การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมกันแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (A Development of Collaborative Blended Learning Using Future Problem Solving Techniques to Promote Creativity in Graphic Design on Instructional Media of Pre-service Teacher Students, Silpakorn University)

Main Article Content

อภินภัศ จิตรกร Apinapus Chitrakorn

Abstract

                     การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกันแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อการเรียนการสอน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของคะแนนก่อนและหลังเรียน ของผู้เรียนที่มีระดับความคิดสร้างสรรค์ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน


                    กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชั้นปีที่ 1 เอกการสอนภาษาไทย ที่ลงทะเบียนเรียนในวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 26 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 13 คน (Matching Method)  โดยใช้ผลคะแนนความคิดสร้างสรรค์จากการทดสอบก่อนเรียน ตามระดับความคิดสร้างสรรค์สูงและต่ำ เพื่อเข้ารับการทดลอง 8 สัปดาห์ 


                   เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนการสอนร่วมกันแบบผสมผสาน ที่ใช้เทคนิคการฝึกคิดแก้ปัญหาอนาคต  โดยจัดการเรียนในชั้นเรียนร้อยละ 70 และการเรียนอีเลิร์นนิงร้อยละ 30  2) บทเรียนอีเลิร์นนิง รายวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา ที่ใช้เทคนิคการฝึกคิดแก้ปัญหาอนาคต 3) เครื่องมือประเมินคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อแบบ ก ของ Torrance และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์จากชิ้นงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 4) แบบสอบถามความพึงพอใจหลังเรียน รายวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา


                  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (dependent and independent t-test)


                  ผลการวิจัยพบว่า  1) การจัดการเรียนการสอนร่วมกันแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ค่าเฉลี่ยรวมมีค่า = 0.91 และผลการหาประสิทธิภาพนวัตกรรม E1/ E= 74.57/75.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดที่ 70/70 2) ผลการเปรียบเทียบผลต่างคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของคะแนนก่อนและหลังเรียน ของผู้เรียนที่มีระดับความคิดสร้างสรรค์ต่างกัน ตามการประเมินด้วยแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance พบว่าผู้เรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำและสูงมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการประเมินด้วยแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์จากชิ้นงานสอดคล้องกัน พบว่า ผู้เรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำและสูงมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนร่วมกันแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต  เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อการเรียนการสอน พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.18 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า = 0.50

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Khammanee, T. (2007). Arts of Teaching (ศาสตร์การสอน) (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Kuptapol, K. (2010). Effects of Web-Based Future Problem-Solving in Science Learning Using Video Archives upon Creative Thinking Ability of Ninth Grade Students with Different Levels of Learning Achievement (ผลของการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้วยการคิดแก้ปัญหาอนาคต บนเว็บโดยใช้คลังวีดิทัศน์ที่มีต่อความสามารถ ในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน). Master's dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Maneenark, J. From e-Learning to Blended Learning (จากอีเลิร์นนิงสู่การเรียนการสอนแบบ ผสมผสาน). E-Economy, 2, 41(December 2002): 65-68.

Mason, M. G. (2007). Collaboration and Support: Two Key Ingredients to E-Learning Implementation. [Online]. Retrieved September 20, 2013 from: http://74.125.155.132/scholar?q=cache: hCZ8FMpIQzYJ:scholar.google.com/+Noord+2007+blended+learning& hl=th&as_sdt=0&as_vis=1.

Mednick, S. A. (1962). The Associative Basis of the Creative Process. Psychological Review, 13(5): 32-43.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2012). The Eleventh National Economic and Social Development Plan (2012-1016). [Online]. Retrieved 10 July 2014 from http://www.nesdb.go.th/Default. aspx?tabid=395.

Phanmanee, A. (1997). Creative Thinking and Learning (ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้). Bangkok: Ton-or Grammy Press.

Phuwidawat, S. (1994). Techniques to Promote Creativity (เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์). Bangkok: Thai Watana Panich Press Co., Ltd.

Pichayakul, T. (2004). Development of Future Problem Solving Training Curriculum for Students in Pajabhat Institute Valaya-Alongkorn Under the Royal Patronage (การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการแก้ปัญหาเชิงอนาคตของนักศึกษา สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์). Master's dissertation, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization (1st ed.). London: Random House.

Singh, H. and Reed, C. (2001). A White Paper: Achieving Success with Blended Learning. Centra Software. [Online]. Retrieved January 13, 2013 from: http://www.centra.com/download/whitepapers/ blendedlearning.pdf.