การปฏิบัติการจิตวิทยาในวรรณกรรมสามก๊ก (Psychological Operations in the Romance of the Three Kingdoms)

Main Article Content

บุษดี อรสิริวรรณ Eknarin Bangthama

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์การปฏิบัติการจิตวิทยากับการทำสงครามในวรรณกรรม สามก๊กเพื่อให้เห็นการนำการปฏิบัติการจิตวิทยามาใช้ในการทำสงคราม ผู้วิจัยพบว่า วรรณกรรมสามก๊กนั้นใช้การปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อความมุ่งหมายทั้งทางการเมืองและการทหาร อันได้แก่ 1) เพื่อยั่วยุให้เกิดการตอบสนองจากผู้ฟังที่เป็นเป้าหมายตามที่ผู้ดำเนินการปฏิบัติการจิตวิทยาต้องการ 2) เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์และนโยบายของฝ่ายตน 3) เปลี่ยนแปลงสภาพทางขวัญทั้งฝ่ายศัตรูและฝ่ายเรา 4) เพิ่มหรือลดประสิทธิภาพในการรบ 5) ยุยงให้เอาใจออกห่างทหารฝ่ายศัตรู และ 6) ลวงข้าศึก โดยใช้การปฏิบัติการจิตวิทยาทั้งประเภทเปิดเผยและปกปิด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องความร่วมมือ และก่อให้เกิดความแตกแยก โดยผู้วิจัยเห็นว่าผู้นำในสามก๊กใช้การปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองนั่นคือ การดำรงความอยู่รอด และการรวมอำนาจ การใช้วรรณกรรมสามก๊กมาเป็นตัวอย่างในการศึกษาการปฏิบัติการจิตวิทยาจะทำให้ผู้อ่านได้เห็นว่าผู้นำที่มีจิตวิทยาดีนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์จากที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบ ให้กลับกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบ เปลี่ยนแปลงจากฝ่ายที่มีกำลังทหารน้อย ให้เป็นฝ่ายชนะศึกได้


 


 

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Chao Phraya Phra Klang. (Hon). (2004). Romance of the Three Kingdoms, as Translated by Chao Phraya Phra Klang (สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) (17th ed). Bangkok: Dok Ya.

Saengrawi, B. (2014). Tactics in the Romance of the Three Kingdoms (กลศึกพิสดารในสามก๊ก). Bangkok: Tathata.

Saengrawi, B. (2014). War tactics in the Romance of the Three Kingdoms (กลศึกสามก๊ก). Bangkok: Tathata.

Saengrawi, B. (2015). The Art of Strategy in the Romance of the Three Kingdoms (ศิลปะการใช้กลยุทธ์ในสามก๊ก). Bangkok: Tathata.

Special Warfare Division, Military Education Department, Chulachomklao Royal Military Academy. (2015). Teaching Material for the Combined Warfare Course (เอกสารประกอบการสอนวิชาการต่อสู้เบ็ดเสร็จ). Nakhon Nayok: Chulachomklao Royal Military Academy.