การสร้างองค์ความรู้การวิจัยสร้างสรรค์ภาพลักษณ์การแพทย์แผนไทยตามหลักแนวคิดเซคิ (The Creation of Knowledge, Research, and Creative Image of Thai Traditional Medicine Based on The SECI Model)

Main Article Content

อรัญ วานิชกร Aran Wanichakorn

Abstract

          การออกแบบภาพลักษณ์การแพทย์แผนไทยตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ SECI Model มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.ศึกษารวบรวมองค์ความรู้ด้านการออกแบบองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภาพลักษณ์การแพทย์แผนไทยที่ดี ร่วมสมัยสู่ระดับสากล 2.แสดงพัฒนาการขององค์ความรู้ที่ใช้ในการออกแบบ โดยกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์วิจัยและพัฒนาจากฐานการปฏิบัติการ (Practice-led Research) ใน 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย เพื่อวิเคราะห์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ SECI Model เป็นวงรอบของการสร้างสรรค์ให้กับ 3 หน่วยงาน จากนั้นสรุปหาข้อค้นพบและองค์ความรู้ที่ได้จากแต่ละหน่วยงาน รวบรวม วิเคราะห์เปรียบเทียบร่วมกับประสบการณ์ของผู้วิจัย และรายงานผลเป็นข้อค้นพบจากการทำงานวิจัย  ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยรวบรวมองค์ความรู้ด้านการออกแบบในวงรอบหน่วยงานที่ 1 การแพทย์แผนไทยประยุกต์สวนสุนันทา จากการทำงานออกแบบและพัฒนาภาพลักษณ์แบรนด์องค์กรเชิงวัฒนธรรมด้านสุขภาพ:ตำรับวังสวนสุนันทา ค้นพบรูปแบบตราสัญลักษณ์ตำรับวังสวนสุนันทาที่ได้จากองค์ประกอบร่วม เฉลว ร่วมกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นของวังสวนสุนันทา หน่วยงานที่ 2 มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรค้นพบ อัตลักษณ์การแพทย์แผนไทยได้แก่  1.เวชกรรมไทย ใช้สัญลักษณ์ในการออกแบบ ได้แก่ เฉลว, อุณาโลม 2.เภสัชกรรมไทย ได้แก่ ใบไม้สมุนไพร หม้อยาไทย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มธรรมชาติสัญญะ และวัตถุสัญญะ ส่วนใบยาที่เลือกใช้คือ ใบบัวบก 3.ผดุงครรภ์ไทย ใช้สัญลักษณ์ต่างๆช่วยในการออกแบบ ได้แก่ เปลือกไข่ รูปทรงของมารดาอุ้มบุตร 4.หัตถเวชกรรมไทย(นวดไทย) ใช้สัญลักษณ์ต่างๆช่วยในการออกแบบได้แก่ ท่านวด ฤๅษี จิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์ ผลการออกแบบได้นำเสนอในงานนิทรรศการทางศิลปกรรมเพื่อการแพทย์แผนไทยขึ้นที่อาคารพิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาอภัยภูเบศร และหน่วยงานที่ 3 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ค้นพบเพิ่มเติมในส่วนของบรมครูที่เป็นอัตลักษณ์การแพทย์แผนไทย ได้แก่ พระไภษัชยคุรุไวฑูรประภาตถาคต(พระกริ่ง) และหมอชีวกโกมารภัจจ์ โดยนำเสนอด้วยรูปแบบของงานศิลปกรรมเพื่อการตกแต่งผนังอาคาร และส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ระลึกของหน่วยงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ที่ทับกระดาษ ที่เสียบปากกา พวงกุญแจ ฯลฯ สุดท้ายองค์ความรู้ที่ได้จากหน่วยงานทั้ง 3 แห่งรวมกัน ได้เห็นความสำคัญของวงรอบการสร้างองค์ความรู้ การพบอัตลักษณ์การแพทย์แผนไทยที่มีคุณค่าและความหลากหลาย ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งสำหรับการออกแบบองค์ประกอบเพื่อสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการแพทย์แผนไทย และวิธีการบูรณาการศิลปกรรมเข้ากับการแพทย์แผนไทย เพิ่มความสนใจให้เกิดขึ้นต่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เป็นคนรุ่นใหม่ และแนวทางการนำเสนอใหม่ที่มุ่งเน้นสุนทรียภาพ ลดทอนรายละเอียด เพื่อส่งเสริมคุณค่าใหม่ให้ร่วมสมัย


         ด้านพัฒนาการขององค์ความรู้ที่ใช้ในการออกแบบการแพทย์แผนไทยให้มีอัตลักษณ์ (CI) ที่เป็นของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวัตถุประสงค์ บริบทของแต่ละหน่วยงานทางการแพทย์แผนไทย และออกแบบองค์ประกอบรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมภาพลักษณ์ทางการแพทย์แผนไทยได้อย่างหลากหลาย


 

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Leopairote, K. (2010). Corporation of Design (องค์กรมีดีไซน์). Bangkok: Bangkokbiznews printing.

Thaothong, S. (2010). Visual Art Creativity Research (การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ ). Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi, Thailand.

The Institute of Thai Traditional Medicine. (2013). Thai Traditional and Alternative Health Profile (รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และ การแพทย์ทางเลือก). Department for the Development of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health, Thailand.

Tinnaluck, Y. (2009). The Secret of Local Wisdom (ปริศนาแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น).Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Visithanon, K., Director Bureau of Policy in Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine. Interview, March 16, 201.

Jeamboonsri, P., Deputy Director General in Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine. Interview, October 17, 2013.

Tinnakorn na Ayutthaya, K., Owner of Thai traditional clinic. Interview, September 5, 2013.

The Development of Thai Traditional and Alternative Medicine. (n.d.). The 10th National Herb Expo. (งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่10). [Online]. Retrieved September 4, 2013 from http://natherbexpo.dtam.moph.go.th

Wanichakorn, A. (2014). Thai Wisdom Knowledge: Designed and Created the Contemporary Product (องค์ความรู้ ภูมิปัญญาไทย: การออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย). Institute of Culture and Arts Journal, 15(2): 30.

Wanichakorn, A. (2014). The Design Concept of Thai Traditional Medicine Image (แนวคิดการออกแบบภาพลักษณ์การแพทย์แผนไทย). The Lecture notes in Abhaibhubejhr aesthetic exhibition at the Abhaibhubejhr Thai traditional medicine museum. Prachinburi province on December 22, 2013. Thailand.

Wanichakorn, A. (2012). The Study of Perspective Sketching Process for Product Design (การศึกษากระบวนการเขียนภาพร่างทัศนียภาพเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์) Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.