การรับรู้คุณค่าและความคาดหวังของบุคคลต่างประสบการณ์ ที่มีต่อลวดลายผ้ามัดย้อมเชิงวัฒนธรรม (Value Perception and Expectation from Differential Experiences of Person toward Cultural Tie-Dye Decoration)

Main Article Content

เสาวนิตย์ กาญจนรัตน์ Saowanit Kanchanarat

Abstract

            ลวดลายบนผืนผ้ามัดย้อมเป็นผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงรากเหง้าของวัฒนธรรม การที่ผู้เรียนได้รับการจัดประสบการณ์การรับรู้ที่เหมาะสมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ จะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้เป็นผู้บริโภคมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และอาจเป็นผู้ผลิตที่ต่อยอดพัฒนางานออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่ได้รับความนิยมได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าด้านเศรษฐกิจ ด้านสุนทรียะ ด้านจิตใจ และความคาดหวังของบุคคลต่างประสบการณ์ที่มีต่อลวดลายมัดย้อมเชิงวัฒนธรรม การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาศิลปประยุกต์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 60 คน และนักศึกษาสาขาการจัดการ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ภาพประดับผนังลวดลายตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน 5 ภาพ 2) กิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางตรง โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการทำมัดย้อมเทคนิคเย็บเนาและคุณค่าของผลงานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และประสบการณ์ทางอ้อม โดยการบรรยายวิธีการสร้างลวดลายผ้ามัดย้อมเทคนิคเย็บเนาและคุณค่าของการออกแบบ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 3)แบบสอบถามการรับรู้คุณค่าและความคาดหวัง ที่มีต่อลวดลายผ้ามัดย้อมเชิงวัฒนธรรม ข้อมูลที่รวมรวมได้นำมาวิเคราะห์ ด้วยสถิติค่าร้อยละและค่าไคสแคว์ ผลการวิจัยพบว่าจำนวนของผู้ที่ได้รับประสบการณ์ ทางตรงและทางอ้อมมีการรับรู้คุณค่าของลวดลายมัดย้อมเชิงวัฒนธรรมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีระดับชั้นปีที่ศึกษา และสาขาวิชาแตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณค่าทั้ง 3 ด้านแต่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวัง นอกจากนั้นยังพบว่ากลุ่มผู้ได้รับประสบการณ์ทางอ้อมมีความคาดหวังสูงเกินไป ซึ่งก็อาจนำไปสู่การพัฒนาลวดลายในอนาคตได้หากมีความเข้าใจมากกว่านี้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้ที่แท้จริงและมีความคาดหวังบนพื้นฐานที่มีความเป็นไปได้ในการผลิตจริงด้วย

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Amnouychai, P. (1997). Feng Shui: Appearance School II (ฮวงจุ้ย :สำนักรูปลักษณ์ II). Bangkok: Rungsang.

Anderson, E. R. and Haer, F. J. (1972). Consumerism, Consumer Expectations, and Perceived Product Performance. Proceedings of the Third Annual Conference of the Association for Consumer Research, 1972: 67-79. [Online]. Retrieved June 12, 2014 from https://www.acrwebsit.org/search/view-Conference-proceedings.aspx?ID=11992.

Belfer, N. (1992). Batik and Tie Dye Techniques. New York: Dover.

Dragicevic, M., Letunic, S., and Pisarovic, A. (2012). Tourists’ Experiences and Expectations towards Museums and Art Galleries-Empirical Research Carried out in Dubrovnik. Recent Advances in Business Management and Marketing: 225-232.

Gleser, V. (1999). Tie-Dye: The how-to book. Summertown: Book Publishing Company.

Griggs, A. R. (2009). Psychology a Concise Introduction (2nd ed). New York: Worth Publishers.

Jatekatekij, J. (2012). Cultural Attaching into Product. Industrial Journal (อุตสาหกรรมสาร), 54: (November-December). [Online]. Retrieved February 22, 2012 from https://e-journal.dip.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=xxNjMjA0.

Jomnein, C., Jittra, W., Jantamard, C., and Moowipar, S., (1972). Psychology of Perception and Learning (จิตวิทยาการรับรู้และเรียนรู้). Bangkok:

Karnsansanar.Kanchanarat, S. (2014). Tie-Dye (มัดย้อม). Bangkok: Phabphim

Keerati B. (1979). Philosophy (ปรัชญาศิลปะ). Bangkok: Thaiwattanapanich.

Khomjorn S. (2013). Aesthetics, Principle of Art Theory, Theory of Visual Art, Critical Art (สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์) (2nd ed). Bangkok: V.Print

Office of the Prime Minister. (n.d.). Summary the Eleventh National Economic and Social Development Plan (2012-2016). Bangkok: National Economic and Social Development Board.

Phantip, P. (2012). Editor Talk. Industrial Journal (อุตสาหกรรมสาร), 54: (November-December). [Online] Retrieved February 22, 2012 from https://e-journal.dip.go.th?/LinkClick.aspx?fileticket=xxNimiA0olw%D&tabid=70.

Phramaha Dhammajari. (2007). The Analytical Study of Philosophical Arts in Buddhadasa Bhikkhu’s View (การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาศิลปะตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ). Master’s dissertation, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Phreyaporn, A. (2010). Psychology of Education (จิตวิทยาการศึกษา). Bangkok: Sorsormbangkok Center.

Praparnporn, T. (2009). The Comparative Study of Tie-Dye Methods for Pattern Design Development of Tie-Dye Products (การศึกษาเปรียบเทียบเทคนิควิธีการมัดย้อมเพื่อพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์มัดย้อม). Master’s dissertation, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Bangkok, Thailand.

Saheed, Z. S. (2013). AdireTectile: A Culture Heritage and Entrepreneurial Craft in Egbaland, Nigeria. International Journal of Small Business and Entrepreneurship Research, 1(1): 11-18.

Sirong, K. (2012). Cultural Industrial. Industrial Journal, 54 (November-December). [Online]. Retrieved February 22, 2012 from https://e-journal.dip.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=xxNjMjA0olw%3D&tabid=70.

Too, L. (2005). TotalFengShui. San Francisco : Chronical Books.

Wichai, L. (n.d.). Decorative Fabric Dyeing (การย้อมลายผ้า). Text Book Project of Faculty of Architecture of Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand