การสื่อสารในกระบวนทัศน์ใหม่ส่งเสริมภูมิปัญญาข้าวพื้นเมือง ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ภาคใต้ ประเทศไทย (The New Paradigm of Communication to Promote the Wisdom of Indigenous Rice in the Area of the Songkhla Lake Basin, the Southern Region of Thailand)

Main Article Content

อาชารินทร์ แป้นสุข Archarin Pansuk

Abstract

            บทความวิจัยเรื่องการสื่อสารในกระบวนทัศน์ใหม่ส่งเสริมภูมิปัญญาข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ภาคใต้  ประเทศไทย การวิจัยแบบผสมระหว่างวิจัยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างพื้นที่ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบประกอบด้วย 3 จังหวัด 13 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอควนขนุน, จังหวัดสงขลา อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ และจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอชะอวด  คือ ปราชญ์เกษตรกร  อำเภอละ 1 คน เป็นจำนวน 13 คน และ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการท่องเที่ยวและการสื่อสารหรือองค์การการท่องเที่ยวและการสื่อสารจากภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 17  คน ผลการวิจัยพบว่า 1.) ภูมิปัญญาข้าวที่ปรากฏในปัจจุบันนั้นแตกต่างจากอดีตค่อนข้างมาก ภูมิปัญญาดั้งเดิมได้เลือนหายไปและเปลี่ยนแปลงไป ภูมิปัญญาพันธุ์ข้าว,ภูมิปัญญาการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยว,ภูมิปัญญาเครื่องมือเครื่องใช้,ภูมิปัญญาโรคและศัตรูข้าว,ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ข้าวและภูมิปัญญาพิธีกรรม  นั้นลดความสำคัญลงไปอย่างมาก หรือไม่มีการกระทำพิธีกรรมเลย แต่อย่างไรก็ดี ก็มีความพยายามรักษา ภูมิปัญญาเกี่ยวกับข้าวไว้ในลักษณะของศูนย์การเรียนรู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐร่วมมือกับภาคประชาชน 2.) การสื่อสารกระบวนทัศน์ช้าง 11เชือก อันประกอบด้วย ทฤษฎีความเป็นหนึ่งเดียว, ทฤษฎีหลักการสื่อสารสองทาง ,ทฤษฎีตารางสามชั้นสามแนวของการสื่อสารเชิงบวก,ทฤษฎีสารเวลา,ทฤษฎีหลักห้าประการของวารสารศาสตร์แนวอนาคต,ทฤษฎีบทบาทหน้าที่ทั้งหกของสื่อมวลชนที่มีคุณค่า,ทฤษฎีตัวเอสเจ็ดตัวว่าด้วยความต้องการพื้นฐานของมนุษย์,ทฤษฎีแปดขั้นตอนของการสื่อสารองค์กรเชิงบูรณาการ,ทฤษฎีใหม่ส่วนผสมการตลาด  9 P,ทฤษฎีสิบกลุ่มประเภททางสังคมของผู้รับสารเป้าหมายและ  ทฤษฎีหลัก11 ประการของการสื่อสารองค์กร สามารถส่งเสริมภูมิปัญญาข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ในอนาคต


 

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Athipanyakul, T. (2013). Sustainable management of upland rice production and marketing in upper Northeastern Thailand(การจัดการการผลิตและการตลาดข้าวไร่อย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย)

Boonman, C. and Unphim, U. (2006). Possibility of Hom Mali Rice Production in Organic Farming Systems (โครงการความเป็นไปได้ของการผลิตข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์). Bangkok: Thailand Research Fund.

Boonnarat, P. (2006). Tourists Satisfaction towards Eco-Tourism Business in Samut Songkhram Province(ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในจังหวัด สมุทรสงคราม). Independent Study, Master of Business Administration, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.

Butsopha, T. (2004). Sustainable Community-Based Ecotourism Management: A Case Study of Thadan Homestay, Nakhonnayok Province(การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาท่าด่านโฮมสเตย์ ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก). Thesis, Master of Science, National Institute of Development Administration, Bangkok, Thailand.

Chaowagul, M. et al. (2011). The Study of Market Structure of Rice in Thailand (ศึกษาการทบทวนโครงสร้างตลาดข้าวของประเทศไทย). Bangkok: Thailand Research Fund.

Cheeppasop, C. (2010). Analytical of Amylose Content in Local Rice Variety with in the Songkhla Lake Watershed Area(การวิเคราะห์ปริมาณอะไมเลสในข้าวพันธุ์พื้นเมืองบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา). Bangkok: National Research Council of Thailand.

Chobbun, S. (2012). Development of water and flour's brown rice and Sangyod rice of community enterprise Kaeo District, Phatthalung. (การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำข้าวกล้อง และแป้ งข้าวกล้องสังข์หยดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง). Songkhla: Insitute of Research and Development, Songkhla Rajabhat University.

Kaviya, S. (2009). Crisis and Anti-Crisis Lecture at the conference of Moral and Political Bureau members in Royal Institute(วิกฤต – ปฎิวิกฤต บรรยายในที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมืองราชบัณฑิตยสถาน). 20 May, 2009.

Kong-rithi, W. and Patcharat, S. (2013). Dynamics of Rice Economic in Southern Thailand (พลวัตเศรษฐกิจข้าวในภาคใต้ของประเทศไทย). Bangkok: Thailand Research Fund and Knowledge Network Institute of Thailand.

Limchoowong, S. and Boonnak, C. (2012). Biodiversity-based Economy Development by Tourism Management Mechanism on Project of Business Promotion and Problem Solving.(การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ โดยกลไกการท่องเที่ยว โครงการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน). Research Journal Phranakhon Rajabhat: Social Sciences and Humanity, 7(2): 1-8.

Mahathanaseth, I. (2013). The Degree of Competition in Thai Rice Export Market (โครงการวัดระดับการแข่งขันในตลาดส่งออกข้าวของไทย). Bangkok: Thailand Research Fund.

Pakdeechanuan, P. (2002). Effect of Storage Methods on Quality of Sang Yod Rice Seed(ผลของวิธีการเก็บรักษาต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยด). Songkhla: Insitute of Research and Development, Songkhla Rajabhat University.

Pansuk, A. (2012). A Comparative Study of the Tourism Industry Development of Suratthani And Nakhonsrithammart Provinces in View to Develop the Innovative Communications to Promote Tourism (การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารส่งเสริมการท่องเที่ยว). Doctorial Thesis, Innovative Communications Program, Krirk University, Bangkok, Thailand.

Poapongsakorn, N. et al. (2013). Rice demand in Thailand(อุปสงค์การบริโภคข้าวไทย). Bangkok: Thailand Research Fund.

Seenuankaew, U. (2014). Information Behavior Model of Farmers(รูปแบบพฤติกรรมสารสนเทศของเกษตรกร). Doctoral Thesis, Information Studies Program, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.

Suansri, P. (2006). Recreation and Nature Tourism Management(การจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ) (2nd ed). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Wattanutchariya, S. et al. (2011). The Study for Survival of Thai Rice in the ASEAN Economic Community(การศึกษาความอยู่รอดของข้าวไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน). Bangkok: Thailand Research Fund.