แผนที่ภาษาศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรี (Linguistic Maps of Suphanburi Province)

Main Article Content

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ Suwattana Liamprawat

Abstract

               งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริเวณการใช้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเภทของชุมชนภาษาแต่ละหมู่บ้านและจัดทำแผนที่ภาษาศาสตร์ ผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์  2 ประการ ในการสร้างแผนที่ภาษาศาสตร์ของจังหวัดสุพรรณบุรี คือ  1. เกณฑ์ด้านศัพท์ที่จำแนกกลุ่มภาษาตามตระกูลภาษาโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 30 หน่วยอรรถ 2. เกณฑ์ด้านเสียง คือ รูปแบบการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ วิธีการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์จากผู้ตอบแบบสอบถามทุกหมู่บ้านในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1007 หมู่บ้าน


             ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีชุมชนภาษา 4 ประเภท ดังนี้ 1. ชุมชนภาษาเดียว จำนวน 883 หมู่บ้าน ได้แก่ ชุมชนภาษาไทยซึ่งมีจำนวนมากที่สุด รองลงไปคือ ชุมชนภาษาลาวเวียง ชุมชนภาษาลาวครั่ง ชุมชนภาษาโซ่ง ชุมชนภาษาพวน ชุมชนภาษากะเหรี่ยง และชุมชนภาษามอญ  2. ชุมชนสองภาษา มีจำนวน 107 หมู่บ้าน ได้แก่ ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาลาวครั่งซึ่งมีจำนวนมากที่สุด รองลงไปคือ ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาลาวเวียง ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาเขมร ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาลาวโซ่ง ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาพวน ชุมชนภาษาลาวเวียงร่วมกับภาษาลาวครั่ง ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษากะเหรี่ยง ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษามอญ ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาไทยยวน และชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาอุก๋อง     3. ชุมชนสามภาษา มีจำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาโซ่งและภาษาพวน  4. ชุมชนภาษาที่มีปัญหา ได้แก่ ชุมชนภาษาที่ใช้ศัพท์และเสียงไม่เข้าเกณฑ์ มีจำนวน 16 หมู่บ้าน


            ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดสุพรรณบุรีมีส่วนสัมพันธ์กับชุมชนภาษา กล่าวคือ เขตเทือกเขาทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดมีชุมชนภาษากะเหรี่ยง ชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาลาวครั่ง และชุมชนภาษาไทยร่วมกับภาษาอุก๋อง ส่วนชุมชนภาษาอื่น ๆ จะอยู่ในเขตที่ราบสูงและที่ราบลุ่มของจังหวัด

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Burusphat, S. (2001). Dialect Geography (ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น). Bangkok: Ekphimthai Press.

Chareanraat, C. (1982). The Kuay Language of Suphanburi Province (ภาษากวย (ส่วย) ที่จังหวัดสุพรรณบุรี). Master’s dissertation, Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Gedney, William J. (1972). A Checklist for Determining Tone in Tai Dialect. In Studies in Tai Linguistics in Honor of George L. Trager, : 423-437.

Keawsilpa, C. (1982). Description of Pwo Karen : A Tibeto-Berman Language. Master’s dissertation Mahidol University, Nakornpathom, Thailand.

Liamprawat, S. (2002). The Research Report Linguistic Maps of Ratchaburi Province (รายงานการวิจัยเรื่องแผนที่ภาษาศาสตร์จังหวัดราชบุรี). Nakorn Pathom: Silpakorn University.

Liamprawat, S. (2014). The Research Report Linguistic Maps of Suphanburi Province (รายงานการวิจัยเรื่องแผนที่ภาษาศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรี). Nakorn Pathom: SilpaKorn University.

Luangthongkom, T. (2007). The Research Report Linguistic Diversity in Nan Province: A foundation For Tourism Development (รายงานการวิจัยเรื่องความหลากหลายทางภาษาในจังหวัดน่าน: ความรู้พื้นฐานเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว). Bangkok: The Thailand Research Fund.

National Research Council of Thailand. (2007). Strategie Development Plan of The Economic and Social Development Vol.10. In Guide the Evaluation of Research proposals submitted to the Government budget. : 67-73.

Osatharom, V. (2004). Historical Changes of Suphanburi from the 8th Buddhist Era to the Beginning of the 25th Buddhist Era (เมืองสุพรรณบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์พุทธศตวรรษที่ 8 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 25). Bangkok: Thammasart University.

Pongwanichanan, P. (2000). Suphanburi (สุพรรณบุรี). Nonthaburi: S.P.F. printing group.

Premsrirat, S. et.al.. (2002). Ethnolinguistic Maps of Thailand (แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย). Bangkok: Khurusapha Press.Smalley, William A. (1994). Linguistic Diversity and National Unity: Language Ecology in Thailand. Chicago: the University of Chicago press.

Suphanburi Office. (2006). Tourism Strategy of Suphanburi Province 2007-2001. (แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี). Suphanburi: Division of Policy and Planning of Suphanburi Province.

Thawornpat, M. (1997). Enclopedia of Ethic groups in Thailand : Ugong (สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์อุก๋อง). Nakornpathom: Institute of Language and Culture for Rural Development.

Thongrat, P. (1988). A Comparative Phonological Study Thai Phuan at Suphanburi and Sukhothai Province. Master’ dissertation, Mahidol Univeresity, Nakornpathom, Thailand. Wattanaprasert,

K and Liamprawat, S. (1998). The Research Report The Phonology of Lao Dialect In Thachin River Basin. (รายงานการวิจัยเรื่องระบบเสียงภาษาลาวลุ่มน้ำท่าจีน). Nakornpathom: Silpakorn University Press.

Yantrising,P. (1980). The Phonology of The Kuay Language of Suphanburi Province. Master’s Dissertation, Mahidol University, Nakornpathom, Thailand.