สื่อ อัตลักษณ์ และระบบคุณค่า (Media, Identity and Value System)

Main Article Content

สายชล สัตยานุรักษ์ Saichol Sattayanurak
เกษรา ศรีนาคา Kessara Srinaka
ภัทริยา คงธนะ Pattariya Khongthana

Abstract

           บทความนี้มุ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่าง “สื่อ” กับ “อัตลักษณ์” และ “ระบบคุณค่า” โดยเลือกศึกษา “สื่อ” ที่ดูเผินๆ แล้วมักเห็นว่าปราศจากการเมือง นั่นก็คือศิลปะ กับลัทธิพิธีใหม่ๆ  และหนังสือธรรมะแนวใหม่ โดยชี้ให้เห็นว่า “สื่อ” ที่ศิลป พีระศรี สร้างขึ้นตั้งแต่หลังการปฏิวัติ พ.ศ.2475 จนถึง พ.ศ.2505 ได้กลายเป็น “ศิลปะแห่งชาติ” ที่มีส่วนอย่างมากในการสร้างความหมายของ “ความเป็นไทย” หรืออัตลักษณ์ไทย และช่วยในการปลูกฝังระบบคุณค่าที่จรรโลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจใน “ชาติไทย” ซึ่งอัตลักษณ์ไทยและระบบคุณค่าที่มาจากความหมายของ “ความเป็นไทย” นี้มีส่วนในการกำหนดอัตลักษณ์ของผู้หญิงไทยตลอดจนระบบคุณค่าที่
ผู้หญิงไทยยึดถือด้วย โดยที่ “ความเป็นผู้หญิงไทย” เน้นไปที่การเป็นสมาชิกของครอบครัว ดังนั้น ระบบคุณค่าสำคัญที่ผู้หญิงไทยยึดถือก็คือการเป็นเมียและแม่ที่ดีนั้นเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้หญิงชนชั้นกลาง (ซึ่งบทความนี้เลือกผู้หญิงลำปางเป็นกรณีศึกษา) จำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน  ก็ทำให้เริ่มยึดถือระบบคุณค่าใหม่คือการเป็นผู้หญิงเก่งที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน  แต่ผู้หญิงเหล่านี้ไม่อาจสลัดตัดทิ้งระบบคุณค่าเดิมได้ การยึดถือระบบคุณค่าใหม่และเก่าไปพร้อมกันจึงทำให้ผู้หญิงชนชั้นกลางต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤตอัตลักษณ์ และได้อาศัยสื่อประเภทลัทธิพิธีใหม่ๆ  และหนังสือธรรมะแนวใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้  ซึ่งปรากฏว่าลัทธิพิธีใหม่ๆ และหนังสือธรรมะแนวใหม่ช่วยให้ผู้หญิงชนชั้นกลางเกิดกำลังใจและเกิดความหวังในการทุ่มเททำงานเพื่อความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็ได้รับรู้ “ธรรมะ” หรือได้รับคำอธิบายที่ช่วยให้จัดความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวได้ดีขึ้น  ทำให้ผู้หญิงชนชั้นกลางมีอัตลักษณ์เป็น “ผู้หญิงเก่ง” และ “ผู้หญิงดี” ไปพร้อมกัน แม้ว่าในหลายกรณีการเป็น “ผู้หญิงดี” จะทำให้ผู้หญิงยังคงมีสถานภาพทางอำนาจด้อยกว่าผู้ชายที่เป็นสามี แต่ก็สามารถยอมรับระบบคุณค่าเก่าคือการทำหน้าที่ของ “เมียและแม่ที่ดี” ด้วยจิตใจที่สงบสุขขึ้น

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Apinan Poshyananda. (2014). A Feeling of Practical Experience (ประสบการณ์การปฏิบัติจริงด้านความรู้สึกนึกคิด). Sa-Wan Bon Puen Pi-Pop. 28(313): 82-83.

Apinan Poshyananda. (1992). Modern Art in Thailand: Nineteenth and Twentieth Centuries. Singapore: Oxford University Press.

Amarin Printing & Publishing Public Company Limited (Editor). (2010) Sharing. The Secret 2(3): 1-2.

Cottington, D. (2014). Modern Art: A Very Short Introduction (ศิลปะสมัยใหม่: ความรู้ฉบับพกพา) (Triam Anurak, J., Trans.). Bangkok: Openworld.

Chotpradit, T. (2012). Mong Bpai Taang Nai gor Hen Dtae Tay-wa-daa (มองไปทางไหนก็เห็นแต่เทวดา). 4(July.-December): 32 - 48.

Chotpradit, T. (2013). The Unknown Story: Cultural Politics in the Cold War Era and the Unknown Political Prisoner of Khien Yimsiri (The Unknown Story: นักโทษการเมืองที่ไม่มีใครรู้จักของเขียน ยิ้มศิริกับการเมืองวัฒนธรรมสมัยสงครามเย็น). 4(4): 184-197.

