variables such as economic fluctuation, politics and disasters which have an important to value of these investments are not included in GARCH models. Therefore, the exogenous variables should be considered to include in the models for the further studies.
Keywords: 1.Forecasting. 2. Equity Fund. 3. GARCH.