กลยุทธ์การตลาดขนมทอดกรอบ จังหวัดสงขลา (Marketing Strategy of the Crispy Treats, Songkhla Province)

Main Article Content

วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง Wiwat Jankingthong

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อขนมทอดกรอบ จังหวัดสงขลา 2) ศึกษากลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อขนมทอดกรอบ จังหวัดสงขลา และ 3) ออกแบบบรรจุภัณฑ์และป้ายฉลากขนมทอดกรอบ จังหวัดสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยศึกษากับผู้บริโภคจำนวน 400 คน โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และมีความเชื่อมั่นระหว่าง 0.86 - 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าผู้บริโภคมีวัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อรับประทาน ความถี่ในการบริโภคขนมทอดกรอบ จังหวัดสงขลาคือ สัปดาห์ละครั้ง รับประทานครั้งละประมาณ 2-3 ห่อ และผู้บริโภคซื้อในช่วงเวลาประมาณ 10.01-13.00 นาฬิกาในส่วนของกลุยทธ์การตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อขนมทอดกรอบ จังหวัดสงขลา พบว่ากลยุทธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับปานกลางในส่วนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และป้ายฉลากขนมทอดกรอบ จังหวัดสงขลา พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจ ด้านบรรจุภัณฑ์ และป้ายฉลาก ในระดับมากทุกข้อ

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ

References

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: Wiley.

Department of Agricultural Extension. (2014). Economic Structure of Agricultural. (โครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตร) [Online]. Retrieved January 10, 2011 from http://www.doae.go.th/homepage

Fuller, G. W. (2011). New food product development : from concept to marketplace. Boca Raton, FL: CRC Press.

Jankingthong, W. (2014). Destination Image in Thailand (ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย). Silpakorn University Journal, 34(1): 31-50.

Jankingthong, W. (2014). Theory of Planned Behavior and Tourist Loyalty (ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนกับความภักดีของนักท่องเที่ยว). Silpakorn University Journal, 24(2): 131-146

Kerin, R. A., Hartley, S. W., and Rudelius, W. (2013). Marketing: the core. New York: McGraw-Hill.Kotler, P., & Armstrong, G. (2012). Principles of marketing (14th ed.). Boston: Pearson Prentice Hall.

Robertson, G. L. (2013). Food packaging: principles and practice (3rd ed.). Boca Raton, FL: CRC Press.

Sangmanee, L., Agricultural Poemor Housewife Group. Interview, January 10, 2014

Somrit, P. (2011). Marketing Strategies Development of Longan Cake OTOP Product, Lamphun Province (การพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดของสินค้า OTOP เค้กลำไย จังหวัดลำพูน) Master of Business Administration, Maejo University, Chiang Mai, Thailand.