Jim Kirwan. (2014). 'Modern Art' Still A CIA Weapon. [Online]. Retrieved February 12, 2015 from http://rense.com/general96/modernart.html.

Khongthana, P. (2015). New Cults and New Trend Dharma Books and the Identity Crisis of the Middle Class Women of 1980s – 2010s. (ลัทธิพิธีและหนังสือธรรมะแนวใหม่ กับวิกฤตอัตลักษณ์ของผู้หญิงชั้นกลางตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึงปัจจุบัน). Master dissertation, Chiang Mai University, Bangkok, Thailand.

Nat Phatthalung, T. (2008). The Life Compass Vol.II (เข็มทิศชีวิต 2). Bangkok: Asom Sara-Nart.

Nat Phatthalung, T. (2012). The Life Compass and Unconscious (เข็มทิศชีวิตจิตใต้สำนึก). Bangkok: Asom Sara-Nart.

Prakitnonthakan, C. (2004). Politics and Society in Art and Architecture: Siam during the Period of Applied Thai Culture and Nationalism (การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรมสยาม สมัยไทยประยุกต์ชาตินิยม). Bangkok. Matichon Press.

Prakitnonthakan, C. (2005). The Congratulate of the Constitution: a Political History of Siam after 1932 and the Power of Architecture (คณะราษฎรฉลองรัฐธรรมนูญ: ประวัติศาสตร์การเมือง หลัง 2475 ผ่านสถาปัตยกรรม “อำนาจ”). Bangkok: Matichon Press.

Prakitnonthakan, C. (2009). Art and Architecture in the People’s Party Era: Symbolic Ideological Politics (ศิลปะสถาปัตยกรรมคณะราษฎร: สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์). Bangkok. Matichon Press.

Sattayanurak, S. (2002). Changes in the Construction of “Thai Nation” and “Thainess” by Luang Wichitwathakan (ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดย หลวงวิจิตรวาทการ). Bangkok. Matichon Press.

Sattayanurak, S. (2002). Prince Damrong Rajanubhap: The Construction of Identities of “muang Thai” and “Classes” of the Siamese (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชาวสยาม). Bangkok: Matichon Press.

Sattayanurak, S. (2007). M.R. Kurit Pramoj: The Construction of Thainess Vol.I: Field marshal Po Phibunsongkhram Era (คึกฤทธิ์กับประดิษฐกรรม “ความเป็นไทย” เล่ม 1 ยุคจอมพล ป. พิบูล สงคราม). Bangkok: Matichon Press.

Sattayanurak, S. (2013). Phraya Anuman Rajadhon: The Intellectual who defines “Thainess” (พระยาอนุมานราชธนปราชญ์สามัญชนผู้นิรมิต “ความเป็นไทย”). Bangkok: Matichon Press.

Sattayanurak, S. (2014). 10 Siam Intellectuals Vol.I : The Absolute Monarchy Era (10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 1 ปัญญาชนแห่งรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์). Bangkok: Openbook Press.

Sattayanurak, S. (2014). 10 Siam Intellectuals Vol.II: After the 1932 Revolution (10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 2 ปัญญาชนหลังการปฏิวัติ 2475). Bangkok: Openbook Press.

Srinaka, K. (2015). Silpa Bhirasri and the Establishment of National Arts (1932- 1962 A.D.) (ศิลป พีระศรีกับการสถาปนาศิลปะแห่งชาติ (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2505)). Master dissertation, Chiang Mai University, Bangkok, Thailand.

Sutranon, T. (2014). In Memory of Silpa Bhirasri (ศิลป พีระศรี สรรเสริญ). Bangkok: Silpa Bhirasri San-sern Project.

The announcement of Office of the Prime Minister. (1939). On Building King vajiravudh Monument (สร้างพระบรมรูปเป็นอนุสสาวรีย์เชิดชูพระเกียรติยศ พระนามสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว). The Royal Thai Government Gazette Vol.56: 2897-2898.

Krairiksh, P. and Thong Chuea, P. (1982). Art since 1932 (ศิลปกรรมหลัง พ.ศ. 2475). Bangkok: The Thai Khadi Research Institute, Thammasat University.

Thewa-phithak-tham, T. 2007). Thossaporn Thewa-phithak-tham, Nun Vol.1 (แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม เล่ม 1). Bangkok: Smart Intercommunication.

Chuang-yanyong , S. (2014). Satian Dharmastan: Be Good, Be Happy for Your Kids (มีความสุขให้ลูกเห็น เป็นคนดีให้ลูกดู เสถียรธรรมสถาน). Bangkok: Amarin Thamma.

Charoenporn, S. (2005). Women and social in thai Literature of Bubble Economy (ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่). Bangkok: Matichol press.

Grin-chai, S. (2014). What Mother Siri Taught. (คุณแม่สิริสอนไว้). Bangkok: Amarin Thamma Amarin Publishing.